รู้จักกับ “มะกรูด” สมุนไพรก้นครัว ประโยชน์มากมายที่ควรรู้
หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับ มะกรูด เป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทย นิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง นิยมใช้ใบมะกรูด และผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ “มะกรูด” ให้มากขึ้นกัน รับรองว่าสรรพคุณ และประโยชน์มากมาย ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย
มะกรูด คืออะไร?
มะกรูดเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมาอย่างยาวนาน นิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็น และขาดไม่ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว มักจะนิยมใช้ใบมะกรูด และผิวมะกรูด มาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงาม และในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นไม้มงคล ที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่า จะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนั่นเอง
มะกรูด(Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda) เป็นพืชในตระกูลส้ม (Citrus) ซึ่งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศลาว มาเลเซีย อินโดนิเซีย และไทย
โดยลักษณะของต้นมะกรูดนั้น เป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ขนาดเล็ก ตามลำต้น และกิ่ง จะมีหนามยาวออกมาเล็กน้อย ลักษณะของใบมะกรูดนั้น จะเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบ่ย่อย 1 ใบ เรียงสลับกันเป็นรูปไข่ คือ ลักษณะคล้ายกับใบไม้สองใบกำลังต่อกันอยู่ แล้วคอดกิ่วตรงกลางใบเป็นตอน ๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้สามารถเห็นใบเป็น 2 ตอน มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ด้านบนใบมีสีเขียวเข้ม แต่ข้างใต้ใบมีสีเขียวอ่อน พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง และผิวมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมาก เนื่องจากมีต่อมน้ำมันอยู่ ลักษณะของดอกนั้น จะออกเอกเป็นกระจุกประมาณ 3-5 ดอก มีกลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย แต่มีกลิ่นหอมมาก ในส่วนของผลนั้น มีสีเขียวเข้มคล้ายกับมะนาว แต่ผิวของเปลือกภายนอกนั้นขรุขระ ขั้วหัวท้ายเป็นจุก ผลมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วผล ผลอ่อนมีสีเขียวแก่ และเมื่อผลสุก จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด
คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด
ผิวมะกรูดขนาด 100 กรัม ประกอบไปด้วย
- เหล็ก 1.7 กรัม
- ไขมัน 1.1 กรัม
- โปรตีน 2.8 กรัม
- วิตามินซี 115 มิลลิกรัม
- คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม
- แคลเซียม 322 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม
- ใยอาหาร 3.4 กรัม
คุณประโยชน์ สรรพคุณของมะกรูด มีอะไรบ้าง?
สรรพคุณมะกรูด และคุณประโยชน์ของมะกรูด มีหลายประการเลยทีเดียว เนื่องจากสารเคมีที่สำคัญ ที่พบในผลมะกรูดนั้น คือ น้ำมันหอมระเหย ประมาณ 4% จึงนำมาสกัดเป็นยา เพื่อประโยชน์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ โดยใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากันมาบดเป็นผง แล้วชงกับน้ำร้อน เพื่อดื่มก่อนนอน
- ช่วยแก้อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ โดยนำเปลือกมะกรูดมาฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือด แล้วนำมารับประทาน
- ช่วยฟอกระบบไหลเวียนโลหิต โดยนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีก แล้วนำไปดองกับเกลือ หรือน้ำผึ้งทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วนำมารินดื่ม จะช่วยฟอกและทำความสะอาดระบบไหลเวียนโลหิตเป็นอย่างดี
- ช่วยต่อต้านการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ โดยใบมะกรูดนั้น มีสารเบต้าแคโรทีน ที่มีสรรพคุณในการชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
วิธีปลูก ดูแลรักษามะกรูด ทำได้อย่างไร?
การปลูกมะกรูดนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- สามารถนำมาปลูกในกระถางต้นไม้ได้ผ่านกานเพาะเมล็ด โดยต้องเตรียมผลมะกรูดที่แก่จัด หรือผลที่ร่วงใต้ต้น แต่ยังมีสภาพสมบูรณ์
- นำผลมาฝานออก ให้เนื้อในแยกออกจากัน และต้องระวังไม่ให้เมล็ดมะกรูดเสียหาย ใช้ช้อนคว้านเมล็ด และเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้
- นำเมล็ดไปล้างให้สะอาด ปราศจากผิวเคลือบอยู่ นำมาวางลงบนถาด เกลี่ยให้ทั่วอย่าให้ทับกัน นำไปผึ่งแดดประมาณ 2-4 วัน เพื่อให้แห้ง
- หลังจากนั้น เตรียมดินร่วนปนทราย ที่สามารถระบายน้ำได้ดี มาผสมกับปุ๋ยคอก เพื่อเทลงในหลุมสำหรับเพาะกล้า
- เมื่อเมล็ดที่ตากไว้แห้งสนิท นำเมล็ดมาเพาะลงในดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าแฉะเกินไป นำหลุมเพาะไปตั้งไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- เมื่อต้นกล้าเริ่มงอกขึ้นมาประมาณ 4 ใบ ค่อยย้ายมาปลูกในถุงดำ เพื่อเพาะต้นกล้าให้แข็งแรง และสูงประมาณ 30 เซนติเมตร
- เมื่อได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ให้ย้ายมาปลูกในกระถางดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอก และคลุมหน้าดินด้วยกาบมะพร้าว เพื่อป้องกันความชื้นระเหยออก
- หลังจากนั้นภายในระยะเวลา 1-2 ปี ต้นมะกรูด จะออกผลให้เก็บได้ และในส่วนต้นมะกรูดที่สูงตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป สามารถนำไปประกอบอาหารได้เลย
ในส่วนของการดูแลรักษาต้นมะกรูดนั้น สามารถทำได้ง่าย ไม่ยาก เพียงแค่รดน้ำในตอนเช้าให้ดินมีความชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้รากเน่าได้ และควรตั้งกระถางให้โดนแดด วันละประมาณ 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนดินในกระถางทุก ๆ 2 ปี
ข้อควรระวัง
- ระวังผิวไหม้แดด มะกรูดถึงแม้จะมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่เพราะในน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน หากผิวถูกน้ำมันมะกรูดโดยตรง แล้วถูกแสงแดด อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง จนส่งผลให้ผิวไหม้แดดได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระวังการใช้มะกรูดในปริมาณที่มากเกินไป เพราะสารในมะกรูด จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าระดับปกติ
- ปัญหาโพแทสเซียม ในมะกรูดมีสาร bergapten ซึ่งเป็นสารที่จะส่งผลต่อการลดระดับโพแทสเซียมในเลือด และเป็นต้นเหตุของการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการกล้ามเนื้อกระตุก ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณมากเกินไป
มะกรูดเป็นสมุนไพรที่ได้มีการนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณ มีกลิ่นหอม ช่วยลดความเครียด และบำรุงสุขภาพได้อีกหลายด้าน ทั้งยังนิยมนำมาใช้นำการดูแลเส้นผม ทำให้ผมดกดำแข็งแรง แก้ปัญหาหนังศีรษะ และเส้นผมได้ นอกจากผลแล้ว ในส่วนของใบมะกรูดยังมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง จะช่วยทำให้รสชาติอาหารหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น แถมยังดีต่อสุขภาพในด้านการกินสมุนไพรเป็นยาอีกด้วย
จะเห็นได้ว่ามะกรูด ถือเป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลายเมนูเลยทีเดียว แถมยังมีประโยชน์ และสรรพคุณมากมาย ปลูกติดครัวไว้ เวลาจะนำมาประกอบอาหารก็สะดวกสบายอีกด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน