รู้หรือไม่ “กระเทียม” ประโยชน์และสรรพคุณที่ล้นเหลือ!

หากพูดถึงสมุนไพรไทย หนึ่งในนั้นคือ กระเทียม (Garlic) ที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัตถุหลักในการนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ที่ขาดไม่ได้ของคนไทย ต้องมีติดไว้ทุกบ้าน! แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า กระเทียมนั้นมีประโยชน์มากมาย ทำไมเราถึงนำมาใช้ประกอบอาหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วันนี้ SGE จะพาไปล้วงลึกถึงสรรพคุณ และประโยชน์ของกระเทียมกัน ตามไปดูเลยจ๊ะ 😘 

กระเทียม (Garlic) คืออะไร?

ประโยชน์ของกระเทียม 2021-1


กระเทียมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium Sativum เป็นพืชสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง มักถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องเทศ มีลักษณะกลมแป้น ประกอบด้วยกลีบที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกสีขาว คนไทยนิยมนำมาใช้ทำอาหาร เนื่องจากช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติให้เมนูอาหารมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ประโยชน์ของกระเทียมมีมากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณทางยาที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ถือเป็นสมุนไพรคู่ครัวสารพัดประโยชน์ที่ทุกคนเข้าถึงได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


กระเทียมสด ป้องกันสารพัดโรค จริงหรือไม่?

ประโยชน์ของกระเทียม อยู่ในสารแอลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนอันเป็นเอกลักษณ์ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งสารตัวนี้จะออกฤทธิ์ให้สรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อเราหั่น ฝาน หรือทุบกระเทียม เพื่อนำไปทำอาหาร ก็ไม่ได้ทำให้สารอัลลิซินสลายไป คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำให้กินกระเทียมวันละ 7-12 กลีบ หรือไม่เกินวันละ 1 หัวขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการกินกระเทียมสด หรือกินผ่านการปรุงอาหาร ก็ได้รับประโยชน์และส่งผลดีต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน 👍
ประโยชน์ของกระเทียม 2021-2

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


10 ประโยชน์ของกระเทียม สรรพคุณที่ไม่ควรมองข้าม

ในกระเทียมมีสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนอันเป็นเอกลักษณ์ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งสารตัวนี้จะออกฤทธิ์ให้สรรพคุณทางยาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้ 

1. รักษาโรคหวัด
ในกระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่หากเป็นหวัดก็สามารถฝานกระเทียมไปแช่น้ำร้อน แล้วกรองน้ำออกมาดื่ม ชากระเทียมอุ่น ๆ จะทำให้หวัดหายเร็วขึ้น

ประโยชน์ของกระเทียม 2021-4


2. แก้โรคผิวหนังอักเสบ

หากผิวหนังอักเสบจากอาการแพ้จนเป็นผื่นแดง หรือมีอาการคันจากโรคสะเก็ดเงิน ให้ทาน้ำมันกระเทียมบริเวณผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ และรักษาอาการคันให้หายได้

3. แก้ปัญหาผมร่วง
สารอัลลิซินและสารซัลเฟอร์ที่อยู่ในกระเทียม สามารถช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วงได้ เพียงฝานกระเทียมบาง ๆ ผสมน้ำมันออยล์ แล้วนำไปนวดบำรุงศีรษะ หนังศีรษะก็จะแข็งแรงขึ้น

4. ลดระดับไขมันในเลือด
การกินกระเทียมเป็นประจำจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และระดับไขมันในเลือด ซึ่งมีผลช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

5. ลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง
สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI) เผยผลวิจัยที่ระบุว่า กระเทียมอาจมีคุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารในกระเทียมออกฤทธิ์ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ประโยชน์ของกระเทียม 2021-5


6. ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก

Allicin ที่อยู่ในกระเทียม มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์และช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากที่เกี่ยวกับโรคฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ได้มีการทดลองจากนักวิทยาศาสตร์ โดยการนำสารที่สกัดจากกระเทียม เป็นน้ำยาบ้วนปาก พบว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันฟันผุได้ดี

7. บำรุงสายตา
กระเทียมสามารถช่วยลดความดันในลูกตา คุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ของกระเทียม มีผลต่อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคตาอักเสบที่เกี่ยวข้องกับสายตา นากจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบอีกว่า น้ำกระเทียมสามารถช่วยป้องกันการเกิด Apoptosis ที่เกิดจากตะกั่วในเซลล์จอประสาทตาอีกด้วย

