เช็กลิสต์ ประโยชน์ของเห็ด นานาชนิด สารพัดคุณค่าแก่ร่างกาย

“เห็ด” นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ ปราศจากไขมัน และอุดมไปด้วยวิตามินบีรวม และไนอาซิน รวมทั้งมีสรรพคุณทางยา ช่วนเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดอัตราเสี่ยงจากโรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และ ความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องดีต่อร่างกาย หากเราได้บริโภคเห็ด เป็นประจำสม่ำเสมอ ที่นี่มาดูกันบ้างว่า ประโยชน์ของเห็ด แต่ละชนิดมีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของเห็ด เห็ดหอม

ประโยชน์ของเห็ด

1. เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส และมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอ ๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูก และ มีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูก และ ฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรด ในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
ประโยชน์ของเห็ด เห็ดหูหนู


2. เห็ดหูหนู
เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรง ให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอด และไต

201119-Content-เห็ดนานาชนิด-มีประโยชน์สารพัดแก่ร่างกาย-04


3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็ง และโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201119-Content-เห็ดนานาชนิด-มีประโยชน์สารพัดแก่ร่างกาย-05


4. เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญอง รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสด หรือ บรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษา และป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ ไปช่วยยับยั้ง เอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจน เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ให้น้อยลงตามไปด้วย

201119-Content-เห็ดนานาชนิด-มีประโยชน์สารพัดแก่ร่างกาย-06


5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ด 3 อย่างนี้ อยู่ตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อ ๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อ จะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนา และนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และโรคกระเพาะ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

201119-Content-เห็ดนานาชนิด-มีประโยชน์สารพัดแก่ร่างกาย-07


6. เห็ดฟาง เป็น เห็ด ยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้น ๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำ จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิต และเร่งการสมานแผล

ประโยชน์ของเห็ด เห็ดเข็มทอง


7. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสด ๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
ประโยชน์ของเห็ด เห็ดโคน


8. เห็ดโคน
 ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์ พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
 

นอกจากเรื่องคุณประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว เห็ดยังมีรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่เหมาะกับการนำมาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารต่าง ๆ อีกด้วย >>5 เมนูเห็ด เพิ่มพลังให้ร่างกายแถมอายุยืนยาว!
 

 Tip “เมนูเห็ดล้างพิษ” คือ การนำ “เห็ดสามอย่าง” มาปรุงอาหารร่วมกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการชะล้างสารพิษออกจากร่างกาย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา