ส้มเขียวหวาน ผลไม้เศรษฐกิจ มีดีกว่าที่คิด ประโยชน์และสรรพคุณเพียบ!
สารบัญ
ส้มเขียวหวาน ผลไม้เศรษฐกิจยอดนิยม ที่ไทยชื่นชอบและนำมารับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งยังสามารถนำไปรับประทานได้หลายรูปแบบ ทั้งกินสด คั้นน้ำ หรือแปรรูปเป็นขนม หรือของหวานต่าง ๆ ในบทความนี้ SGE จะพาทุกคนไปรู้จัก ส้มเขียวหวาน รวมถึงประโยชน์และข้อควรระวังในการทาน ว่ามีอะไรบ้าง? ไปดู!
ส้มเขียวหวาน (Tangerine)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus reticulata Blanco
ชื่อสามัญ
Mandarin, Tangerine
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Rutaceae
ถิ่นกำเนิด
ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น
ส้มเขียวหวาน (Tangerine) จัดเป็นผลไม้เขตกึ่งร้อน ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมแล้วส้มเขียวหวาน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น ภายหลังได้แพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป จนปัจจุบันกลายเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน
โดยลักษณะพิเศษของส้มชนิดนี้ที่ทำให้ผู้คนติดใจ เป็นเพราะว่าส้มมีเปลือกอ่อน เปลือกล่อน สามารถแกะออกได้ง่าย รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อส้มฉ่ำน้ำ ไม่ลีบฝ่อ อีกทั้งกลีบส้มยังแยกหลุดออกจากกันได้ง่ายอีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของส้มเขียวหวาน
ลำต้น
เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านออกมามาก บริเวณที่เป็นกิ่งอ่อนจะมีหนาม
ใบ
ใบเดี่ยว สีเขียวเป็นมัน ใบแข็ง ออกใบแบบเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะมนรี คล้ายรูปไข่ ขอบใบเรียบ หรืออาจมีฟันเลื่อยเล็กน้อย ตามแผ่นใบมีต่อมน้ำมัน ทำให้ใบส้มเขียวหวานมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์
ดอก
ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ บริเวณง่ามใบและปลายยอดกิ่ง
ผล และเมล็ด
ส้มเขียวหวานมีลักษณะผลที่ค่อนข้างกลม เนื้อเยอะ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ แบ่งเป็นกลีบ ภายในมีเมล็ดสีขาวนวลอยู่ เปลือกส้มมีลักษณะเรียบบาง สีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกแล้วเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง
สายพันธุ์ของส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน ที่นิยมปลูกในไทยและมีชื่อเสียงมาก สามารถแยกได้เป็น 3 สายพันธุ์ มาดูกันว่าแต่ละสายพันธุ์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
1 ส้มพันธุ์บางมด (ราชาแห่งส้มเขียวหวาน)
1 ส้มพันธุ์บางมด (ราชาแห่งส้มเขียวหวาน)
- รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อฉ่ำน้ำ
- ผลขนาดกลาง ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกสีเขียวอมเหลือง
- แต่เดิมปลูกในแถบ เขตบางมด เขตราษฎร์บูรณะ เขตบางขุนเทียน จึงถูกเรียกว่า ส้มบางมด
2 ส้มพันธุ์โชกุน หรือ ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง
2 ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง หรือ ส้มพันธุ์โชกุน
- รสชาติหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อแน่น ชานนิ่ม ผลแตกง่ายกว่าส้มเขียวหวานพันธุ์อื่น มีน้ำคั้นต่อผลสูง
- ใบมีขนาดเล็กกว่าส้มเขียวหวานทั่วไป เมื่อปลูกที่ภาคเหนือจะได้ผลสีเหลืองอมเขียวเล็กน้อย ปลูกที่ภาคใต้ผลจะเป็นสีเขียว บริเวณจุกผลมีแอ่งสะดือเป็นเอกลักษณ์
- ปลูกในภาคเหนือเรียก ส้มสายน้ำผึ้ง ถ้าปลูกที่ภาคใต้เรียก ส้มโชกุนหรือส้มเพชรยะลา
3 ส้มสีทอง
3 ส้มสีทอง
- รสชาติหวานอมเปรี้ยว เส้นใยน้อย เนื้อไม่ฉ่ำน้ำ
- ผลขนาดกลาง เปลือกบาง มีสีเหลืองทอง
- สายพันธุ์เดียวกันกับส้มบางมด แต่ย้ายแหล่งปลูกไปยัง จังหวัดน่าน
ประโยชน์และข้อควรระวังในการรับประทาน
ส้มเขียวหวาน มีประโยชน์มากกว่าความอร่อย ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น
ประโยชน์ของส้มเขียวหวาน
- แก้ท้องผูก เพราะในส้มเขียวหวาน มีใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โดยรับประทานส้มวันละ 1 ผลใหญ่ ก็สามารถช่วยลดปัญหาอาการท้องผูกได้แล้ว
- กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย เนื่องจากในส้มอุดมไปด้วยวิตามินซีสูง ที่สามารถช่วยป้องกันเชื้อโรคและไวรัส รวมถึงอาการป่วยทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้
- ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด น้ำตาลฟรุกโตสที่มีในส้ม ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งสูงเกินไป
- ช่วยลดความดันโลหิต เพราะในส้มเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง โซเดียมต่ำ ช่วยทำให้ไหลเวียนโลหิตได้ดี และช่วยลดระดับความดันโลหิตสำหรับผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงด้วย
- บำรุงหัวใจ เพราะในส้มมีโพแทสเซียม วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ
- ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไต โพแทสเซียมในส้มจะช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วต่าง ๆ ในร่างกาย
- ยับยั้งการเกิดแผลเปื่อย ในส้มมีวิตามินซีสูงทำให้ลดโอกาสการเกิดแผลเปื่อยได้
- ป้องกันมะเร็ง ส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภท ฟลาโวนอยด์ จำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งช่องปาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย
- บำรุงผิวพรรณ เพราะในส้มมีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการปกป้องเซลล์ผิว ลดการเกิดริ้วรอย และบำรุงเซลล์ให้แข็งแรง
ข้อควรระวังในการทาน
- เลือกกินส้มผลสด ดีกว่า น้ำส้ม เพราะในน้ำส้มกล่องตามท้องตลาด มีส่วนผสมของน้ำตาลค่อนข้างสูง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดการกินส้มไม่เกิน 2 ผล/วัน เพราะถึงแม้ว่าส้มจะมีคุณสมบัติช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด แต่การรับประทานส้มมากเกินไปก็อาจทำให้ได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปด้วย
- ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยงการรับประทานส้ม เนื่องจากส้มมีโพแทสเซียมสูง อาจเป็นส่วนทำให้ภาวะโรคไตแย่ลงได้
ข้อมูลโภชนาการของส้มเขียวหวาน
ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | ส้มเขียวหวาน |
---|---|
แคลอรี (kcal) | 42 |
ไขมันทั้งหมด | 0.4 กรัม |
ไขมันอิ่มตัว | 0 กรัม |
คอเลสเตอรอล | 0 มิลลิกรัม |
โซเดียม | 0 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 0 มิลลิกรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 9 กรัม |
เส้นใยอาหาร | 1.3 กรัม |
น้ำตาล | 0 กรัม |
โปรตีน | 0.6 กรัม |
วิตามินเอ | 0.86% |
วิตามินซี | 70% |
วิตามินอี | 0% |
แคลเซียม | 3% |
เหล็ก | 4.44% |
ไทอามิน | 2.67% |
ไรโบพลาวิน | 2.35% |
ไนอาซิน | 2% |
ฟอสฟอรัส | 2.4% |
แหล่งข้อมูลประกอบ: calforlife
วิธีการปลูกส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวานนั้น สามารถปรับตัวได้ตามพื้นที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ ขอแค่ปลูกในดินร่วน ที่สามารถระบายน้ำได้ดี ไม่มีความเป็นกรดด่างมากเกินไป โดยปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ ส้มเขียวหวาน มีลักษณะภายนอกและรสชาติ ที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ซึ่งวิธีการปลูกให้ได้ต้นที่แข็งแรง ไม่กลายพันธุ์ สามารถทำได้โดยการปลูกจากกิ่งชำ ดังนี้
แนะนำเมนูจากส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน นอกจากทานสด ๆ อร่อยชื่นใจแล้ว ยังสามารถนำไปทำอาหารคาว หวาน และเครื่องดื่ม ได้หลากหลายเมนู ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย
จบไปแล้วสาระดี ๆ ของส้มเขียวหวาน ผลไม้ที่พอถึงหน้าฤดูออกผลของมันทีไร มีอันต้องได้ซื้อกินทีละหลายกิโล เพราะทั้งอร่อย ชื่นใจ คลายร้อนได้ดี แถมยังนำไปทำเมนูได้หลากหลายด้วย และสำหรับใครที่กำลังอยากลองปลูกส้มเขียวหวานเอง ก็ลองนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ แล้วเจอกับสาระดี ๆ บทความใหม่ครั้งหน้า~
18 มีนาคม 2024
โดย
จันทร์เจ้า
ประโยชน์เยอะมากจริงๆ แต่ส้มแพงมากเช่นกันกันครับ หาอร่อยๆ หวานๆก็ยากด้วย
ใช่เลยค่ะ รู้สึกว่าไม่ได้ทานส้มเขียวหวานมานานมากกกกก