ไขข้อสงสัย บอแรกซ์ เป็นสารอันตรายต่ออาหารหรือไม่?
บอแรกซ์ เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโซเดียมโบเรท (Sodium Borate) หรือที่รู้จักกันในชื่อผงกรอบหรือน้ำประสานทอง บอแรกซ์มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ และมักถูกนำไปเจือปนในอาหารต่างๆ เพื่อสร้างความกรอบและความเหนียวนุ่ม บอแรกซ์ เป็นสารอันตรายที่อาจถูกนำมาประกอบอาหารเพื่อเพิ่มความกรอบและเหนียวนุ่ม กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้กำหนดข้อบังคับ ห้ามใช้สารดังกล่าวในอาหารไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากสารบอแรกซ์ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้ อย่างทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ไตทำงานล้มเหลว หรือเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม จากการสุ่มตรวจตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็ยังคงตรวจพบอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์อยู่มาก ผู้บริโภคจึงควรตระหนักและระมัดระวังถึงอันตรายจากบอแรกซ์ที่ปนเปื้อนในอาหารอยู่เสมอ แม้ในเรื่องของอาหารบอแรกซ์จะเป็นสารเคมีที่อันตราย แต่สำหรับเรื่องงานบ้าน การทำความสะอาดแล้ว เราสามารถนำบอแรกซ์มาใช้ประโยชน์ได้มากมาย โดยอาหารที่มักตรวจพบส่วนประกอบของบอแรกซ์ ได้แก่…
|
---|
|
|
สารบอแรกซ์ (Borax) เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร
จากการศึกษาบทความโดย KANTISA.MON พบว่าบอแรกซ์ เป็นสารพิษร้ายแรงที่กฎหมายประกาศ ห้ามใส่ในอาหารทุกชนิด เพราะเป็นอันตรายทุกอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะตับ ไต และสมอง จะมีอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน กรณีได้รับสารบอแรกซ์ปริมาณไม่มาก ก็จะทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด มีเลือดปนมากับอุจจาระ และเมื่อได้รับการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานเข้า ก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ รู้สึกเบื่ออาหาร หนังตาบวม ผิวหนังแตกเป็นแผลบวมแดง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก มีอาการปัสสาวะไม่ออก ตับและสมองได้รับผลกระทบ ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ
ดังนั้น สารบอแรกซ์ จึงเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย หากบริโภคเข้าไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) กำหนดให้บอแรกซ์ เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในการทำอาหาร ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในกลุ่มเสี่ยง เช่น ไม่เลือกซื้อเนื้อหมูที่มีสีแดงจัด ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง อย่างลูกชิ้น ผักผลไม้ดองแชอิ่ม หรืออาหารที่สามารถเก็บได้นานผิดปกติ โดยเฉพาะของทอดที่มีความกรอบยาวนาน ให้ตั้งข้อสังเกตเลยว่าอาจมีสารบอแรกซ์เจือปน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบริโภคสาร บอแรกซ์
สารนี้ทำให้เกิดพิษสะสมในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะสะสมไว้ที่ กรวยไต ทำให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในวัยเด็ก หากบริโภคเกิน 5 กรัม/ครั้ง และผู้ใหญ่ ถ้าบริโภคเกิน 15 กรัม/ครั้ง เสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต ทั้งนี้ไม่ว่าร่างกายจะได้รับสารนี้เข้าไปในปริมาณมากในคราวเดียวหรือรับน้อยแต่เกิดการสะสม ก็สามารถส่งผลให้เราเสียชีวิตได้ทั้งนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะหลีกเหลี่ยง สารบอแรกซ์ จากอาหารที่เรารับประทานกันในแต่ละวัน แต่หากเราใส่ใจกับการเลือกรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอีกสักนิด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารนี้ เข้าไปสะสมภายในร่างกายในปริมาณที่น้อยลงได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ควรพิจารณาก่อนการซื้ออาหารมาบริโภคทุกครั้ง เพื่อการดูแลสุขภาพกันนะคะ ซึ่งอาหารแต่ละชนิดก็จะมีสารบอแรกซ์มากน้อยต่างกัน..
|
---|
|
วิธีหลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์
- เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเดิม ๆ เพื่อลดการสะสมพิษในร่างกาย
- ล้างเนื้อสัตว์ก่อนนำไปปรุงอาหาร เพื่อลดปริมาณหรือขจัดสารบอแรกซ์ออกไป รวมถึงกำจัดสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ติดค้างอยู่บนเนื้อสัตว์ออกไปด้วย
- หากต้องการรับประทานเนื้อสัตว์บด ให้เลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่สะอาด มีคุณภาพ และปลอดภัยปลอดสาร ก่อนนำมาบดด้วยตนเอง เนื่องจากหากเป็นเนื้อสัตว์บดสำเร็จรูปจะนำมาล้างทำความสะอาดได้ค่อนข้างยาก
- ตรวจสารบอแรกซ์ในอาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ทราบผลได้เร็ว สะดวก และมีความแม่นยำสูง โดยตรวจวัดได้ทั้งอาหารสุกและอาหารสดด้วยการนำตัวอย่างอาหารที่คาดว่าปนเปื้อนบอแรกซ์มาหั่นหรือบดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ และเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric) จนชุ่ม ก่อนใช้กระดาษขมิ้นสีเหลืองจุ่มลงไปครึ่งแผ่นแล้วนำขึ้นมาทิ้งไว้ให้แห้ง หากสังเกตพบว่ากระดาษส่วนที่จุ่มลงไปในน้ำเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง แสดงว่าอาหารดังกล่าวมีการปนเปื้อนสารบอแรกซ์ และไม่ควรนำมารับประทาน
การใช้สารบอแรกซ์ปรุงแต่งอาหารเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากพบเห็นอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ เพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการและตรวจสอบดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เป็นอย่างไรบ้างคะ หวังว่าทุกคนคงจะชอบบทความที่ SGE นำเสนอให้ในวันนี้นะคะ