พาส่อง ส้มแขก สรรพคุณ และประโยชน์ดีๆ ที่ใครอาจยังไม่รู้!
ส้มแขก คือ?
ส้มแขก (Garcinia) มีถิ่นกำเนิดใน อินเดีย ศรีลังกา และพบได้ทั่วไปในป่าประเภทร้อนชื้นในประเทศไทย และยังเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย พบมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ลงไปถึงสิงคโปร์ ส้มแขกเป็นเพราะอาหารอินเดีย และมาเลเซียหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น จะใช้ส้มแขกประกอบอาหารแทนมะขามเปียก ก็เลยเรียกติดปากกันว่าส้มแขก ที่จริงส้มแขก สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่คงเป็นเพราะทางภาคใต้รู้จักที่จะนำส้มแขกมาประกอบอาหารกันมาก ก็เลยปลูกกันมากกว่าที่อื่นนั่นเอง
ส้มแขกมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- ชนิดที่ 1 พบมากในประเทศไทย คือ Garcinia atroviridis Griff พบมากในพม่า และทางภาคใต้ของไทย รวมถึงในมาเลเซีย และสิงค์โปร
- ชนิดที่ 2 พบมากในอินเดีย คือ Garcinia cambogia Desr.
โดยส้มแขกทั้ง 2 ชนิดนั้น ทั้งคนอินเดียและคนไทย ใช้เพื่อเป็นเครื่องปรุงรสในอาหาร เพื่อทำให้มีรสเปรี้ยว เช่นแกงกะหรี่ (อินเดีย) หรือแกงส้ม แกงเลียง แกงปลาขนมจีน (ไทย) ชนิดที่ 2 นั้น ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ต้นส้มแขก ที่นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพร และมีถิ่นกำเนิดในไทย ได้รับความนิยมแพร่หลายจนกระจายออกสู่ในระดับสากล
สารสำคัญใน ส้มแขก มีอะไรบ้าง?
ในส้มแขกโดยเฉพาะในส่วนของตัวผลและเปลือกผลนั้น พบว่า มีสารสำคัญสำหรับชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า กรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric Acid หรือ HCA) โดยเฉพาะในส้มแขกสายพันธุ์การ์ซีเนียแคมโบเกีย การ์ซีเนีย อะโทร วิริดิส และการ์ซิเนียอินดิคา ซึ่งเป็นพันธุ์ส้มแขกที่อยู่ในป่า แต่ว่าก็สามารถนำมาปลูกได้ในบางพื้นที่ และสามารถให้สารดังกล่าวได้เช่นกัน ซึ่งสารดังกล่าวนี้ เป็นสารสำคัญที่ถูกนำมาใช้ทำอาหารเสริมลดไขมัน และลดน้ำหนักนั่นเอง
-
ดอกส้มแขก
ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก
-
ผลส้มแขก
ลักษณะของผลส้มแขก เป็นผลเดี่ยวคล้ายฟักทองขนาดเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มีประมาณ 8-10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ๆ ละ 4 กลีบ เนื้อแข็ง มีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ด ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม, แกงเลียง, ต้มเนื้อ, ต้มปลา เพื่อให้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน
😍 รู้ไหม? ส้มแขกได้ถูกนำมาทานเพื่อลดความอ้วน โดยการรับประทานส้มแขกในระยะแรก อาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ ระหว่างนี้ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ หากรับประทานไปนาน ๆ ก็จะช่วยลดความอยากอาหารทำให้รู้สึกไม่หิวได้คล้าย ๆ กับสมุนไพรตัวอื่น เช่น พริกไทยดำ, ถั่วขาว, กระบองเพชร และเมื่อหยุดรับประทานส้มแขก ร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีกแน่นอน และที่สำคัญ คือ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผล และพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือด และความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
ประโยชน์ และสรรพคุณของส้มแขก
ต้นส้มแขก เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องปรุงในอาหารไทยมากมาย เช่น ใบอ่อนส้มแขกใช้รองนึ่งปลา, ผลสดใช้ทำแกงส้ม ผลส้มแขกตากแห้ง นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม, แกงเลียง, ต้มปลา, ต้มเนื้อ, แกงส้ม หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน เป็นต้น หรือจะใช้ใบแทนผลก็ให้รสเปรี้ยวได้เช่นกัน ใบแก่นำมาทำเป็นชาได้ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ไม้จากลำต้นส้มแขกแก่ ๆ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้ ซึ่งมีความคงทนแข็งแรงมาก
สำหรับสรรพคุณของส้มแขกตามตำราพื้นบ้าน
ส้มแขกช่วยบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ซึ่งสารในส้มแขกจะถูกขับออกทางไตโดยไม่ถูกทำลาย (ไม่ผ่านตับ) และออกฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะด้วย ช่วยลดไขมันส่วนเกินได้ ฯลฯ ส่วนต่าง ๆ ของส้มแขกมีสรรพคุณ ดังนี้
- ดอกส้มแขก ช่วยแก้อาการไอ เป็นยาขับเสมหะ
- ผลแก่และดอกส้มแขก ช่วยลดความดัน
- ดอกส้มแขก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
- ส้มแขก มีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต
- รากส้มแขก ช่วยแก้กระษัย
- ส้มแขก ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องในสตรีมีครรภ์
- ส้มแขก เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- ใบส้มแขกสด ช่วยแก้อาการท้องผูก
- ส้มแขก มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ
- รากส้มแขก ใช้ทำเป็นยารักษานิ่ว
- ผลส้มแขก สรรพคุณช่วยลดความอยากอาหาร ความรู้สึกหิวอาหาร
- ส้มแขก ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร ช่วยดักจับแป้ง และไขมันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
- สารสกัดจากส้มแขก ช่วยทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวตัวได้เร็วขึ้น และขับไขมันออกมา
- ส้มแขก มีสรรพคุณในการช่วยลดน้ำหนัก และช่วยลดไขมันส่วนเกินของร่างกายได้
- ส้มแขก มีคุณสมบัติช่วยสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต (อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล) ไม่ให้เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้ แต่จะนำไปเป็นพลังงานให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
ข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขก
แม้ส้มแขกจะมีประโยชน์ และได้รับความนิยมมากแค่ไหน ส้มแขกก็ยังมีผลเสียบางประการต่อร่างกายอยู่เช่นกัน เหมือนกับการรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่ถ้าหากมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายได้เหมือนกัน ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคส้มแขกที่คุณควรรู้ มีดังนี้
- ส้มแขกมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น
- สตรีมีครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงรับประทานส้มแขก เพื่อเป็นการรักษาโรคมากเกินไป เพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และปลอดภัยมากพอที่จะรับประกันได้ว่า จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับสตรีมีครรภ์
- ผู้ที่เป็นไบโพลาร์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขก เพราะอาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนได้
- ผู้ที่เป็นโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มแขกในทุกกรณีจะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักมากกว่าเดิม และทำให้ตับถูกทำลายได้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่า ส้มแขก นั้นมีประโยชน์ไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะกับคนที่ต้องการลดไขมัน หรือลดความอ้วน ส้มแขกเป็นหนึ่งในผลไม้หรือส่วนผสมที่เหมาะเป็นอย่างนิ่ง แต่บางกลุ่มคนอย่างเช่น สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยไบโพลาร์ ผู้ป่วยโรคตับ ก็จะต้องระมัดระวังในการรับประทานส้มแขก หรือถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีที่สุด แต่ก็ไม่ใช่เพียงคนกล่าวดังกล่าวเท่านั้น เพราะไม่ว่าอาหารใดก็แล้วแต่ รับประทานมากไปก็ใช่ว่าจะดี ส้มแขกเองก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์ของส้มแขกให้ได้มากที่สุดและไม่ก่อให้เกิดโทษใด ๆ ต่อร่างกาย ก็ควรบริโภคส้มแขกแต่พอดีกันด้วยนะจ๊ะ 🥰 สามารถติดตาม สูตรอาหารและบทความอื่นๆ ได้ที่นี่