201128-Content-การปลูกพืชไร้ดิน-ด้วยระบบ-ไฮโดรโปนิกส์-01

4,489 Views

คัดลอกลิงก์

การปลูกพืชไร้ดินด้วยระบบ “ไฮโดรโปนิกส์” สร้างรายได้เสริม แบบไม่ง้อดิน!

การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปนิกส์ คือ ในสมัยก่อน เป็นการปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูงเกินไป สำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่เนื่องจากการปลูกพืชในดินติดต่อกันมาเป็นเวลานานมาก ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งดินเค็ม ดินเปรี้ยว แมลงศัตรูพืช ทำให้ต้องใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงได้มีการคิดค้นดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ การปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้อุปกรณ์เก่าจากโรงเรือน หรือฟาร์มไก่ไข่ มาทำเป็นแปลงปลูก และใช้ระบบน้ำวนไหลผ่านรากพืช โดยใส่ธาตุอาหารที่พืชต้องการลงในน้ำ ซึ่งทำให้ลดต้นทุนการปลูกพืชไร้ดินลงได้มาก และที่สำคัญคือไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย

บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ การปลูกพืช ไฮโดรโปนิกส์ คือ อะไร? สามารถทำได้แบบง่าย ๆ จริงหรือ ตามไปดูกัน

ข้อดี-ข้อเสีย ของการปลูกพืชไร้ดิน

ข้อดีของ การปลูกพืชไร้ดิน

  • สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย
  • ดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุม ช่วยป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
  • ประหยัดน้ำและปุ๋ยเพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ
  • ไม่ต้องไถพรวน สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน
  • มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้สม่ำเสมอ
  • ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือปลอดสารพิษ
  • สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้
201128-Content-การปลูกพืชไร้ดิน-ด้วยระบบ-ไฮโดรโปนิกส์-02

ข้อเสียของ การปลูกพืชไร้ดิน

เนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไข และปรับปรุงในระบบเรื่อย ๆ ทำให้ลดข้อเสียต่าง ๆ ที่เคยพบในอดีต ลดลงไปได้มาก ดังนี้

  • ในอดีดมีราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้ สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ ก็ไม่แตกต่างกันเลย
  • ความหลากหลายของพืชที่ปลูกในระยะแรก จะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ
  • ผู้ปลูก ต้องมีความรู้อย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบัน มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จาก สำนักงานเกษตร ในทุก ๆ พื้นที่
  • ในอตีดปัญหาทางการตลาดอาจจะมีมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ไม่ถือว่าเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้นนั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
201128-Content-การปลูกพืชไร้ดิน-ด้วยระบบ-ไฮโดรโปนิกส์-03

ความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นอย่างไร?

การปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ เป็นการนำสารละลายธาตุอาหาร มาละลายโดยใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืช เช่นเดียวกับการปลูกพืชในดิน แต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดิน จะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นรูปของธาตุอาหาร ซึ่งบางครั้ง หากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่น ดีบุก ตะกั่ว แคดเมียม ที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไปได้ ในขณะที่การปลูกพืชไร้ดิน เราสามารถควบคุมธาตุอาหารที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืช และความปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้นั่นเอง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ขั้นตอนการ ปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ ทำได้อย่างไร?

1) การเตรียมพื้นที่ และโต๊ะปลูก

เตรียมประกอบโต๊ะปลูก และติดตั้งตามวิธีการประกอบชุด ไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน

2) เตรียมพันธุ์ และเมล็ดพันธุ์ผัก

สามารถแบ่งเมล็ดพันธุ์ผัก ได้ 2 ชนิด คือ

  • เมล็ดผักเคลือบดินเหนียว เพราะว่า เมล็ดผักมีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอันตราย และสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบ จะมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
  • เมล็ดผักไม่เคลือบ คือ เมล็ดพันธุ์ปกตินั่นเอง

3) เตรียมการเพาะต้นกล้า

นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะ และนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ด และรดน้ำให้เปียก เก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อน ๆ แทนน้ำ สามารถทำได้ ดังนี้

ถ้วยเพาะแบบสำเร็จรูป

  • ใส่เมล็ดพันธุ์ลงในถ้วยเพาะ หย่อนเมล็ดพันธุ์ลงไป ใส่น้ำสูงประมาณ 2 เซนติเมตร วางในที่มีแสงแดดรำไร มีการระบายอากาศดี
  • เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจาง ผ่านรากผักในถาดเพาะก่อน เพื่อช่วยให้รากแข็งแรง
  • ควรทำการเปลี่ยน สารอาหารสัปดาห์ละครั้ง เมื่อกล้าแข็งแรง หรือ มีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงย้ายกล้าไปยัง แปลงปลูก

เพาะกล้าในแผ่นโฟม

  • กำหนดตำแหน่งรูบนแผ่นโฟม โดยเจาะรูแผ่นโฟม ประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วเว้นระยะห่าง ระหว่างรู ประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ให้ใช้มีดกรีดแผ่นโฟมเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วกรีดตรงกลางเป็นรูปกากบาท ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อหยอดเมล็ด
  • หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป แล้วนำไปวางในที่ ๆ มีน้ำขังเล็กน้อย พร้อมกับใช้สเปรย์ฉีดพ่นน้ำทุกเช้า-เย็น
  • พอเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า เริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบเจือจาง ผ่านรากผักในถาดเพาะก่อน เพื่อช่วยให้รากแข็งแรง
  • ควรทำการเปลี่ยน สารอาหารสัปดาห์ละครั้งเมื่อกล้าแข็งแรงหรือมีอายุ 2-3 สัปดาห์ ย้ายกล้าลงแปลงปลูก

เพาะกล้าในวัสดุปลูกเพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์ 

  • เตรียมถ้วยขนาดเล็ก แล้วใส่เพอร์ไลท์ + เวอร์มิคูไลท์ ในอัตราส่วน 6 : 1
  • หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป แล้วรดน้ำเช้า-เย็น จนกว่าเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า
  • ย้ายกล้าลงในกระถาง หรือย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ แล้วเริ่มให้สารละลายธาตุอาหารพืช ทุกเช้า-เย็น

4) การเตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร

ในช่วงระหว่างรอเพาะต้นกล้า ให้เตรียมสารละลายที่มีธาตุอาหาร โดยส่วนใหญ่มักนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ สาระลายที่มีธาตุอาหารแบบเจือจาง และสารละลายเข้มข้น มีสูตรดังนี้

ความเข้มข้นของสารละลายที่มีธาตุอาหาร = อัตราส่วนในการเจือจาง  x ความจุของถังที่บรรจุสาร

เพื่อให้ได้สารละลายที่มีธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ให้ใช้ pH Meter เพื่อวัดค่ากรดด่าง และ EC Meter เพื่อวัดค่าความนำไฟฟ้าด้วย จะช่วยให้สารละลายที่มีธาตุอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น

5) ควบคุมคุณภาพของน้ำ และเปลี่ยนสารละลายในเวลาที่เหมาะสม

ตลอดระยะเวลาการปลูก ควรควบคุมปริมาณน้ำให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตลอดเวลา อีกทั้งควรเปลี่ยนสารละลายที่มีธาตุอาหารด้วย เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ผักได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ โดยควรเปลี่ยน ทุก 2 – 3 สัปดาห์ หรือ ใครจะเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก

รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัด สามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง คือ

  • ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test
  • ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด

6) การเก็บเกี่ยว

สามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน

ที่มา: วารสารส่งเสริมการเกษตร

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201128-Content-การปลูกพืชไร้ดิน-ด้วยระบบ-ไฮโดรโปนิกส์-04

เป็นอย่างไรบ้าง ปลูกพืชแบบ ไฮโดรโปนิกส์ คือ อะไร? หลาย ๆ คนคงเข้าใจ และได้รูจักการปลูกพืชแบบนี้แล้วใช่ไหม เรียกได้ว่า เป็นการเพิ่มรายได้แบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องง้อดิน แถมยังได้ผลผลิต ที่มีคุณภาพอีกด้วย ลองนำวิธีการที่เรานำมาแชร์นี้ ไปลองปรับใช้กันดูนะจ๊ะ เพิ่มยอดหาย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด