“ลูกเกด” มีคุณประโยชน์ กินแล้วดีต่อร่างกายไหม?
เมื่อพูดถึง “ลูกเกด (Raisins)” 🍇 คงไม่มีใครไม่รู้จัก เป็นหนึ่งในอาหารว่างสำหรับช่วงเวลาในการอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือนั่งเม้าท์มอยกับคนสนิท เพราะมีรสชาติดี ยิ่งกินก็เพลิน แต่นอกจากความอร่อยแล้ว ลูกเกดก็ยังให้ประโยชน์ดี ๆ ต่อสุขภาพด้วยเหมือนกัน แต่ลูกเกดจะดีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ตาม SGE ไปรู้จักกับลูกเกดให้มากขึ้นกัน
ลูกเกด คืออะไร?
ลูกเกด คือ องุ่นแห้ง มีหลายประเภท ถูกแบ่งตามพันธ์ขององุ่นที่นำมาทำเป็นลูกเกด เช่น ลูกเกดดำ หรือมีสีเหลืองทอง โดยจะถูกนำมาทำให้แห้งด้วยวิธีต่าง ๆกัน เช่น การผึ่งแดด การผึ่งลม และการทำให้แห้งโดยเครื่องจักร การใช้แสงแดด หรือลม โดยวิธีธรรมชาตินั้น แม้จะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำ แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มกรรมวิธีก่อนการจัดเก็บ คือ การนำลูกเกดที่ได้จากกระบวนการทางธรรมชาตินั้น ไปล้างอีกรอบหนึ่ง และอบแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างการจัดเก็บ โดยในเนื้อของลูกเกดนั้น เมื่อจบกระบวนการเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ลูกเกดนั้น มีปริมาณคาร์โบไฮเดรท ในรูปของน้ำตาลอยู่สูงมาก ทำให้มีรสชาติที่หวาน เหมาะสำหรับการใส่ขนมต่าง ๆ หรือแม้แต่การทำเป็นขนมขบเคี้ยวอีกด้วย
ประเภทของลูกเกด
ลูกเกดแต่ละประเภท จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดขององุ่นที่ใช้ โดย ลูกเกดดำ หรือ Raisin ส่วนใหญ่แล้วจะทำมาจากองุ่นสีเข้ม ซึ่งขนาด และรสชาติของลูกเกดขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ขององุ่นเช่นกัน ทั้งนี้ ลูกเกดดำ มักจะมีเนื้อนุ่ม มีรสชาติหวาน รวมถึงขนาดใหญ่กว่า ซุลตานา (Sultana) และเคอเรนท์ (Currant)
-
Sultana
คือ ลูกเกดสีทอง ทำมาจากองุ่นสีเขียวไร้เมล็ด ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้สายพันธุ์ Thompson Seedless สำหรับ Sultana จะใช้กรรมวิธีที่แตกต่างจากการทำลูกเกดดำ เพราะจะนำลูกเกดมาเคลือบด้วยวัตถุดิบ ที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม รวมถึงใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อช่วยในการเก็บรักษา และทำให้ลูกเกด Sultana มีสีเหลืองทองสวยงาม
-
เคอร์เรนท์ (Currant)
หรือหลายคนอาจจะเรียกว่า Zante Currants โดยลูกเกดประเภทนี้จะมีขนาดที่เล็ก สีเข้ม และมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ส่วนใหญ่จะใช้องุ่นสายพันธุ์ Black Corinth
คุณค่าทางโภชนาการ
มีธาตุฟอสฟอรัส และแคลเซียมสูง รวมทั้งวิตามินที่เป็นประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ทั้งธาตุเหล็ก, แคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูก , โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, ไนอาซิน, โฟลาซิน, ไฟเบอร์ ที่ช่วยในการขับถ่ายสูง และโบรอน ที่ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
ลูกเกดประกอบด้วยน้ำตาลมากถึง 72% ของน้ำหนักซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาล ฟรุกโตส และกลูโคส และยังมีโปรตีนประมาณ 3% และใยอาหาร 3.7–6.8% ลูกเกดก็เหมือนพรุน และแอปริคอท ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่มีวิตามิน C น้อยกว่าองุ่นสด ลูกเกดมีโซเดียมต่ำ และไม่มีคลอเลสเตอรอล
ลูกเกดมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
|
|
|
|
|
ข้อควรระวังในการกินลูกเกด
- ลูกเกดอบแห้ง มีความหวานมาก เพราะให้ทั้งน้ำตาล และแคลอรี่ในปริมาณที่สูง ซึ่งหากรับประทานมากจนเกินความจำเป็น อาจจะเสี่ยงทำให้น้ำหนักพุ่งได้
- ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือมีอาการแพ้ ควรระวังการรับประทานลูกเกดอบแห้ง เพราะในลูกเกดอบแห้ง มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ซึ่งมักจะพบได้ในลูกเกดสีทอง โดยสารดังกล่าวนั้น อาจทำให้ร่างกายไวต่อกำมะถัน ส่งผลให้อาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่กำเริบ หรือแย่ลงได้
- แม้ลูกเกดจะช่วยป้องกันอาการท้องผูก และดีต่อระบบการย่อยอาหาร แต่ลูกเกดนั้น หากกินน้อยก็จะเป็นยาระบาย หากกินมากอาจจะทำให้ท้องเสียหรือท้องร่วงได้
- ลูกเกดอาจมีส่วนช่วยในการจัดการกับความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้จริง แต่ลูกเกดก็เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในลูกเกดที่มีอยู่สูง หากรับประทานมากจนเกินไป อาจมีผลต่อระดับของอินซูลินในร่างกายได้
ส่งท้ายสักนิด 😚 ลูกเกดครึ่งถ้วย ให้พลังงานถึง 216 แคลอรี่ และมีน้ำตาลประมาณ 42 กรัม ลูกเกดไม่ใช่อาหารที่มีพลังงานต่ำ หรือน้ำตาลน้อย แต่ความหวานของลูกเกดเปรียบเทียบได้เท่ากับลูกอม แต่แค่ทำมาจากธรรมชาติเท่านั้นเอง ดังนั้น ไม่ควรทานลูกเกดเยอะไป เพราะถ้าทานเยอะไปก็อาจจะเป็นโทษได้
2 พฤษภาคม 2024
โดย
ลำดวน