เกลือชมพู กับประโยชน์ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ พร้อมวิธีกินอย่างไรให้ปลอดภัย!
เกลือชมพู (Himalayan Pink Salt) เกลือชนิดหนึ่ง ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ของคนรักสุขภาพ เพราะหลายคนเชื่อกันว่า เกลือชนิดนี้ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าเกลือที่ใช้ในครัวเรือนชนิดอื่น ๆ บทความนี้จึงจะพาเพื่อน ๆ มาไขข้อสงสัยว่า เกลือชมพูสีสวยน่ารับประทานชนิดนี้ แท้จริงแล้วมีประโยชน์กว่าเกลือชนิดอื่นจริงหรือ?
เกลือชมพู (Himalayan Pink Salt)
ชื่อภาษาอังกฤษ
Himalayan Pink Salt
ชื่อภาษาไทย
เกลือชมพู, เกลือหิมาลัย
แหล่งกำเนิด
เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศปากีสถาน
เกลือชมพู หรือ เกลือหิมาลายัน (Himalayan Pink Salt) มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศปากีสถาน ซึ่งการที่เกลือชนิดนี้ มีสีชมพู นั่นเป็นเพราะมี ไอเอิร์นออกไซด์ (Iron oxide) เป็นส่วนประกอบ โดยเกลือชนิดนี้ จัดว่าเป็นเกลือบริสุทธิ์ เชื่อกันว่าเกิดมาจากการระเหย และตกผลึกของน้ำทะเลยุคโบราณเมื่อหลายล้านปีก่อน ผ่านการสกัดด้วยมือและไม่มีการเติมสารเคมีหรือสารปรุงแต่งใดๆ จึงเป็นธรรมชาติ และ มีแร่ธาตุมากกว่าเกลือแกงที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้ว เกลือหิมาลัยยังนิยมนำมาทำเป็นโคมไฟ หรือสร้างเป็นถ้ำเกลือหิมาลัย เพื่อช่วยขจัดเชื้อโรคในอากาศ ทำให้ปอดมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์อันเลื่องชื่อของเกลือหิมาลัย
เกลือชมพู กลายเป็นเครื่องปรุงที่นิยมมากในการประกอบอาหารในปัจจุบัน เพราะเชื่อกันว่ามีสรรพคุณและประโยชน์ มากกว่าเกลือแกงทั่วไป หลายคนจึงเชื่อกันว่า การบริโภคเกลือหิมาลัยเป็นประจำจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เพราะมีประโยชน์มากและมีแร่ธาตุถึง 84 ชนิด ดังนี้
ประโยชน์ของเกลือชมพู
- ช่วยรักษาระดับของเหลวภายในร่างกาย
- ช่วยปรับสมดุลค่าความเป็นกรดด่าง (pH balance) ในเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์สมอง
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีสารช่วยชะลอวัย
- ช่วยดูดซึมอนุภาคอาหาร (food particles) ในลำไส้
- ช่วยให้สมอง กล้ามเนื้อ และระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงสุขภาพไซนัสดีขึ้น
- ช่วยควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
- ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
- กระตุ้นความต้องการทางเพศ
- ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
- ช่วยให้นอนหลับสนิท
แร่ธาตุ 84 ชนิดของเกลือชมพู
ธาตุ | ตัวย่อ | ความเข้มข้นที่วิเคราะห์ได้ | วิธีวิเคราะห์ |
---|---|---|---|
Hydrogen | H | 0.30 g/kg | DIN |
Lithium | Li | 0.40 g/kg | AAS |
Beryllium | Be | <0.01 ppm | AAS |
Boron | B | <0.001 ppm | FSK |
Carbon | C | <0.001 ppm | FSK |
Nitrogen | N | 0.024 ppm | ICG |
Oxygen | O | 1.20 g/kg | DIN |
Fluoride | F | <0.1 g | Potentiometric |
Sodium | Na | 382.61 g/kg | FSM |
Magnesium | Mg | 0.16 g/kg | AAS |
Aluminum | Al | 0.661 ppm | AAS |