8. รักษาสิว
นอกจากมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อราแล้ว กระเทียมยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย เคล็ดลับภูมิปัญญาไทยจึงใช้กระเทียมในการรักษาสิว ด้วยการฝานกระเทียมสด แปะลงบริเวณที่มีสิว

9. กำจัดกลิ่นเท้า
ใครที่มีกลิ่นเท้าไม่พึงประสงค์ ให้นำกระเทียมไปบด แล้วแช่ในน้ำอุ่น หลังจากนั้นให้แช่เท้าเพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเชื้อราที่เท้า น้ำกัดเท้า หรือเท้าอับชื้น 

10. บรรเทาอาการปวดข้อ

ประโยชน์ของกระเทียมคือ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น จึงสามารถช่วยลดอาการปวดตามข้อของร่างกาย บรรเทาอาการเจ็บจากข้อเท้าพลิก รวมถึงอาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


วิธีทานกระเทียมให้ได้ประโยชน์

สารอัลลิซินในกระเทียมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จะต้องผ่านการหั่น สับ ทุบ หรือบด จึงควรหั่น สับ ทุบ หรือบดกระเทียมก่อนนำมาปรุงอาหาร 5-10 นาที โดยสารอัลลิซินนี้จะไม่สลายหายไปเมื่อถูกความร้อน เพราะฉะนั้นจะทานสด หรือจะปรุงอาหารในน้ำมันก็ไม่เป็นไร

ปริมาณกระเทียมที่ควรทานต่อวัน

ในวัยผู้ใหญ่สามารถทานกระเทียมได้ราว ๆ 4 กรัมต่อวัน แต่ไม่ควรทานมากเกินกว่านี้ติดต่อกันเกิน 10 วัน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะเลือดแข็งตัวช้า  หรือเลือดไหลไม่หยุดเมื่อเกิดบาดแผล

วิธีเลือกซื้อกระเทียมมาปรุงอาหาร

ควรเลือกกระเทียมที่หัวแน่น ๆ ไม่ฝ่อ เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองอ่อน สด ไม่เน่า ไม่มีราขึ้น และหากอยากได้รสชาติของกระเทียมแบบแรง ๆ ควรเลือกกระเทียมหัวเล็ก ๆ


ข้อควรระวังในการรับประทานกระเทียม

กระเทียมนั้นมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนบางกลุ่ม ควรระวังในการรับประทาน โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร การรับประทานกระเทียมในช่วงการตั้งครรภ์ค่อนข้างปลอดภัย หากรับประทานเป็นอาหารในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจไม่ปลอดภัย หากรับประทานกระเทียมเป็นยารักษาโรค อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการทากระเทียมที่บริเวณผิวหนังในช่วงการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • เด็ก การรับประทานกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมและในระยะสั้น ๆ อาจปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่การใช้กระเทียมทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน และระคายเคืองต่อเด็กได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร หรือการย่อยอาหาร อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ระบบทางเดินอาหารได้
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานกระเทียมอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงมากกว่าปกติ
  • ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานกระเทียมก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก และส่งผลต่อความดันโลหิตในระหว่างการผ่าตัด และผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานกระเทียม โดยเฉพาะกระเทียมสด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรับประทานยารักษาโรค เช่น ไอโซไนอะซิด เพราะกระเทียมอาจลดการดูดซึมของยาในร่างกาย และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของยา รวมถึงไม่ควรรับประทานกระเทียมในระหว่างใช้ยา ต่อไปนี้
    • ยารักษาการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์
    • ยาคุมกำเนิด
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
    • ยาต้านเกล็ดเลือด


อย่างไรก็ตาม กระเทียมนั้นประโยชน์มากมายล้นเหลือ แต่มีคำแนะนำว่า ไม่ควรทานกระเทียมสดในปริมาณที่มากเกินไปนะจ๊ะ โดยสามารถทานกระเทียมขนาดกลาง ๆ ได้ไม่เกินวันละ 1 หัว เพราะถ้าทานมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดโลหิตจาง หรือภาวะเลือดแข็งตัวช้าได้ ดังนั้นในคนไข้ที่ต้องเข้าผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่ทานยาลดการแข็งตัวของเลือดอยู่ จึงไม่ควรรับประทานกระเทียม 👉 สามารถติดตาม บทความอื่นๆ ได้ที่นี่