พารู้จัก โหระพา สรรพคุณชั้นยอด ประโยชน์ไม่ธรรมดา!
สารบัญ
โหระพา (Sweet Basil) พืชผักสวนครัวอีกหนึ่งชนิด ที่มักปรากฏอยู่ในหลาย ๆ เมนูอาหารไทยและเทศ จะนำไปทำเมนูไหนก็อร่อย ช่วยชูรสให้อาหารจานนั้น ๆ มีมิติมากขึ้น ทานได้ทั้งแบบดิบ และปรุงสุก นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ และสรรพคุณมากมาย แถมปลูกง่ายทำตามได้ไม่ยาก!
โหระพา (Sweet Basil)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ocimum basilicum L.
ชื่อสามัญ
Sweet basil, Thai basil
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Labiatae
ถิ่นกำเนิด
ทวีปเอเชียและแอฟริกา
โหระพา (Sweet Basil) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย แต่แพร่หลายในเอเชียและตะวันตก โหระพาเป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม จึงกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ในการนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นของรสชาติให้น่ารับประทาน และมีมิติมากยิ่งขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นโหระพา
ลำต้น
โหระพาเป็นพืชล้มลุก ที่ลำต้นมีขนาดเล็กสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร โดยมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม และเจริญเติบโตเป็นพุ่ม แตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง
ใบ
ออกใบเป็นใบเดี่ยว ใบรียาวรูปไข่ สีเขียวอมม่วง ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว แตกใบตรงกันข้ามกัน
ดอก
ดอกมีขนาดเล็ก ยอดดอกออกเป็นช่อคล้ายฉัตร มีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และขาว
เมล็ด
เมล็ดมีสีดำ กลิ่นหอม
ต้นโหระพา และสายพันธุ์ใกล้เคียงที่อาจทำให้สับสน
ในปัจจุบัน ต้นโหระพา ยังไม่มีการจำแนกสายพันธุ์กันอย่างชัดเจน ดังนั้นบทความนี้ เลยจะชวนเพื่อน ๆ มาหาความแตกต่างของพืชวงศ์กะเพราตระกูลนี้กัน ว่าแท้ที่จริงแล้ว โหระพา กะเพรา แมงลัก มีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร!
1 โหระพา (Sweet Basil)
1 โหระพา (Sweet Basil)
ใบโหระพาจะมีสีเขียว ใบหนา ลักษณะรียาว รูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายแหลม ลำต้นและดอกจะออกเป็นสีม่วง เมื่อเด็ดดม โหระพาจะมีกลิ่นหอมหวานอ่อน ๆ
2 กะเพรา (Holy Basil)
2 กะเพรา (Holy Basil)
ใบกะเพราจะมีสีเขียวเข้ม อมแดงแล้วแต่สายพันธุ์ ขอบใบหยักถี่ชัดเจน ปลายแหลม ลำต้นมีขนอ่อน ๆ กลิ่นเผ็ดฉุน
3 แมงลัก (Lemon Basil)
3 แมงลัก (Lemon Basil)
ใบแมงลักมีลักษณะคล้ายใบกะเพรา แต่มีสีเขียวอ่อนกว่า ทั้งยังมีใบเล็กบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่าทั้งสองชนิด ก้านใบและยอดมีขนอ่อน ๆ กลิ่นหอมฉุนคล้ายกลิ่นส้ม-มะนาว
ข้อมูลโภชนาการของใบโหระพา
ข้อมูลโภชนาการ ของใบโหระพา ต่อปริมาณ 100 กรัม
สารอาหาร | ใบโหระพา |
---|---|
แคลอรี (kcal) | 44 กิโลแคลอรี |
ไขมันทั้งหมด | 1 กรัม |
คอเลสเตอรอล | 0 มิลลิกรัม |
โซเดียม | 0 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 0 มิลลิกรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 5.5 กรัม |
เส้นใยอาหาร | 2.5 กรัม |
น้ำตาล | 0 กรัม |
โปรตีน | 3.3 กรัม |
แหล่งข้อมูลประกอบ: Calforlife
ประโยชน์และข้อควรระวังของโหระพา
โหระพา ผักสวนครัว ควบตำแหน่งสมุนไพรชั้นยอด ที่นอกจากจะมีรสชาติอร่อย กลิ่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายที่อาจนึกไม่ถึง ดังนี้
ประโยชน์ของโหระพา
- ใบ มีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลมในลำไส้ ขับผายลม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง ทำให้เรอ แก้จุกเสียดในท้อง แก้พิษตานซาง ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัดช่วยเจริญอาหาร
- ต้น แก้พิษตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวาเพราะโทษน้ำดี
- เมล็ด แก้บิด ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ ถ่ายสะดวก เป็นยาระบาย ใช้พอกฝีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยป้องกันความเสียหายในร่างกายของเราจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีส่วนในการช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
มีฤทธิ์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลและแผ่นคราบพลัคในกระแสเลือด - ใช้เป็นยาพอกเพื่อดูดซับสารพิษออกจากผิวหนังได้
- ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำ แล้วนำมาดื่มเป็นชา หรือกินเป็นผักสด
- ช่วยรักษาอาการข้ออักเสบ แผลอักเสบด้วยการนำมาตำแล้วพอกหรือประคบ
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตร สามารถรับประทานโหระพาในปริมาณปกติได้ แต่การใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมถึงผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย
- ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ อาจเสี่ยงมีเลือดออกมากยิ่งขึ้น เมื่อรับประทานน้ำมันโหระพาหรือสารสกัดจากโหระพา เนื่องจากมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
- เมื่อดื่มน้ำโหระพาคั้น อาจจะมีอาการข้างเคียง คือ จะทำให้มึนงงและระคายเคืองคอเล็กน้อย
- โหระพาอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ผู้มีความดันโลหิตต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลให้มีความดันลดต่ำเกินไป จนเป็นอันตรายได้
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดใช้โหระพาหรืออาหารเสริมโหระพาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกมาก
วิธีการปลูก โหระพา ฉบับง่าย!
