วิธีดู วันหมดอายุ EXP, MFG, BBE คืออะไร? และตัวย่อสินค้าที่ควรรู้!
รู้ไหมว่า อักษรย่อบนผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าที่บริโภค เช่น ตัวอักษร MFG / MFD, EXP / EXD, BB / BBE / Reg. No. / ENG ตัวย่อเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างมาก เพราะตัวอักษร ตัวเลขนี้ จะบอกถึง วันหมดอายุ วันผลิต ที่สามารถทาน หรือเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นี้ได้นานแค่ไหน
บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ วิธีดู วันหมดอายุ และตัวย่อต่าง ๆ บนฉลากผลิตภัณฑ์กัน ว่ามีอะไรบ้าง?
ความแตกต่าง วันหมดอายุ และ ควรบริโภคก่อน
ความหมายของ “วันหมดอายุและควรบริโภคก่อน” 2 คำนี้ มีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้
- วันหมดอายุ (EXP) มีตัวย่อ EXP ย่อมาจาก Expiration Date คือ วันที่บ่งบอกถึงวันที่อาหารหมดอายุ หลังจากวันนั้น ไม่ควรเอาอาหารนั้นมาทาน เพราะหลังจากวันนั้นเป็นต้นไป อาหารก็จะเริ่มบูด หรือเน่าเสีย ควรทิ้ง ทันที
- ควรบริโภคก่อน (BBE) มีตัวย่อ BBE ย่อมาจาก Best Before คือ วันที่บ่งบอกว่าอาหารนั้น ยังคงมีคุณภาพ และมีรสชาติที่ดีเหมือนเดิม จนถึงวันที่ระบุไว้ และมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน แต่หลังจากวันนั้นไป รสชาติ คุณภาพ และคุณค่าทางอาหาร จะลดลง แต่ยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากอาหารนั้น ตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารนั่นเอง
รู้ไหมว่า? BBF นอกจากเจอในผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว ยังเจอได้ในสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ และจะแสดงไว้คู่กับวันที่ผลิต โดยเครื่องสำอางค์ประเภทครีม จะต้องดูจากวันที่ผลิต และบวกเวลาไปอีก 2 ปี ส่วนเครื่องสำอางค์ประเภทแป้ง หากไม่เปิดใช้งาน สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 5 ปี
โดยทั่วไป ผู้ผลิตมักจะเลือกใช้คำว่า ควรบริโภคก่อน และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้น ๆ จะเสีย หรือหมดอายุ ดังนั้น วันที่ ที่ระบุหลังคำว่า ควรบริโภคก่อน คือ คำแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารนั้น เพื่อความสด รสชาติ และสารอาหารในอาหารนั้น ๆ ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง หรือลดคุณภาพลง
ตัวย่ออื่น ๆ บน ฉลากผลิตภัณฑ์
อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้บริโภค ควรใส่ใจเป็นพิเศษ ก่อนเลือกซื้อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง หรืออาหารเสริม คือ วันที่ผลิต วันหมดอายุ โดยข้อมูลที่แสดงวันผลิต และวันหมดอายุนั้น จะแสดงเป็นลักษณะของตัวย่อไว้บนบรรจุภัณฑ์ตามที่ต่าง ๆ เช่น ก้นขวด ฝาขวด ข้างขวด เป็นต้น ซึ่งบางคน อาจจะไม่รู้ว่า ตัวย่อเหล่านั้น มีความสำคัญ และมีความหมายอย่างไร ดังนี้
- EXP/ EXD คือ วันหมดอายุ โดย EXP ย่อมาจาก Expiry Date และ EXD ย่อมาจาก Expiration Date
- BB/ BBE/ BBF คือ ควรบริโภคก่อนวันที่ ย่อมาจาก Best Before/ Best Before End/ Best Before Use
- MFG/ MFD คือ วันที่ผลิต ย่อมาจาก Manufacturing Date หรือ Manufactured Date
- Batch No. คือ เลขที่ครั้งที่ผลิต ย่อมาจาก Batch Number มักจะอยู่บนผลิตภันฑ์ประเภทยา ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน
- L & C. No คือ เลขที่ครั้งที่ผลิต และควบคุมคุณภาพ ย่อมาจาก Lot and Control Number มีความหมายคล้ายกับ Batch No. ซึ่งจะแสดงเป็นลักษณะตัวย่อไว้บนบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ฝาขวด ก้นขวด หรือข้างขวด เป็นต้น
- Reg.No. คือ เลขที่ทะเบียนยา ย่อมาจากคำว่า Registered Number ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน
- A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
- B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ
- C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง
ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมาย ดังนี้
- เลข 1 คือ ยาเดี่ยว มีตัวยาสำคัญตัวเดียว
- เลข 2 คือ ยาสูตรผสม มีตัวยาสำคัญหลายตัว
ตัวอักษรข้างหลัง คือ ลำดับที่ขึ้นทะเบียน/ ปี พ.ศ. ที่ได้ขึ้นทะเบียน
ยกตัวอย่าง Reg. No. 2A 214/29 หรือ เลขทะเบียนยาที่ 2A 214/29 คือ ยาแผนปัจจุบัน ผลิตในประเทศ เป็นยาสูตรผสม ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นลำดับที่ 214 ในปี 2529
อาหารแต่ละประเภท มีอายุโดยประมาณเท่าไร?
อาหารแต่ละแบบ มักจะมีวันหมดอายุของสินค้าที่เราสามารถคำนวณได้คร่าว ๆ ดังนี้
- ไข่ สำหรับไข่ที่เก็บในที่แห้งและเย็น (อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส) จะอยู่ได้นานประมาณ 3-5 สัปดาห์
- อาหารกระป๋อง มักจะอยู่ได้ประมาณ 1 ปีนับจากวันที่ผลิต
- ขนมปัง หากเก็บขนมปังไว้ในอุณภูมิปกติ จะสามารถอยู่ได้ 3-5 วัน แต่ถ้าเก็บในช่องแช่แข็ง จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์
- ซีเรียล หากยังไม่เปิดกล่อง และนำไปแช่เย็นไว้ จะสามารถเก็บซีเรียลไว้ได้นานถึง 6 เดือนถึง 1 ปี **หากพบว่า มีสี หรือรสชาติเปลี่ยนไป ควรหยุดทานได้เลย
อาหารที่หมดอายุ แต่ทานได้ โดยไม่มีอันตราย
ไม่แนะนำให้ทานอาหารที่หมดอายุ เช่น
- ช็อกโกแลต จะไม่มีการระบุ วันหมดอายุ สามารถทานได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย แม้ผ่านพ้นวันที่ควรบริโภคไปแล้ว และสามารถเก็บได้นานมากว่า 2 ปี สำหรับช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของนม จะเก็บได้นาน 1 ปี เมื่อเก็บไว้นาน อาจจะเกิดคราบขาว สามารถทานได้ เพราะเป็นไขมันจากขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลตนั่นเอง
- ขนมกรุบกรอบ ที่เปิดทานแล้วมีกลิ่นหืน สามารถพรมน้ำมัน และนำไปอบ ขนมจะยังสามารถกลับมากรอบ และทานได้ แต่หากหมดอายุนานเกินไปแล้ว ควรทิ้งได้เลย
- โยเกิร์ต คือ นมที่ผ่านการหมักด้วยจุลินทรีย์ หากโยเกิร์ตหมดอายุไปแล้ว ก็ยังสามารถทานต่อได้อีกช่วงเวลาหนึ่ง
- ไข่ หากเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าวันหมดอายุที่กำหนดไว้
- นม เมื่อเก็บนมไว้ที่อุณภูมิต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส จะช่วยยืดอายุของนมให้ยาวนานขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้างกับบทความ วันหมดอายุ ที่เรานำมาฝากกัน ไม่ว่าอาหารบางชนิด จะสามารถรับประทานได้แม้จะเลยวันหมดอายุแล้ว หากไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานก็ให้ทิ้งไป จะเกิดผลดีมากกว่านั่นเอง
บทความแนะนำ
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน
คำว่า LOT หล่ะคะ ย่อมาจากอะไร
คำว่า Lot คือ รหัสที่ใช้ระบุกลุ่มสินค้าที่ผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน หรือบอกรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับสินค้าชิ้นนั้น ระบุว่าสินค้าผลิตล็อตไหน วันไหน กลุ่มการผลิตใด ทำหน้าที่ในการระบุที่มาที่ไปของสินค้า บอกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ และกลุ่มการผลิต จะเห็นบ่อยในฉลากผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ค่ะ คนไทยจะชินคำว่า lot ส่วนอเมริกานั้นจะเรียก batch นั่นเองค่ะ
ขื้นว่า bf คืออะไรคะ before ใช่มั้ยคะ
คำว่า BF ก็คือ BEST BEFORE ความหมายเดียวกับ BB/ BBE/ BBF คือ ควรบริโภคก่อนวันที่ … ซึ่งบางทีบนผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบางรายการอาจจะเขียนไม่เหมือนกันค่าาาา
ข้อมูลเข้าใจง่ายค่ะ ภาพประกอบชัดเจน ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ
ยินดีมากๆเลยค่าา ข้อมูลตรงไหนผิดพลาดไปบ้างขออภัยไว้ด้วยนะคะ
แจกแจงได้ละเอียดเข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุณครับ
ยินดีมากๆเลยค่ะ ฝากแชร์ต่อด้วยนะคะ
มีประโยชน์มากๆเลยครับ
ยินดีมากๆค่าาา
มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ชอบจำสับสนอยู่บ่อยๆ อ่านบทความนี้แล้วเข้าใจชัดเจนขึ้นเยอะเลยค่ะ
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ฝากแชร์ต่อด้วยนะคะ