การเลือกซื้อผัก ให้สด สะอาด ปลอดภัย ทำได้อย่างไร?
การเลือกซื้อผัก แม่บ้าน พ่อบ้านหลายคนคงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาหารเกือบทุกชนิด จะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบ หรือเป็นอาหารจานหลัก เช่น สลัดต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งนำมาตกแต่งอาหาร ผักล้วนมีหน้าที่ที่โดดเด่นในอาหารแต่ละจาน บทความนี้ SGE อยากแชร์เทคนิคดี ๆ การเลือกซื้อผัก และ วิธีเลือกซื้อผัก ให้สดและคงอยู่ได้นาน สะอาด ปลอดภัย จะทำได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
การเลือกซื้อผัก ทำได้อย่างไรบ้าง?
วิธีเลือกซื้อผัก แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การเลือกซื้อผักตามชนิดของผัก
- ผักที่เป็นใบ ควรเลือกใบที่มีสีเขียวสด ไม่มีรอยด่าง ช้ำ หรือเหี่ยว ไม่มีหนอน
- ผักที่เป็นผล ควรเลือกผสที่ไม่เหี่ยว แต่ให้ดูสีดี ๆ ไม่ควรมีสีที่สดเกินจริง
- ผักที่เป็นหัว ควรดูที่น้ำหนักเป็นหลัก เนื้อควรแน่น มีน้ำหนักดี
- ผักที่เป็นฝัก ควรคำนึงอายุของผัก ควรเลือกฝักอ่อน ๆ ไม่แก่จนเกินไป ไม่พอง หรือแน่นจนเกินไป
2. การเลือกซื้อผักตามขนาด และสี
- ผักจะต้องมีน้ำหนัก ไม่เบาจนเกินไป ผักที่มีน้ำหนัก คือ ผักที่สดนั่นเอง
- ผักจะต้องไม่เหี่ยว แต่จะต้องมีเนื้อแน่น บ่งบอกถึงความสด
- ผักจะต้องมีสีสด ไม่ช้ำ
3. การเลือกซื้อผักตามฤดูกาล
- การเลือกซื้อผักตามฤดูกาล จะทำให้ได้ผักที่สดใหม่เสมอ
- ผักที่ปลูกตามฤดูกาล จะไม่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลงปนเปื้อน
- ผักที่ซื้อตามฤดูกาล จะมีราคาถูก และมีคุณภาพ
ล้างผักให้สะอาด ลดสารตกค้าง ทำได้อย่างไรบ้าง?
นอกจากเทคนิคการเลือกซื้อผักแล้ว การล้างผักสด ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดการตกค้างของสารเคมี หรือยาฆ่าแมลงได้ มีวิธีอะไรบ้าง ดังนี้
การใช้ผงฟู (baking soda)
- ใช้ผงฟู (baking soda) ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ 1 กะละมัง หรือประมาณ 20 ลิตร
- แช่ผักทิ้งไว้ 15 นาที
- ล้างผักออกด้วยน้ำสะอาด
วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 80-95%
การใช้น้ำไหลผ่าน
- เด็ดผักออกเป็นใบ ๆ
- ล้างด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง และใช้มือถูเบา ๆ
วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 54-63%
การใช้ด่างทับทิม
- ใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20-30 เกล็ด ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ ประมาณ 4 ลิตร
- แช่ผักทิ้งไว้ 10 นาที
- ล้างผักออกด้วยน้ำสะอาด
วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 35-45%
การใช้น้ำส้มสายชู
- ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ ประมาณ 4 ลิตร
- แช่ผักทิ้งไว้ 10 นาที
- ล้างผักด้วยน้ำสะอาด
วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 29-38%
การใช้เกลือ
- ใช้เกลือป่นปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุณหภูมิปกติ ประมาณ 4 ลิตร
- แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ 10 นาที
- ล้างผักด้วยน้ำสะอาด
วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 27-38%
ขอบคุณข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
เลือกผักสีเขียว ต้องดูอะไรบ้าง?
ยกตัวอย่างผักสีเขียว ที่มักนิยมนำมาทำอาหาร มีวิธีเลือกซื้ออย่างไรบ้าง ดังนี้
การเลือกบรอกโคลี
บรอกโคลีเป็นผักที่มีลักษณะเป็นพุ่ม แน่น อยู่รวมกันเป็นช่อ ๆ และมีสีเขียวสด นิยมทานตรงดอกของมัน มีรสชาติหวานกรอบ ดังนั้นการเลือกบรอกโคลี จะต้องดูที่ดอกเป็นหลัก จะต้องมีดอกแน่น ไม่หรอมแหรม และจะต้องมีสีเชียวสด ก้านจะต้องดูแข็งแรง ไม่ดูเหี่ยว หัวจะต้องมีน้ำหนักและมีใบเล็ก ๆ แซม ไม่ควรซื้อบรอกโคลีที่มีสีเหลือง ดอกน้อย และก้านดูเหี่ยวเฉา
อ่านบทความ : ประโยชน์ บรอกโคลี ต้านโรคหลากชนิด เปรียบดั่งยาอายุวัฒนะ
การเลือกแตงกวา
แตงกวากับความกรอบ เป็นของคู่กัน ทั้งนำมาทานคู่กับยำ จิ้มกับน้ำพริก การเลือกแตงกวา จะต้องเลือกผลค่อนข้างเรียว สีเขียวสด เมล็ดและเนื้อแตงกวากรอบ หากแตงกว่ามีสีขาว อวบอ้วน เม็ดเยอะ แสดงว่าเนื้อจะเหนียว ไม่กรอบ
การเลือกผักบุ้ง
การเลือกผักยบุ้งให้ดูที่ลำต้น จะต้องอวบอ้วน แข็งเล็กน้อย แต่ก็ไม่แข็งจนเกินไป ไม่อ่อนยวบ และมีต้นอ่อนติดอยู่ ใบจะต้องมีสีเขียวสด ไม่ช้ำ ไม่ดูแห้งเหี่ยว
การเลือกกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีสดทานคู่กับยำ หรือนำมาผัดน้ำปลาก็อร่อย ต้องเลือกหัวที่มีน้ำหนัก ไม่เบาจนเกินไป ที่สำคัญต้องเป็นหัวที่กรอบ มีสีเขียวใส ไม่เหี่ยว หรือมีรอยช้ำ หากมีรอยหนอนอยู่บนใบด้านนอก ให้เด็ดใบนั้นออก กะหล่ำปลีแบ่งออกเป็น 2 พันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ พันธุ์หัวกลม และพันธุ์รูปหัวใจ ซึ่งจะมีความหวานกว่าและราคาแพงกว่า
อ่านบทความ : กะหล่ำปลี สรรพคุณ ประโยชน์มากมายที่ควรรู้
การเลือกผักคะน้า
ผักคะน้าที่ดี ควรเป็นผักคะน้าที่ไม่แก่จนเกินไป เพราะก้านคะน้าจะเหนียว และ ไม่กรอบ จะต้องเลือกต้นที่อวบอ้วน ให้สังเกตที่รอยตัดโคนต้น หากเส้นสีขาวละเอียดถือว่ากำลังดี ไม่ควรเลือกต้นที่มีเส้นขาวขนาดใหญ่ เพราะจะมีเสี้ยนเยอะ เป็นต้นคะน้าที่แก่และเหนียว ที่สำคัญให้ดูใบของคะน้า ไม่ควรมีสีเหลือง ก้านและลำต้นไม่เหี่ยว
ผักสด นอกจากจะเลือกให้เป็นแล้ว ควรเก็บรักษาให้เป็นด้วย เลือกเก็บรักษาผักต่าง ๆ กับ ตู้แช่ผัก ตู้แช่ผักผลไม้ สำหรับร้านอาหาร หรือครอบครัวใหญ่ ซื้อผักกักตุน ตู้แช่ผักถือเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ที่สุด เก็บผักได้เยอะไม่พอ แถมผักสด น่าทานอีกด้วย 🤩👍
เลือกผักอื่น ๆ ต้องดูอะไรบ้าง?
ยกตัวอย่างผักอื่น ๆ ที่มักนิยมนำมาทำอาหาร มีวิธีเลือกซื้ออย่างไรบ้าง ดังนี้
การเลือกแครอท
แครอทเป็นพืชที่มีราก มีหลายสีด้วยกัน ได้แก่ สีส้ม สีม่วง และสีเหลือง แต่แครอทที่เรานิยมทาน และนำไปประกอบอาหารมากที่สุด คือ สีส้ม และมีหลายขนาดตั้งแต่ใหญ่ยันเล็กจิ๋ว อย่างเบบี้แครอทนั่นเอง การเลือกแครอทที่ดีนั้น ควรสังเกตเลยก็คือสี แครอทควรมีสีที่สม่ำเสมอ เนื้อแข็ง ผิวเรียบ ดูเป็นเงา เป็นแท่งตรง ไม่งอ ไม่มีแขนเล็ก ๆ ออกมา
อ่านบทความ : รู้จัก ประโยชน์ของแครอท และข้อควรระวัง มีอะไรบ้าง?
การเลือกมะเขือเทศ
มะเขือเทศ มีหลายสายพันธุ์ ทั้งลูกเล็ก ลูกใหญ่ ทรงกลม หรือทรงวงรี การเลือกมะเขือเทศให้สดไม่แตกต่างกัน เลือกมะเขือเทศผลที่ผิวเต่งตึง มันวาว ไม่เหี่ยว ที่สำคัญไม่ช้ำ มีสีแดงเหมือนกันทั่วทั้งลูก ขั้วของมะเขือเทศจะต้องอยู่ติดกับตัวผล มีสีเขียวสด หากเป็นมะเขือเทศรสชาติออกหวาน จะต้องเลือกมะเขือเทศลูกที่มีรอยแฉกใต้ลูกเป็นสีอ่อนที่เห็นชัดเจน
อ่านบทความ : มะเขือเทศ ผลไม้ช่วยผิวงามและคุณประโยชน์อีกมากมาย
การเลือกพริกขี้หนู
เล็กพริกขี้หนู พริกที่จิ๋วแต่แจ๋ว เพราะเผ็ดได้ใจจริง ๆ เลือกพริกขี้หนูที่มีขั้วสีเขียวสด และต้องติดแน่นอยู่กับตัวพริก หากหลุดออกมาแสดงว่าไม่สด ตัวพริกจะต้องไม่เหี่ยว มีผิวที่แน่น สีเขียวสดและแดงสด
การเลือกกระเทียม
การเลือกกระเทียมให้ดูที่เปลือกของมัน เปลือกจะต้องบาง กลีบแน่น แกะเปลือกออกมา เนื้อกระเทียมจะต้องมีเสียงเหลืองอ่อน ไม่ฝ่อ ไม่มีเชื้อรา นั่นหมายความว่ากระเทียมนั้นสด
อ่านบทความ : “กระเทียม” ประโยชน์และสรรพคุณที่ล้นเหลือ!
ผักสด ที่จะต้องมีคู่บ้าน นำมาประกอบอาหาร ควรพิถีพิถันในการเลือกดี ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในบ้านด้วย รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมนำวิธีเลือกซื้อผักที่เรานำมาฝากกันไปลองเลือกซื้อดูนะจ๊ะ รับรองว่า ได้ผักสด สะอาด ปลอดภัยอยน่างแน่นอน นอกจากการเลือกซื้อผักแล้ว ยังมี การเลือกซื้อเนื้อหมู ให้ถูกหลักอนามัย ทำได้อย่างไร? ให้สะอาด ถูกหลักอนามัยให้ทุกคนได้รู้อีกด้วยนะ 🥰
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน