ยี่หร่า ประโยชน์ พร้อม วิธีปลูกยี่หร่า ไว้ทำอาหารแบบง่าย ๆ
ทำความรู้จัก ยี่หร่า
ยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลแก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ เป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ส่วนดอกออกดอกเป็นช่อ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลมรี เมื่อเมล็ดอ่อนจะสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน
ประเภทของ ยี่หร่า
เพราะยี่หร่าที่เรานำเมล็ดมาคั่วบด ทำเป็นพริกแกง หรือ ผงยี่หร่า ปรุงอาหาร นั้น เป็นคนละชนิดกันกับ ยี่หร่า ที่เรานำใบมาทำอาหารรับประทาน ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ และ ปลูกให้ถูกชนิด เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม โดยประเภทของยี่หร่า แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
- ยี่หร่า ชนิดที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “เทียนขาว” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuminum cyminum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE) มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ เป็นชนิดที่เหมาะกับการนำเมล็ดมาคั่วแล้วบดให้ละเอียด เพื่อใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
- ยี่หร่า ชนิดที่มีชื่อไทยเรียก เช่น จันทร์หอม เนียมต้น เนียม กะเพราญวน โหระพาช้าง เป็นต้น มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Shrubby basil หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum gratissimum L. จัดอยู่ในวงศ์กะเพราเป็นยี่หร่า ที่เหมาะกับการนำใบมาทำอาหาร สำหรับรับประทาน
ประโยชน์ของ ยี่หร่า
1. ใช้ทำอาหารและถนอมอาหาร
ยี่หร่า สามารถนำเมล็ดมาคั่วแล้วโขลกเพื่อทำเป็นพริกแกง สำหรับทำแกงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงมัสมั่น ในส่วนของใบก็สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในแกง ซุป ยำต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังคุณสมบัติในการช่วยถนอมอาหารไว้ได้นานหลายวัน เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยดับกลิ่นคาวและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ จึงมักนำเมล็ดมาตำหรือป่นให้ละเอียด แล้วนำไปหมักกับเนื้อสัตว์ เพื่อยืดอายุวัตถุดิบให้เก็บได้นานขึ้น
2. ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
จากการทดลองในหนูที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อให้สารสกัดยี่หร่า 6 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง พบว่า มีฤทธิ์ช่วย ลดน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดและเนื้อเยื่อ รวมถึงยังช่วยลดการอักเสบของเซลล์ในตับ ทำให้ช่วยป้องกันได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันเกาะตับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือ โรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการศึกษาในมนุษย์ จึงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงกันต่อไป
3. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี
เนื่องจากทั้งเมล็ดและใบยี่หร่ามีน้ำมันหอมระเหยจำนวนมาก จึงส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ย่อยโปรตีนได้ง่าย ลดอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการลำไส้แปรปรวนอื่น ๆ แต่เนื่องจากผลการทดลองเหล่านี้ ยังเป็นงานวิจัยขนาดเล็ก จึงควรรอผลการค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ถึงประโยชน์ในข้อนี้ต่อไป
