ผักพื้นบ้าน ที่ต้องรู้จัก ทำกับข้าวก็อร่อย กินเป็นยาได้
❝ เราต่างรู้กันว่า พืชพรรณ ผักพื้นบ้าน ในแต่ละท้องถิ่น ถือว่าเป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ใครได้ไปเยือน ก็ต้องขอลิ้มลองรสชาติของผักพื้นบ้าน โดยแต่ละท้องถิ่นล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเรื่องกลิ่น เรื่องรสชาติ รวมไปถึงชื่อเรียกก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย ❞
ผักพื้นบ้าน แต่ละชนิดนั้น สามารถปลูกและหารับประทานได้ง่าย จึงนิยมนำมาประกอบอาหาร ทานคู่กับอาหารพื้นถิ่นหลากหลายเมนู นอกจากจะช่วยเสริมรสชาติให้กับอาหารแล้ว ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารต่าง ๆ มีทั้งวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุ รวมถึงมีสรรพคุณที่เป็นยา ช่วยให้สุขภาพร่างกายของเราสมบูรณ์แข็งแรงแบบยกกำลังสอง
วันนี้ SGE จะพาไปรู้จัก ผักพื้นบ้าน แต่ละภาคกันว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ผักพื้นบ้าน คืออะไร?
ผักพื้นบ้านคือ พรรณพืชพื้นบ้านในท้องถิ่น ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค หรือนำมาทำเป็นของใช้สอยในครัวเรือน ผักพื้นบ้านนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีรสยาที่หลากหลายอยู่ในผักพื้นบ้าน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ให้ความสำคัญกับรสอาหารพื้นบ้าน ดังนี้
- รสฝาด มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ยอดจิก ยอดกระโดน ขนุนอ่อน
- รสหวาน มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เช่น เห็ด ผักหวานป่า ผักขี้หูด บวบ น้ำเต้า ผักเชียงดา ผักหวานบ้าน
- รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยา คือ แก้ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ เช่น ดอกกระทือ กระเทียม ดอกกระเจียวแดง ดีปลี พริกไทย ใบชะพลู ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย เร่ว
- รสเปรี้ยว มีสรรพคุณทางยา คือ ขับเสมหะ ช่วยระบาย เช่น ยอดมะขามอ่อน มะนาว ยอดชะมวง มะดัน ยอดมะกอก ยอดผักติ้ว ส้มกุ้ง ผักกาดส้ม
- รสหอมเย็น มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย เช่น เตยหอม โสน ดอกขจร บัว ผักบุ้งไทย เป็นต้น
- รสมัน มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงเส้นเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น สะตอ เนียง ถั่วพู ฟักทอง กระถิน ชะอม ต้างหลวง
- รสขม มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ช่วยระบาย เช่น มะระขี้นก มะแว้งต้น ลิงลาว ยอดหวาย ดอกขี้เหล็ก ใบยอ สะเดา เพกา มะขม
ประโยชน์ของผักพื้นบ้าน
- ได้ประโยชน์จากสารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในผักพื้นบ้าน เช่น แร่ธาตุ และวิตามิน
- มีกากใยอาหาร ซึ่งจะดูดซับไขมัน ทำให้ไขมันดูดซึมเข้าร่างกายน้อยลง ลดระดับไขมันในเลือด
- ช่วยในการขับถ่าย อาหารเคลื่อนที่ในลำไส้ได้ดีขึ้นทำให้ท้องไม่ผูก
- บางชนิดมีสารอาหารเฉพาะ เช่น “ใบชะพลู” มีแคลเซียมสูง “ยอดแค” มีบีตาแคโรทีนเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย “ผักกูด” ให้ธาตุเหล็กที่จำเป็นกับร่างกาย และ “ยอดสะเดา” มีวิตามินซีในในระดับที่สูง
นอกจากนี้ การกิน “ผักพื้นบ้าน” ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผัก รวมทั้งช่วยลดต้นทุนการนำเข้าผักจากต่างประเทศอีกด้วย
รู้จักกับผักพื้นบ้าน ประจำท้องถิ่นกันดีกว่า
ผักพื้นบ้านประจำท้องถิ่น ผักพื้นบ้านในประเทศไทย มีอยู่มากมายหลายชนิดโดยกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยในแต่ละที่ จะพบผักพื้นบ้านต่างชนิด และจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศเป็นปัจจัย ไปรู้จักกับผักพื้นบ้าน ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย จะมีอะไรบ้าง ดังนี้
ผักพื้นบ้านประจำ ภาคเหนือ
ผักพื้นบ้านที่พบได้ในภาคเหนือ ได้แก่
- กอมก้อแดง, กอมก้อดำ (กะเพรา)
► อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
► ช่วยป้องกันโรคขาดเลือด ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และ ลดอาการจุกเสียด - กอมก้อ (โหระพา)
► อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน และวิตตามิน เกลือแร่ เช่น วิตามินเอ, บี 1, บี 2, ซี และแคลเซียม
► ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย - กอมก้อขาว (แมงลัก)
► อุดมไปด้วยบีตา-แคโรทีน ธาตุเหล็ก และไนอาซีน
► ช่วยในการบำรุงเลือด ขับลมในกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ - บะเขือส้ม (มะเขือเทศ)
► ประกอบไปด้วยสารจำพวกไลโคปีน แคโรทีนอยด์บีตา-แคโรทีน และกรดอะมิโน
► ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน และเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย - ป้อมเป้อ (ผักชีฝรั่ง)
► อุดมไปด้วยบีตา-แคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็กกรดออกซาลิก วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ
► ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง
ผักพื้นบ้านประจำ ภาคอีสาน
ผักพื้นบ้านที่พบได้ในภาคอีสาน ได้แก่
- ผักซี (ผักชีลาว)
► ประกอบด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สารลิโมนีน และสารฟลาโวนอยด์
► ช่วยหยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ในร่างกายลดคอเลสเตอรอล และทำให้นอนหลับสบาย - บักแค่ง, หมากแค่ง (มะเขือพวง)
► อุดมด้วยเส้นใยอาหาร และสารเคมีที่สำคัญหลายชนิด เช่น สารเพกติน สารโซลาโซดีน
► ช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่สมดุล ลดระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูง - ถั่วพู
► อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็ก ให้พลังงานต่ำ และมีเส้นใยมาก
► ช่วยลดกรดไขมันประเภทอิ่มตัว และช่วยในการย่อยอาหาร - ผักแค, ผักอีเลิด (ชะพลู)
► อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอและสารบีตา-แคโรทีน
► ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ
ผักพื้นบ้านประจำ ภาคกลาง
ผักพื้นบ้านที่พบได้ในภาคกลาง ได้แก่
- ผักโขม
► อุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม กรดอะมิโน และวิตตามิน
► ช่วยบำรุงสมอง สายตา เลือด และช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง - บวบ
► ประกอบด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหาร และ น้ำ
► ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟัน ขับปัสสาวะแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ลดไข้ และบำรุงร่างกาย - แตงกวา
► ประกอบด้วยกากใยอาหาร วิตามินซี กรดคาเฟอิกแมงกานีส และแมกนีเซียม
► ช่วยควบคุมความดันเลือดลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย และช่วยกักเก็บเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว - มะเขือเปราะ
► อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสารฟีนอลวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด
► ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือด - ผักกาดกวางตุ้ง
► ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซี
► ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย บำรุงสายตา และช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
ผักพื้นบ้านประจำ ภาคใต้
ผักพื้นบ้านที่พบได้ในภาคไต้ ได้แก่
- ไคร (ตะไคร้)
► อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย รวมถึงมีโฟลเลต แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแคลเซียม
► มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยในการขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ - ขี้หมิ้น (ขมิ้นชัน)
► อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
► ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง - ลูกตอ (สะตอ)
► อุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามิน
► มีส่วนช่วยบำรุงสายตา ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด - ลูกนาว (มะนาว)
► อุดมไปด้วยวิตตามินซี และกรดที่ดีต่อร่างกาย เช่น กรดซิตริค กรดมาลิค และกรดแอสคอร์บิก
► ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียน และช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟันได้ - ดีปลี (พริก)
► บริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว มีสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พริกมีความเผ็ดร้อน
► มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย และ มีสาร Endorphin ช่วยให้อารมณ์ดี - ยอดอม (ชะอม)
► อุดมด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และ แคลเซียมสูง
► ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก และ มีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
เป็นอย่างไรกันบ้าง ผักพื้นบ้านประจำถิ่นขอแต่ละภาคของประเทศไทย แม้จะอยู่ต่างพื้นที่ต่างสายพันธุ์กัน แต่ผักแต่ละชนิด ก็แฝงไปด้วยคุณประโยชน์มากมายที่ดีต่อสุขภาพ สามารถกินคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ รับรองว่า ได้ประโยชน์เต็ม ๆ อย่างแน่นอน
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตไว ปลูกไว้กินเองที่บ้านได้
- ปลูกผักกินเอง ปลูกง่าย โตไว ทำง่าย ๆ ได้ที่บ้าน
- รวม 15 “เมล็ดพืช” สามารถกินได้ มีอะไรบ้าง?
นอกจากนี้ SGE ของเรายังมี อุปกรณ์การเกษตร ให้เลือกสรรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สแลนกันแดด กระถางผ้าปลูกต้นไม้ ผ้าคลุมดิน และอีกมากมายให้เลือกชมกัน พร้อมบริการดี ๆ หลังการขาย ที่แสนประทับใจอย่างแน่นอน สามารถเลือกชมสินค้าได้ www.sgethai.com
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน
ขอบคุณข้อมูลดีๆนะครับ ขอนำไปแชร์ต่อ
ยินดีมากๆเลยค่ะ มีข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ด้วยนะคะ