โหระพา เป็นสมุนไพรอีกชนิด ที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ และจะเจริญเติบโตง่าย ปลูกต้นไม้ไม่เก่งก็สามารถปลูกโหระพาได้ ขั้นตอนไม่ยาก อ่านแล้วลองปลูกไปพร้อม ๆ กัน!
โรคและแมลงที่ต้องระวัง
- โรคที่อาจเกิดในต้นกะเพรา ได้แก่ โรคราน้ำค้าง โรคเหี่ยว โรคใบเน่า โรคใบจุด
- แมลงที่ควรระวัง ได้แก่ เพลี้ยไฟโหระพา เพลี้ยอ่อนฝ้าย แมลงหวี่ขาวยาสูบ หนอนแมลงวันชอบใบ และหนอนผีเสื้อห่อใบ
- วัชพืชที่ควรกำจัดทิ้ง ได้แก่ แห้วหมู และผักโขม
แนะนำเมนูโหระพา
โหระพา สามารถนำไปทำได้หลากหลายเมนู เพราะช่วยชูรสชาติ ดับคาว และเพิ่มมิติให้จานอร่อยของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าพร้อมแล้ว จดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย~
1 แกงเขียวหวาน
ใครชอบทานแกงเขียวหวาน แล้วอยากทำทานเองที่บ้านหม้อใหญ่ ๆ จัดเต็มทั้งไก่ ทั้งเครื่องเครา เอาสูตรไปเลย! บอกละเอียดตั้งแต่ตำเครื่องพริกแกง ไปจนถึงทำออกมาเป็นแกงสีเขียวสวย พร้อมรับประทาน รับรองว่า อร่อยถึงเครื่องพริกแกง ถูกปากทุกคน แน่นอน
วัตถุดิบ: เครื่องแกงเขียวหวาน, อกไก่, มะเขือเปราะ, ใบโหระพา, …
3 ปลาหมึกผัดฉ่า
อีกหนึ่งวัตถุดิบจากทะเล ที่เหมาะกับการนำมาทำเมนู ผัดฉ่า มาก ๆ ซึ่งถ้าเกิดใครเบื่อ ปลาหมึกผัดไข่เค็ม ปลาหมึกผัดน้ำพริกเผา แล้วละก็ แนะนำให้ลองทำ ปลาหมึกผัดฉ่า ไว้รับประทานเอง รับรองว่า อร่อยไปอีกแบบ ทานได้ไม่มีเบื่อ แถมยังอร่อยเด็ด เผ็ดถึงใจแน่นอน
วัตถุดิบ: ปลาหมึก, กระชาย, พริกไทยอ่อน, ใบโหระพา, …
4 หอยลายผัดพริกเผา
เมนูหอยลายผัดพริกเผา เป็นเมนูอันดับ 1 ของการนำ หอยลาย มาทำอาหารเลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าหากใครชอบทานเมนูนี้ แต่มักพบปัญหาผัดหอยลายออกมาแล้วมีขี้ดินติดอยู่ หรือ ปากหอยปิดทำให้ทานไม่สะดวก ทำตามสูตรและเคล็ดลับที่แปะไว้ให้ได้เลย รับรองปัญหากวนใจจะหมดไป แถมได้จานอร่อยเหมือนกินที่ร้านอีกด้วย!
วัตถุดิบ: หอยลาย, น้ำพริกเผา, ใบโหระพา, เครื่องปรุงรส, …
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับต้นโหระพา ที่เราคุ้นเคยกันดีในหลาย ๆ เมนูอาหาร นอกจากความอร่อย และมีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย แถมสามารถนำไปประกอบเมนูได้หลากหลาย ทั้งอาหารไทย และอาหารต่างประเทศ หรือหากอยากจะปลูกไว้กินเอง หรือปลูกขายก็ทำได้ไม่ยากอีกด้วย ลองนำเคล็ดลับดี ๆ ที่แชร์ในบทความนี้ไปทำตามกันดู รับรองว่าปัง!
15 กุมภาพันธ์ 2024
โดย
จันทร์เจ้า