พารู้จัก แลคโตส คืออะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้?
แลคโตส เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 ชนิดคือ น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลคโตส แลคโตสพบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงพบได้ในทั้งน้ำนมแม่ น้ำนมวัว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เมื่อเราดื่มนม แลคโตสจะถูกย่อยในลำไส้เล็ก โดยเอนไซม์ที่สร้างจากเซลล์ผนังลำไส้ที่มีชื่อว่าแลคเตส จนได้กลูโคสและกาแลคโตส จากนั้นจะถูกดูดซึมผ่านลำไส้ ไปสู่กระแสเลือดเพื่อใช้สร้างเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย
อีกทั้งพบในน้ำนม และผลิตภัณฑ์จากนมด้วยเช่น นมข้น โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีม ซึ่งปริมาณของน้ำตาลแลคโตสในนม และผลิตภัณฑ์จากนมมีต่างกันไป เช่น นมวัว 1 แก้ว (250 ml) มีแลคโตส 12 กรัม เป็นต้น 👉 และเรายังจะพบแลคโตสน้อยมากๆในเนยและมาการีน
จากการศึกษาเพจ CP Meiji ให้ข้อมูลว่า อาหารหลายประเภทก็มีการใส่นม และการปรุงอาหารไม่สามารถทำให้น้ำตาลแลคโตสถูกย่อยได้ 👉 ดังนั้นอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้นมเป็นส่วนประกอบก็จะมีแลคโตสด้วย เช่น ต้มยำน้ำข้น ครีมซุป ซอสคาโบนาร่า ขนมพุดดิ้ง กาแฟนม เป็นต้นนั่นเองค่ะ
หลายคนยังไม่รู้ถึงความหมายที่แท้จริงของ แลคโตส เพราะฉะนั้นวันนี้ SGE เลยอยากจะพาทุกคนไปเรียนรู้ถึง ความหมายของแลคโตส กันค่ะไปเลย…
นมสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
อย่างที่ทราบกันว่า แลคโตสพบได้ในแหน่งอาหารของ นม แต่ถึงจะมีผู้ที่แพ้ น้ำตาลแลคโตส แต่อย่าเพิ่งคิดเลิกดื่มนมเลยนะคะ โดยเฉพาะในเด็กวัยเล็ก เพราะในนมนั้น มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ที่ดีต่อร่างกาย แถมยังเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อทั้ง เด็กและผู้ใหญ่ด้วยค่ะ
นม เป็นเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมาย ที่ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 👉 นอกจากนั้น นมยังเป็นแหล่งของแคลเซียมที่สำคัญที่ได้จากธรรมชาติ มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ซึ่งมีความสำคัญต่อคนทุกวัย เพราะร่างกายเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง 👉 จนมีคำแนะนำจากหลายๆหน่วยงานออกมารณรงค์ให้ทุกคนหันมาดื่มนมกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก วัยกำลังเจริญเติบโต วัยทำงาน หรือ ผู้สูงอายุ ก็ควรดื่มนมในประมาณที่เหมาะสมเป็นประจำ
วิธีการตรวจอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส
ในทางปฏิบัติการวินิจฉัย การแพ้น้ำตาลแลคโตส ทำได้โดยการซักประวัติและอาการที่แสดงออก เช่น 👉 ดื่มนมแล้วปวดท้อง ท้องอืด ผายลมบ่อย จนถึงถ่ายเหลว เป็นประจำ และอาการขึ้นกับปริมาณนมที่ทาน 👉 แต่เมื่องดหรือลดนมแล้ว อาการดีขึ้น 👉 และเมื่อกลับมาทาน นมใหม่อาการเป็นซ้ำอีก
ดังนั้นจะพบว่า มีผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตสหลายคนจะรู้ตัวเองดีว่า “ดื่มนมไม่ได้ หรือ แพ้นม” และหลีกเลี่ยงการทานนมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด โดยที่บางรายอาจยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่า เป็นจากน้ำตาลแลคโตสในนมหรือไม่ นอกจากนั้น 🚑 ในปัจจุบันยังมีการตรวจอื่นๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีความยุ่งยากซับซ้อน ต้องทำในโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น ทำให้หลายคนไม่ไปตรวจหา แต่หลีกเลี่ยงการทานของเหล่านี้
วิธีรักษา และ ป้องกันอาการแพ้น้ำตาล แลคโตส
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา ที่ทำให้ร่างกายของผู้ที่พร่องเอนไซม์แลคเตสตามกรรมพันธุ์ กลับมาสร้างแลคเตสได้ปกติ 👉 เนื่องจากการแพ้น้ำตาลแลคโตส จากการพร่องเอนไซม์แลคเตสตามกรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แต่รักษาให้หายขาดไม่ได้ จึงเน้นการป้องกันเป็นหลัก
- หลีกเลี่ยงการดื่มนมขณะท้องว่าง เพราะอาการจะเป็นมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าดื่มนมพร้อมอาหาร จะสามารถทนปริมาณแลคโตสได้มากขึ้น
- เวลารับประทานอาหารนอกบ้าน บางครั้งอาจต้องสอบถามทางร้านว่า มีนมเป็นส่วนประกอบหรือไม่มากน้อยแค่ไหน ในการเดินทางโดยเครื่องบินหลายๆ สายการบินสามารถ เลือกอาหาร ที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส (Lactose free) ได้ถ้าผู้โดยสายแจ้งล่วงหน้า
- ใช้นมที่ปราศจาก น้ำตาลแลคโตส (Lactose free milk) ซึ่งคือนมที่มีการเติมเอนไซม์ไปทำให้แลคโตสถูกย่อยแล้วแทนนมธรรมดา หรือใช้น้ำนมที่สกัดจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมมะพร้าว ซึ่งจะไม่มีแลคโตสอยู่แล้วโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำนมจากพืชทนแทนนมวัว มีข้อควรระวังในเรื่องสารอาหาร อย่างเช่นแคลเซียมที่มีต่ำกว่านมวัว
- ใช้เอนไซม์แลคเตสสังเคราะห์ ในต่างประเทศมีเอนไซม์แลคเตสในรูปแบบเม็ด และแบบน้ำจำหน่าย โดยต้องทานพร้อมกับเมื่อดื่มนมคำแรก ขนาดโดยทั่วไปต่อการดื่มนมแต่ละครั้งคือ 9000 ยูนิต (1-3 เม็ดขึ้นกับขนาดของแต่ละยี่ห้อ) และอาจต้องรับประทานยาซ้ำหากยังดื่มนมต่อเนื่องเกิน 30-45 นาที ข้อดีของเอนไซม์คือ ทำให้สามารถดื่มนมได้ตามปกติ แต่ข้อเสียคือเอนไซม์มีราคาแพง แพงกว่าราคานม ที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส
- ลดดื่มนม และ ผลิตภัณฑ์จากนม ในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายรับได้ ค่านี้มีความต่างกันไปในแต่ละคน จึงควรสังเกต และจำกัดปริมาณที่ตัวเองทนได้ และระมัดระวังในการเลือกอาหาร และเครื่องดื่มที่มีนมประกอบให้ไม่เกินปริมาณนั้น เช่น ผู้แพ้น้ำตาลแลคโตสบางคนดื่มนม 1 แก้ว แล้วท้องเสีย แต่ถ้าดื่มเพียงครึ่งแก้ว หรือเปลี่ยนไปรับประทานโยเกิร์ตกลับไม่มีอาการ และควนทานอาหารอื่นๆ ที่แคลเซียมสูง