รู้จัก มิริน (Mirin) คืออะไร? ทำไมถึงเป็น เครื่องปรุงอาหาร ที่คนญี่ปุ่นขาดไม่ได้
ใครที่ชอบทานหรือชอบเข้าครัวทำอาหารญี่ปุ่น อาจต้องเคยได้ยินชื่อ มิริน เหล้าหวานทำอาหาร ผ่านหูกันมาบ้าง แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมคะ ว่าแท้ที่จริงแล้ว มิรินคืออะไร? ใส่ลงไปในอาหาร แล้วทำให้อร่อยขึ้นจริงหรือ? บทความนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จัก เครื่องปรุงรสมหัศจรรย์จากแดนปลาดิบชนิดนี้ไปพร้อม ๆ กัน!
มิริน (Mirin) คืออะไร? ทำมาจากอะไร? มีกี่แบบ?
มิริน(みりん)คือเหล้าหวานของญี่ปุ่น ที่ได้จากการนำข้าวเหนียวนึ่งมาหมักกับ ข้าวที่มีเชื้อราโคจิ(สารตั้งต้นในการหมัก) และเหล้าโชจู จนได้เหล้ารสหวานเข้มข้น ที่มีแอลกอฮอล์ราว 12-14% โดยไม่ต้องใช้น้ำตาลมาเป็นส่วนประกอบในการหมักบ่มเหล้า
ด้วยรสหวานหอมเข้มข้นนี้ ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมนำมิรินไปใช้ประกอบอาหาร จำพวกซูป ต้ม ปิ้ง ย่าง ในแทบจะทุกเมนู เพราะนอกจากมิรินจะช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้อาหารมีความกลมกล่อมมากขึ้นแล้ว มิรินยังช่วยเพิ่มให้อาหารมีความแวววาว ดูสวยงามน่ารับประทานมากขึ้นด้วย
มิริน (Mirin) มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรให้ตอบโจทย์
มิริน(Mirin) นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารญี่ปุ่นในหลาย ๆ เมนู โดยในท้องตลาดมีมิรินให้เลือกใช้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1 มิรินดั้งเดิม (ฮน-มิ-ริน : 本みりん)
1 มิรินดั้งเดิม (ฮน-มิ-ริน : 本みりん)
ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่ง ข้าวโคจิ และโชจู หมักบ่มรวมกันนาน 40-60 วัน จนได้มิรินรสหวานเข้มข้น ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงถึง 12-14% จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ต้องเสียภาษีสุรา เป็นสาเหตุที่ทำให้มิรินประเภทนี้มีราคาสูงกว่าประเภทอื่น ๆ
ใช้สำหรับ : ดื่มสังสรรค์, ใช้สำหรับปรุงรสอาหารที่ต้องผ่านความร้อน, ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์, ใช้หมักเนื้อสัตว์ ทำให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อม และมีความแวววาว น่ารับประทาน
ข้อควรระวัง : มีราคาแพง จึงนิยมใช้เพื่อดื่มสังสรรค์มากกว่านำมาประกอบอาหาร
2 มิรินใส่เกลือ (คา-ชิ-โอ-มิ-ริน : 加塩みりん)
2 มิรินใส่เกลือ (คา-ชิ-โอ-มิ-ริน : 加塩みりん)
มีส่วนผสมในการหมักบ่มเหมือนกับมิรินดั่งเดิมทุกประการ เพียงแต่มีการเติมเกลือและน้ำเชื่อมเพิ่มลงไปในส่วนผสมประมาณ 2% เพื่อไม่ให้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสามารถวางขายในร้านค้าทั่วไปได้ โดยความพิเศษคือ มิรินชนิดนี้มีคุณสมบัติในการปรุงอาหารเหมือนกับมิรินดั้งเดิมทุกประการ
ใช้สำหรับ : ปรุงรสอาหารที่ต้องผ่านความร้อน, ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์, ใช้หมักเนื้อสัตว์ ทำให้อาหารมีความแวววาว น่ารับประทาน
ข้อควรระวัง : มิรินประเภทนี้ผ่านการปรุงรสมาแล้ว ควรระมัดระวังในการใช้ เพื่อไม่ให้อาหารมีรสชาติเค็มเกินไป
3 เครื่องปรุงรสมิริน (มิ-ริน-ฟู-โจ-มิ-เรียว : みりん風調味料)
3 เครื่องปรุงรสมิริน (มิ-ริน-ฟู-โจ-มิ-เรียว : みりん風調味料)
เป็นมิรินชนิดที่นิยมในการนำมาประกอบอาหารมากที่สุด เพราะมีราคาถูกและมีรสชาติใกล้เคียงกับมิรินดั้งเดิม เพียงแต่ผลิตมาจากข้าวปรุงรส ข้าวโคจิ น้ำเชื่อม น้ำส้มสายชูหมัก และส่วนผสมที่เป็นกรด โดยไม่ผ่านกระบวนการหมัก ทำให้มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 0-1% ทั้งยังให้รสหวานแหลมกว่ามิรินดั้งเดิม และให้ความแววน้อยกว่ามิรินดั้งเดิมอีกด้วย
ใช้สำหรับ : ปรุงรสอาหารที่ไม่ต้องผ่านความร้อน เช่น สลัด น้ำจิ้ม หรือซอสต่าง ๆ
ข้อควรระวัง : ไม่สามารถใช้ดับกลิ่นเนื้อสัตว์ได้ เนื่องจากเป็นมิรินที่ปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำ
ถ้าไม่มี มิริน (Mirin) ใช้อะไรแทนได้บ้าง?
1 น้ำส้มสายชูไวน์ข้าว
1 น้ำส้มสายชูไวน์ข้าว
โดยใช้อัตราส่วน น้ำส้มสายชูไวน์ข้าว 1 ช้อนชา ต่อน้ำตาล ½ ช้อนชา เทียบเท่ามิริน 1 ช้อนชา
2 เหล้าสาเก
2 เหล้าสาเก
โดยใช้อัตราส่วน เหล้าสาเก 1 ช้อนชา ต่อน้ำตาล ½ ช้อนชา เทียบท่ามิริน 1 ช้อนชา
แนะนำเมนูญี่ปุ่นที่ใช้ มิริน เป็นส่วนประกอบ
มิรินสามารถนำไปทำเมนูสไตล์ญี่ปุ่นได้หลากหลายเมนู ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย!
4 ปลาซาบะย่างซอสเทริยากิ
ใครอยากทาน ปลาซาบะราดซอสเทริยากิ แบบดั้งเดิม แนะนำให้ลองทำตามสูตรนี้เลย เพราะนี่คือสูตรจาก เชฟโฌ เชฟชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย รับรองว่าไม่ต้องไปทานถึงร้านอาหารญี่ปุ่น ก็จะได้ลิ้มรสชาติที่อร่อย ตามแบบฉบับชาวญี่ปุ่นแน่นอน
วัตถุดิบ: ปลาซาบะ, ซุปดาชิ, ซอสโชยุ, เหล้ามิริน, …
จบไปแล้วสาระดี ๆ ของมิริน เครื่องปรุงรสที่มีความเป็นมาไม่น้อยกว่าการปรุงรสชนิดอื่น ๆ แถมยังแทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกจานของเมนูสไตล์ญี่ปุ่นด้วย หลังจากได้เกร็ดความรู้เรื่องอาหารแล้ว อย่าลืมเอาสูตรอาหารที่แนะนำไปลองทำกันดูนะคะ รับรองว่าอร่อยถูกใจแน่นอน~
16 ตุลาคม 2024
โดย
จันทร์เจ้า