4. ช่วยลดสารต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร น้ำมันหอมระเหยในยี่หร่า ยังประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หรือ โรคหัวใจ แต่จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ฤดูกาล และสภาพอากาศบริเวณที่เพาะปลูกยี่หร่าด้วย ดังนั้น จึงควรศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลให้ละเอียด หรือ ปรึกษาแพททย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนตัดสินใจใช้ยี่หร่าในการรักษา
5. ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและรักษาสมดุลในร่างกาย
หากทานใบยี่หร่า 100 กรัม จะได้รับฟอสฟอรัสถึง 215 มิลลิกรัม จึงช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลการใช้วิตามินและแร่ธาตุในร่างกายให้เป็นปกติ ที่สำคัญ ยังช่วยให้สุขภาพเหงือกและฟันแข็งแรงอีกด้วย
วิธีปลูกยี่หร่า ด้วยตัวเองที่บ้าน
วิธีปลูกยี่หร่า ทำเองได้ไม่ยาก สามารถปลูกในกระถางได้ เพราะเป็นพืชล้มลุกที่มีขนาดเล็ก โดยสามารถเพาะปลูกได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ เพาะเมล็ด และ การปักชำกิ่ง
- การเพาะเมล็ด
- เตรียมถุงขนาดเล็กใส่ดินและปุ๋ยพอเหมาะ โรยเมล็ดพันธุ์ลงไป รดน้ำสม่ำเสมอ เพื่อเพาะเมล็ดให้เป็นต้นอ่อน
- เตรียมกระถางหรือแปลงดินที่ต้องการปลูก ใส่ดินผสมกับปุ๋ยคอกและกาบมะพร้าวหั่นชิ้นเล็กๆ แล้วขุดเป็นหลุมเล็ก ๆ สำหรับเตรียมย้ายต้นอ่อนมาปลูก
- แยกต้นอ่อนมาปลูก บนดินหรือในกระถางที่เตรียมไว้ จากนั้น รดน้ำเช้า – เย็น สม่ำเสมอ และวางไว้ในที่โดนแดดจัดตลอดทั้งวัน
- เมื่อต้นยี่หร่าเริ่มโต ให้คอยตัดกิ่ง และ เด็ดดอกทิ้ง เพราะถ้าปล่อยดอกไว้ต้นจะโทรม หลัง 20 วันผ่านไป ก็จะแตกใบอ่อนมาเรื่อย ๆ และเริ่มเก็บผลผลิตมาใช้ได้แล้ว
- การปักชำ
- ตัดกิ่งอ่อนต้นยี่หร่ามาปักชำ (ไม่ใช้กิ่งแก่) โดยให้ตัดใต้ข้อ ในแนว 45 องศา เพื่อให้รากแก้วแตกออกได้ง่าย สำหรับความยาว ควรอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร หากกิ่งมีใบเยอะ ให้เด็ดใบออกบ้าง เพื่อลดการคายน้ำของใบ
- เตรียมกระถางหรือแปลงปลูก โดยใช้ขี้เถ้า หรือ ทรายละเอียดผสมแกลบเผาและขุยมะพร้าว เพื่อให้มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี จะช่วยไม่ให้กิ่งเน่า เสร็จแล้ว ขุดเป็นรูเล็ก ๆ สำหรับปักชำกิ่ง
- นำกิ่งมาปักชำลงไป แล้วกลบวัสดุให้แน่น เมื่อปักชำในภาชนะเสร็จแล้ว ให้รดน้ำเช้า – เย็น สม่ำเสมอ และวางไว้ในที่โดนแดดจัดตลอดทั้งวัน (หากเป็นหน้าฝน มีฝนตกชุกก็อาจไม่ต้องรดน้ำบ่อย)
- รอประมาณ 15-20 วัน พืชก็จะเริ่มออกราก ถึงตอนนั้น จึงให้ย้ายไปปลูกในกระถางหรือภาชนะที่เตรียมไว้
ยี่หร่า เป็นเครื่องเทศและวัตถุดิบที่สามารถใช้ทำอาหารไทยได้หลากหลาย โดยเฉพาะแกง ซุป หรือ ต้มยำ ซึ่งด้วยความมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูนั้น ๆ ได้อย่างโดดเด่น ดังนั้น หากใครชอบทำอาหารไทย ไว้รับประทานทีบ้านแล้วละก็ ลองปลูกยี่หร่าด้วยตัวเองที่บ้าน ตามวิธีปลูกที่เรานำมาฝาก รับรองว่า ทำได้ง่าย ๆ เก็บใบและเมล็ดยี่หร่าไว้ทำอาหารได้ตลอดทั้งปีแน่นอน
ซึ่งถ้าหากใครอยากได้ กระถางต้นไม้ คุณภาพดี ไว้ปลูกต้นยี่หร่า เพื่อเก็บใบและเมล็ดไว้ทำอาหาร สามารถลองเข้าไปดู กระถางต้นไม้ ของ SGE ได้ เพราะมีหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบกระถางผ้าและกระถางต้นไม้ ช่วยให้คุณปลูกต้นยี่หร่าที่บ้านไว้ได้อย่างง่ายดาย ราคาเริ่มต้นที่ 9 บาทเท่านั้น ! สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sgethai.com/plant-pot/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย
30 มกราคม 2024
โดย
Pres