Silicon | Si | <0.1 g | AAS |
Phosphorus | P | <0.10 ppm | ICG |
Sulfur | S | 12.4 g/kg | TXRF |
Chloride | Cl | 590.93 g/kg | Gravimetric |
Potassium | K | 3.5 g/kg | FSM |
Calcium | Ca | 4.05 g/kg | Titration |
Scandium | Sc | <0.0001 ppm | FSK |
Titanium | Ti | <0.001 ppm | FSK |
Vanadium | V | 0.06 ppm | AAS |
Chromium | Cr | 0.05 ppm | AAS |
Manganese | Mn | 0.27 ppm | AAS |
Iron | Fe | 38.9 ppm | AAS |
Cobalt | Co | 0.60 ppm | AAS |
Nickel | Ni | 0.13 ppm | AAS |
Copper | Cu | 0.56 ppm | AAS |
Zinc | Zn | 2.38 ppm | AAS |
Gallium | Ga | <0.001 ppm | FSK |
Germanium | Ge | <0.001 ppm | FSK |
Arsenic | As | <0.01 ppm | AAS |
Selenium | Se | 0.05 ppm | AAS |
Bromine | Br | 2.1 ppm | TXRF |
Rubidium | Rb | 0.04 ppm | AAS |
Strontium | Sr | 0.014 g/kg | AAS |
Ytterbium | Y | <0.001 ppm | FSK |
Zirconium | Zr | <0.001 ppm | FSK |
Niobium | Nb | <0.001 ppm | FSK |
Molybdenum | Mo | 0.01 ppm | AAS |
Technetium | Tc | Unstable artificial isotope | N/A |
Ruthenium | Ru | <0.001 ppm | FSK |
Rhodium | Rh | <0.001 ppm | FSK |
Palladium | Pd | <0.001 ppm | FSK |
Silver | Ag | 0.031 ppm | AAS |
Cadmium | Cd | <0.01 ppm | AAS |
Indium | In | <0.001 ppm | FSK |
Tin | Sn | <0.01 ppm | AAS |
Antimony | Sb | <0.01 ppm | AAS |
Tellurium | Te | <0.001 ppm | FSK |
Iodine | I | <0.1 g | Potentiometric |
Cesium | Cs | <0.001 ppm | FSK |
Barium | Ba | 1.96 ppm | AAS/TXR |
Lanthanum | La | <0.001 ppm | FSK |
Cerium | Ce | <0.001 ppm | FSK |
Praseodymium | Pr | <0.001 ppm | FSK |
Neodymium | Nd | <0.001 ppm | FSK |
Promethium | Pm | Unstable artificial isotope | N/A |
Samarium | Sm | <0.001 ppm | FSK |
Europium | Eu | <3.0 ppm | TXRF |
Gadolinium | Gd | <0.001 ppm | FSK |
Terbium | Tb | <0.001 ppm | FSK |
Dysprosium | Dy | <4.0 ppm | TXRF |
Holmium | Ho | <0.001 ppm | FSK |
Erbium | Er | <0.001 ppm | FSK |
Thulium | Tm | <0.001 ppm | FSK |
Ytterbium | Yb | <0.001 ppm | FSK |
Lutetium | Lu | <0.001 ppm | FSK |
Hafnium | Hf | <0.001 ppm | FSK |
Tantalum | Ta | 1.1 ppm | TXRF |
Wolfram | W | <0.001 ppm | FSK |
Rhenium | Re | <2.5 ppm | TXRF |
Osmium | Os | <0.001 ppm | FSK |
Iridium | Ir | <2.0 ppm | TXRF |
Platinum | Pt | 0.47 ppm | TXRF |
Gold | Au | <1.0 ppm | TXRF |
Mercury | Hg | <0.03 ppm | AAS |
Thallium | Ti | 0.06 ppm | AAS |
Lead | Pb | 0.10 ppm | AAS |
Bismuth | Bi | <0.10 ppm | AAS |
Polonium | Po | <0.001 ppm | FSK |
Astatine | At | <0.001 ppm | FSK |
Francium | Fr | <1.0 ppm | TXRF |
Radium | Ra | <0.001 ppm | FSK |
Actinium | Ac | <0.001 ppm | FSK |
Thorium | Th | <0.001 ppm | FSK |
Protactinium | Pa | <0.001 ppm | FSK |
Uranium | U | <0.001 ppm | FSK |
Neptunium | Np | <0.001 ppm | FSK |
Plutonium | Pu | <0.001 ppm | FSK |
เกลือชมพู ดีกว่าเกลือชนิดอื่น จริงหรือ?
หลายคนเชื่อว่า เกลือหิมาลัยมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เพราะมีแร่ธาตุและสารอาหารรองมากถึง 89 ชนิด มีปริมาณโปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็กมากกว่าเกลือทั่วไป แต่กลับมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือทั่วไป โดยเปรียบเทียบจากปริมาณเกลือ 1 กรัมเท่ากัน เกลือทั่วไปมีโซเดียม 381 มิลลิกรัม แต่เกลือหิมาลัยมีโซเดียมน้อยกว่า คือ 368 มิลลิกรัม คำนวณแล้วเกลือหิมาลัยมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเกลือทั่วไปเพียง 13 มิลลิกรัม
และนอกจากนี้ เกลือบริโภคทั่วไป ในบางยี่ห้อมีสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ การหันมาบริโภคเกลือหิมาลัย ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติที่ไม่ผ่านกระบวนการเหล่านี้ จึงอาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่ก็ควรพึงระวังหากรับประทานเกลือชมพูมากเกินไป อาจก่อให้เกิดภาวะขาดไอโอดีนได้ เพราะว่าเกลือชมพูจะไม่ผ่านกระบวนการเติมสารไอโอดีนเช่นกัน
เกลือชมพู เกลือหิมาลัย ในด้านความเชื่อ
เกลือหิมาลัย เป็นที่รู้จักกันในนาม เกลือสีชมพู (Pink Halite) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มันมีคุณสมบัติคล้ายกันกับ โรสควอตซ์ หินผลึกที่ยอดเยี่ยมสำหรับความเชื่อด้านความรัก ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้สมหวังในด้านความรักเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สามารถลงมือปฏิบัติและทำสิ่งต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความรักในตนเองได้ ทั้งยังช่วยค้นหาความรู้สึก การตอบถึงจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี รวมถึงการเห็นคุณค่าในตัวเองอีกด้วย
อีกความเชื่อที่ถูกทำต่อกันมาหลายศตวรรษอย่าง การนำเกลือบริสุทธิ์มาใช้ปัดเป่าและป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ รอบตัวและถิ่นที่อยู่ โดยเกลือยังถูกใช้สำหรับการชำระล้างทำความสะอาดและปัดเป่า ในพิธีกรรมที่มีมนต์ขลังแบบดั้งเดิมมากมาย รวมถึงยังถูกใช้เพื่อปลดปล่อยอารมณ์หรือสิ่งที่เก็บกดไว้ จึงมักเห็นผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมกดดัน หรือต้องมีการสื่อสารประสานงานอยู่ตลอด พกชิ้นส่วนของเกลือหิมาลายันในรูปแบบโคมไฟ ไว้บนโต๊ะหรือบริเวณใกล้เคียง
ความเชื่ออื่น ๆ ของโคมไฟเกลือหินหิมาลายัน
- ช่วยสร้างสมดุลของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- เพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ
- ทำความสะอาด และปรับบรรยากาศ
- รักษาอาการภูมิแพ้และลดโรคหืด
- บรรเทาอาการไอและอาการอื่นๆ ของโรคหวัด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- เพิ่มพลังงาน
- เพิ่มความตั้งใจและประสิทธิภาพการทำงาน
- ปรับปรุงอารมณ์
- ลดความเครียดและช่วยให้เกิดการการผ่อนคลาย
- เพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ
เกลือหินหิมาลายันมีความอ่อนโยน แต่มีความแข็งแกร่งจากธาตุดิน ยังมีความเชื่อว่า มันช่วยนำความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้าน
แนะนำเมนูปรุงด้วยเกลือชมพู
เกลือชมพู สามารถนำมาใช้ทดแทนเกลือทั่วไปได้เลย โดยสามารถทำได้หลากหลายเมนู ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย
1 สเต็กเนื้อ ซอสพริกไทยดำ
เมนูที่จะทำให้ได้ลิ้มรสชาติของเนื้อจริง ๆ คงต้องมีเมนู “สเต็กเนื้อ” ติดอันดับอยู่ในนั้นแน่นอน แต่การจะได้กินสเต็กเนื้อคุณภาพดี ๆ ตามร้านดัง ส่วนมากราคาต่อจานก็แพงจนแทบจ่ายไม่ไหว แถมบางทีกินไม่อิ่มอีกต่างหาก บทความนี้เลยเอา สูตรสเต็กเนื้อ ซอสพริกไทยดำมาฝาก ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ราคาประหยัดกว่าไปกินที่ร้านแน่นอน!
วัตถุดิบ: เนื้อริบอาย, เกลือ, พริกไทย, ใบไทม์, …
เกลือชมพู อีกหนึ่งทางเลือกการประกอบอาหาร ที่มีคุณสมบัติและแร่ธาตุเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้ประโยชน์ในด้านการทำอาหารเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องรางอันเกี่ยวเนื่องกับเชื่อในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย บทความหน้าจะพาไปรู้จักกับเกร็ดความรู้เรื่องอาหารเรื่องไหน อย่าลืมติดตามนะคะ~
2 พฤษภาคม 2024
โดย
จันทร์เจ้า
สีสวย แต่ราคาแอบเอาเรื่อง แต่เห็นว่ามีประโยชน์กว่าเกลือทั่วไป น่าลองอยู่จ้า
จากที่ลองทาน รสชาติกลมกล่อมกว่าเกลือปกติจริง ๆ ค่ะ
สีสวยจนไม่กล้าทาน แต่เอามาทำอาหารแล้วรสชาติดีครับ
เกลือชมพู อร่อยแถมเสริมโชคเรื่องความรักด้วยค่ะ ดี๊ดีย์~