รู้ไหม? น้ำส้ม น้ำส้มขวด ตามท้องตลาด พบสารตกค้างเพียบ!
หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกับ ส้ม 🍊 กันดีอยู่แล้ว เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมา คือ การตกค้างของ สารพิษในส้ม จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด จะมีอยู่ใน น้ำส้ม หรือ น้ำส้มขวด แบบไหนบ้าง ตาม SGE ไปดูกัน
สารพิษตกค้างในส้ม และน้ำส้ม มีอะไรบ้าง?
#เตือนภัยผู้บริโภค เจอสารพิษตกค้างในส้ม และ น้ำส้มขวด ที่ขายตามท้องตลาดหรือ ห้างสรรพสินค้า จากผลสุ่มตรวจพบ ผลส้ม 41 ตัวอย่าง เจอสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน 100 % ในขณะที่น้ำส้มบรรจุกล่อง 50 % เสี่ยงสารพิษ ยาฆ่าแมลง รวมถึงน้ำส้มยี่ห้อดัง
ส้ม 60 ตัวอย่าง ที่ พบสารพิษตกค้าง
- ส้มเขียวหวาน (จากบิ๊กซี บางใหญ่)
- Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท (จากกูร์เมต์มาร์เก็ต)
- ส้มแมนดาริน ไต้หวัน (จากร้านเจ๊สุ พรีเมียมฟรุต)
ซึ่งทั้ง 3 ตัวอย่าง เป็นส้มที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
5 ยี่ห้อน้ำส้มที่ปลอดภัย
- น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco
- น้ำส้ม 100% ตรา UFC
- น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน)
- น้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh
- Harvey Fresh (จากประเทศ ออสเตรเลีย)
5 ยี่ห้อน้ำส้ม พบสารพิษตกค้าง
จากตัวอย่างน้ำส้มในภาชนะปิดสนิท มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่
- น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตรา ARO
- น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% (ตรา CHABAA)
- น้ำส้ม 98% (ตรา ดอยคำ)
- น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% (ตรา Green Garden)
- น้ำส้มเขียวหวาน 100% (ตรา SMILE)
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบสารพิษ และยากำจัดแมลงที่พบในส้ม ที่ตรวจสอบ สำหรับสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด คือ
- สารกำจัดแมลง 31 ชนิด
- สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด
- สารกำจัดไร 4 ชนิด
คำแนะนำสำหรับผู้บริโภค
- ควรล้างผลส้มทุกครั้งก่อนการบริโภค แม้ไม่อาจลดสารตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทดูดซึมได้ ก็ช่วยลดลงได้บ้าง
- เลือกซื้อส้มที่มาจากแหล่งการผลิตที่เชื่อถือได้ หรือส้มอินทรีย์ โดยต้องเรียกร้องให้ห้าง และผู้ค้าต้องแสดงที่มาของส้ม
- ดูผลิตภัณฑ์ของน้ำส้มบรรจุภาชนะที่ตรวจไม่พบสารตกค้างได้จากลิงค์รายงานผลการตรวจ
- องค์กรที่เกี่ยวข้อง จะนำผลการตรวจวิเคราะห์นี้ เพื่อประสานงานกับผู้ประกอบการ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรุ้เรื่องสารพิษใน น้ำส้มขวด ต่าง ๆ ที่เรานำมาฝากกัน อย่างไรก็ตามก่อนเลือกทานส้ม หรือผลไม้อื่น ๆ ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธีก่อนนำมารับประทานกันด้วย เพื่อลดสารตกค้าที่อาจจะติดอยู่ บทความหน้า เราจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ 😘
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน