มูลไส้เดือน

1,885 Views

คัดลอกลิงก์

มูลไส้เดือน ประโยชน์ พร้อมวิธีทำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ง่าย ๆ ที่บ้าน

มูลไส้เดือน ประโยชน์ มีอะไรบ้าง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างไร SGE มีคำตอบ พร้อมพาทำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ง่าย ๆ ที่บ้าน
ใครอยากทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ไว้ใช้บำรุงพืช หรือ ผลิตขาย สร้างรายได้แล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

ปุ๋ยมูลไส้เดือน คือ

มูลไส้เดือน

ปุ๋ยมูลไส้เดือน คือ ขี้ไส้เดือน ที่ไส้เดือนขับถ่ายออกมา จากการกินเศษผัก เศษอาหาร เศษซากอินทรียวัตถุต่าง ๆ ซึ่งจากการที่ไส้เดือนมีจุลินทรีย์และน้ำย่อยในระบบย่อยอาหารจำนวนมาก ทำให้มูลไส้เดือนเต็มไปด้วยจุลินทรีย์และธาตุอาหารหลายชนิด ส่งผลให้พืชสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ง่าย โดยลักษณะทางกายภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือนนั้น จะมีลักษณะเป็นเม็ดร่วนละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล มีความโปร่งเบา มีรูพรุน ระบายน้ำ – อากาศได้ดี และ มีความจุความชื้นสูง สำหรับสายพันธุ์ของไส้เดือน ที่นิยมนำมาผลิต มูลไส้เดือน คือ African Night Crawler เนื่องจากตัวใหญ่ เคลื่อนไหวเร็ว กินเก่ง และ ย่อยสลายอินทรียวัตถุได้เร็วกว่าชนิดอื่น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

มูลไส้เดือน ประโยชน์

ปุ๋ยมูลไส้เดือน

1. ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารหลักครบถ้วน

ในมูลไส้เดือน เต็มไปด้วย ธาตุอาหารหลักของพืช หลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม เหล็ก ทองแดง ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารหลักครบถ้วน เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

2. ลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร

ธาตุอาหารหลักของพืชในมูลไส้เดือน จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค สามารถปลดปล่อยออกมา เมื่อพืชต้องการได้ทุกเมื่อ ช่วยลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร และ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบ่อย ๆ

3. เร่งเซลล์พืชให้ขยายและเติบโตเร็วขึ้น

มูลไส้เดือน มีจุลินทรีย์และแบคทีเรียจำนวนมาก ที่จะช่วยเร่งเซลล์พืชให้ขยายและเติบโตเร็วขึ้น โดยเฉพาะรากแก้ว ทำให้รากแก้วขยายและโตเร็ว ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

4. ทำให้ดินมีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี

จากการที่มูลไส้เดือนมีความโปร่งเบา และ มีรูพรุนเยอะ หากใส่ลงในดิน หรือ ผสมกับดินที่ใช้ปลูก จะช่วยให้ดินมีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น ปกป้องดินไม่ให้แน่นแข็ง รากพืชสามารถชอนไชและเดินหาอาหารได้ง่าย เหมาะสำหรับต้นไม้ที่ปลูกในกระถางนาน ๆ

5. ปรับสภาพดินให้เหมาะกับการปลูกพืช

หากไม่มีดินร่วน หรือ ดินร่วนปนทราย แล้วต้องการใช้ดินเหนียว ดินทราย ในการปลูกพืช สามารถใช้มูลไส้เดือนผสมลงไปได้ จะช่วยปรับสภาพดินให้เหมาะกับการปลูกพืชได้ โดยในดินเหนียว จะช่วยเพิ่มอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น สำหรับ ดินทราย จะช่วยให้ดินสามารถรักษาความชื้น ลดการชะล้างธาตุอาหาร เวลารดน้ำได้

6. ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อพืช

เนื่องจากเป็นปุ๋ยอินทรียวัตถุ ทำให้ปลอดสารเคมี 100% ไม่เป็นอันตรายต่อพืช อีกทั้งยังมีข้อดีกว่าปุ๋ยคอก คือ เป็นปุ๋ยเย็น สามารถนำมาใช้ได้เลย ไม่ต้องหมักทิ้งไว้ก่อนใส่ปุ๋ย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีทำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ง่าย ๆ ที่บ้าน

มูลไส้เดือน

วิธีทำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ใช้วัสดุอยู่ 3 อย่าง คือ ภาชนะทึบแสง (กะละมัง, ถังพลาสติก) ผ้าคลุมสีดำ และ วัสดุรองพื้น (ขี้เลื่อย, ขุยมะพร้าว) โดยอาหารหรือซากอินทรียวัตถุที่จะใช้เลี้ยงไส้เดือนนั้น นิยมใช้ มูลวัวนม หรือ เศษผักเศษอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอม เป็นหลัก ไม่ควรใช้ผักที่มีเส้นใยหนา หรือ ผักผลไม้ที่มีกรดหรือด่างสูง เช่น ตะไคร้ มะนาว สับปะรด พริก เพราะย่อยสลายยากและอาจส่งผลให้ไส้เดือนระคายผิวได้ โดยในบทความนี้ จะมาแนะนำการใช้กะละมัง เพราะเป็นภาชนะที่สามารถหาได้ทั่วไปในบ้าน หากใครอยากทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ไว้ใช้บำรุงพืช หรือ ผลิตขาย สร้างรายได้แล้วละก็ ตามมาดูกันเลย

อุปกรณ์และวัสดุ

  • ไส้เดือน African Night Crawler
  • มูลวัว
  • เศษผัก
  • ขุยมะพร้าว
  • กะละมังสีดำ
  • ผ้าคลุมสีดำ
  • สว่าน (สำหรับเจาะรู)

วิธีทำ

  1. นำมูลวัวไปแช่น้ำ เพื่อระบายแก็สออก เพราะแก็สจะทำให้บ้านไส้เดือนร้อนได้
  2. หั่นเศษผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ เตรียมไว้ (หากเล็กอยู่แล้ว ไม่ต้องหั่น)
  3. ใช้สว่านเจาะก้นกะละมัง เป็นรูเล็ก ๆ ให้ทั่ว ๆ
  4. โรยขุยมะพร้าวลงไปให้ทั่ว รองพื้นก้นกะละมังเอาไว้ เพื่อไม่ให้ไส้เดือนมุดลงมาได้
  5. ใส่เศษผัก ตามด้วย มูลวัว ที่แช่น้ำแล้วลงไป
  6. นำอาหารจากบ้านเก่าของไส้เดือนลงไปผสม เพื่อสร้างความเคยชินให้กับไส้เดือน จากนั้น รดน้ำให้มีความชุ่มชื้น
  7. นำผ้าคลุมสีดำมาปิดปากกะละมังให้มิดชิด วางไว้ในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  8. จากนั้น ในสัปดาห์ที่ 2 ให้พลิกส่วนข้างล่างขึ้นด้านบน แล้วหมักทิ้งไว้ 1 เดือน พอครบเวลา ก็สามารถนำมาใช้ได้แล้ว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

มูลไส้เดือน วิธีใช้

ปุ๋ยมูลไส้เดือน

หลังจากผลิตมูลไส้เดือนจนพร้อมใช้แล้ว สามารถนำไปใช้งานได้ ทั้งปรับปรุงสภาพดินในแปลงเพาะปลูก หรือ ใส่ปุ๋ยบำรุงพืชให้เจริญเติบโตได้ สามารถใช้ได้กับ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง พืชผักสวนครัวทุกชนิด โดยมีวิธีใช้ ดังนี้

แปลงเพาะปลูก

ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือนลงไปในแปลงเพาะปลูก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินประมาณปีละ 1-2 ครั้ง

ต้นไม้ในกระถาง

โรยโคนต้นไม้ ปริมาณ 200-300 กรัม ต่อต้น ทุก ๆ 7 – 15 วัน หลังใส่ควรพรมน้ำเล็กน้อย เพื่อให้ปุ๋ยจับตัวกัน แล้ว จึงรดน้ำตามปกติ

*** คำแนะนำ

ทุกครั้งหลังการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้ว ควรคลุมดินด้วยเศษหญ้า ฟางข้าว หรือเศษไม้ที่ร่วงอยู่ใต้ต้น แล้วรดด้วยน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน บนเศษหญ้าหรือใบไม้ที่คลุกให้เปียกชุ่ม ซึ่งจะสามารถเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรงดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วย

มูลไส้เดือน มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน หรือ ทำให้ดินมีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี เหมาะสำหรับเป็นปุ๋ยไว้ใช้บำรุงพืชให้เจริญเติบโต ไม่แพ้ปุ๋ยชนิดอื่น ๆ ใครอยากทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ไว้ใช้บำรุงพืช หรือ ผลิตขาย สร้างรายได้แล้วละก็ ลองทำตามได้เลย รับรองว่า จะได้มูลไส้เดือนที่มีคุณภาพออกมาได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่ไม่มีพื้นที่ แล้วอยากทำปุ๋ยมูลไส้เดือนง่าย ๆ ไว้ที่บ้าน แนะนำให้ใช้ ถังหมักเศษอาหาร ถังหมักปุ๋ย ของ SGE ขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนทาน มีช่องปิดทึบ ไม่มีกลิ่นเหม็น ตัวถังสามารถหมุนรอบ 360 องศา ช่วยให้ไส้เดือนย่อยสลายอินทรียวัตถุต่าง ๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยได้ง่าย ผลิตปุ๋ยได้สูงสุดถึง 160 ลิตร สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/product/compost-tumbler/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย


บทความที่น่าสนใจ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด