พาทำความรู้จักกับผัก ตำลึง สรรพคุณที่คาดไม่ถึง
หลายๆ คนคงรู้จักและคุ้นเคยกับผักที่ขึ้นตามริมรั้ว และกำแพง หน้าตาดูคล้ายวัชพืช ไม่ค่อยมีค่า มีราคา อย่างผัก ตำลึง ที่แม่เรามักจะหยิบจับเอามาทำแกงจืด ต้มจืดบ่อยๆ โดยนำมาประกอบอาหารอาหารต่างๆ มากมาย เช่น ตําลึงผัดไข่ ต้มเลือดหมู แต่ใครเลยจะรู้ สรรพคุณ ตำลึงนั้นมีมากมายจนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะ มีเส้นใยอาหารที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ ด้วย “ตำลึง” นั้นเป็นผักที่สามารถหารับประทานได้ง่ายมาก เราสามารถมีทานได้ตลอดทั้งปี เพราะตำลึงเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้จากการที่นกกินผลตำลึงเข้าไปแล้วขับถ่ายเป็นเมล็ดออกมา ซึ่งมันจะเจริญเติบโตได้ดีตลอดทั้งปี และจะแตกยอดได้ดีในช่วงฤดูฝน
ตําลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Coccinia grandis Voigt ส่วน ตำลึง ภาษาอังกฤษ ว่า Ivy gourd มีชื่อบ้านๆ ภาษาไทยว่า แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) , ผักแคบ (ภาคเหนือ) , ผักตำนิน (ภาคอีสาน) , ตำลึง สี่บาท (ภาคกลาง)
ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดกว้าง 5-8 ซม.
อ่าน: คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีการศึกษาพบว่าคุณค่าทางโภชนาการของใบ และยอดอ่อนตำลึงต่อขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 Kcal , โปรตีน 3.3 กรัม , กากใยอาหาร 1 กรัม ,วิตามินบี 3 , วิตามินซี 34 มิลลิกรัม , ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม , ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม , , เบตาแคโรทีน 5,190 ไมโครกรัม, วิตามินเอ 865 ไมโครกรัม , วิตามินบี 1 , วิตามินบี , คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม
อ่าน: ใบตำลึงเพศเมีย ใบตำลึงเพศผู้ ทานแล้วท้องเสีย จริง หรือ ?
หลายคนรับประทาน ตำลึง มานาน อาจจะตกใจว่าใบผักตำลึงนั้น มีแบ่งแยกเพศผู้ เพศเมียด้วยเหรอ ? และมีความเชื่อที่ว่า “ผักตำลึงเพศผู้” ไม่นิยมนำมาทาน เพราะ คนที่ธาตุไม่ดี ทานเข้าไปอาจจะมีอาการ อาเจียนท้องเสีย << มีงานศึกษา และวิจัยพบว่า ตำลึงเพศผู้ (ตำลึงตัวผู้) ไม่ได้ทำให้ท้องเสีย แต่ด้วยความที่มันเป็นผักใบเขียว ทำให้มันมีไฟเบอร์ที่สูงมาก ซึ่งไฟเบอร์นั้นมีสรรพคุณช่วยในการขับถ่าย อยู่แล้ว
วิธีการสังเกตว่า ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย แตกต่างกันอย่างคือ ตำลึงตัวผู้ ใบจะมีลักษณะหยักเว้ามากกว่า ตำลึงตัวเมีย สำหรับใบตำลึงเพศเมียนี้ จะเป็นใบที่เรานิยมบริโภคกัน และวางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป มีลักษณะใบค่อนข้างมน ขอบใบจะหยักไม่มาก อีกวิธีที่ดูคือ ให้ดูที่ใต้ดอก หากมีกระเปาะอยู่ใต้ดอก นั่นคือ รังไข่ สามารถบอกได้ว่าเป็น เพศเมีย นั่นเอง
ตําลึงตัวผู้ ไม่ได้มีอันตรายทำให้ท้องเสีย ถ่ายไม่หยุด อย่างที่มีการแชร์ หรือเชื่อกัน แต่เพราะที่ทำให้ขับถ่ายนั้นเพราะ ตำลึงตัวผู้ มีไฟเบอร์ที่สูง ทำให้ช่วยเรื่องการขับถ่าย หรือมีคุณค่าทางโภชนาการ พอๆ หรือแทบไม่ต่าง กับ ตําลึงตัวผู้
อ่าน: ตำลึง สรรพคุณ มากมาย
1. ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
2. บำรุงสายตา เป็นแหล่งวิตามินเอที่สำคัญ ยังพบว่ามีเบต้าแคโรทีนที่พบเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นวิตามินเอได้อีกด้วย ดังนั้นตำลึงจึงขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาอีกด้วย3.เสริมภูมิต้านทาน ตำลึงอุดมไปด้วยมีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการป่วยไข้ได้ โดยเฉพาะอาการไข้หวัด ซึ่งหากร่างกายขาดวิตามินเอ ก็มีโอกาสจะป่วยไข้ได้ง่าย
4.รักษาเบาหวาน มีงานวัยจาก สถาบันโภชนาการ มหิดล เผยว่า พบสารฟลาโวนอยด์ สูง โดยสรรพคุณของมันคือ ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ดี
5.ช่วยย่อยอาหาร ตำลึงมีเอนไซม์อะไมเลสอยู่มาก ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดี หากใครมีอาการแน่นท้อง ท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะคนที่กินแป้งเข้าไปมาก ๆ ให้ใช้ใบตำลึงประมาณ 1 กำมือ ผสมกับเถาตำลึงเด็ดขนาดเท่านิ้วก้อย 1 กำมือ โขลกรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำตำลึงมาผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ กินก่อนอาหารประมาณ 5-10 นาที เพื่อเรียกน้ำย่อย หรือจะใช้ใบตำลึงแก่ลวกพอสุก กินเป็นผักเคียงพร้อมกับอาหารในแต่ละมื้อเลยก็ได้
6.ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล
แกงจืด ตําลึง หมู สับ เมนูยอดฮิต
แจกสูตร: น้ำ ตำลึง สูตร ไร้กลิ่น เหม็นเขียว
สูตรนี้ ช่วยบำรุงสายตา ต้านเบาหวาน คนที่เป็นแม่กำลังให้นม จะช่วยน้ำนมได้เป็นอย่างดี
วัตถุดิบ
ใบตำลึง 300 กรัม , น้ำเปล่า 200 CC , น้ำ เสาวรส 2 ช้อนโต๊ะ , น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา , เกลือ ¼ ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำใบตำลึง แบะน้ำเปล่าปั่นในเครื่องปั่น ให้ละเอียด
2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือกระช้อน เอากากออก
3.นำน้ำตำลึงที่กรองแล้ว ต้มด้วยไฟอ่อน รอจนเดือด ยกขึ้น กรองด้วยผ้าขาวบาง
4.ตักใส่แก้วเติม เสาวรส และน้ำผึ้งตามชอบ หรือใส่น้ำแข็งเพิ่มเติม
ส่วนกากที่แยกนั้น สามารถนำไปมาร์กหน้าได้ ช่วยผิวหน้าเต่งตึง ไร้ริ้วรอย หรือหากใครมีกลิ่นตัว สามารถเอากากไปทา หรือ พอก ช่วยลดกลิ่นตัว ได้ดีอีกด้วย