สรรพคุณน่ารู้ของ เห็ดหอม ที่มากกว่าความอร่อย!
สารบัญ
เห็ดหอม หนึ่งในเห็ดยอดนิยม ที่คนไทยนำมารับประทานทั้งแบบสดและแบบแห้ง โดยนำไปประประยุกต์ให้เข้ากับอาหารหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ SGE จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ เห็ดหอม รวมถึง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการทานเห็ดหอม ว่ามีอะไรบ้าง? ไปดูกัน!
เห็ดหอม (Shiitake Mushroom)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่อสามัญ
Shiitake Mushroom
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Lentinula
ถิ่นกำเนิด
ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
เห็ดหอม (Shiitake Mushroom) มีแหล่งกำเนิดที่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มฟังไจ (fungi) ประเภทเห็ด (mushroom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus edodes (Berk.) Sing. ลักษณะเด่นของเห็ดชนิดนี้ คือกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม ชาวจีนนิยมนำมาใช้เป็นประโยชน์เป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากในเห็ดหอมมี วิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามินบี กรดอะมิโน ซิลิเนียม กรดโฟลิค สังกะสี วิตามินดี อุดมอยู่เป็นจำนวนมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเห็ดหอม
ก้านดอก
ส่วนที่ชูหมวกดอกโดยมีส่วนโคนติดอยู่กับเปลือกไม้ เป็นส่วนที่มีเนื้อเยื่อแข็งแรงกว่าส่วนอื่น สีของก้านดอกบริเวณโคนจะมีสีนวลหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นสีขาว หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยก้านดอกนี้มักจะอยู่บริเวณกึ่งกลางของดอกเห็ด
วงแหวน
เป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ สีขาว ที่เมื่อดอกเห็ดยังอ่อนอยู่ เนื้อเยื่อส่วนนี้จะยึดติดกับก้านดอกและขอบหมวกดอก เพื่อปกป้องครีบดอกเห็ดให้เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเมื่อครีบดอกโตเต็มที่แล้ว เนื้อเยื่อส่วนนี้ก็จะถูกดึงขาดออกไป แต่จะมีส่วนหนึ่งที่ยังติดอยู่โดยรอบกับก้านดอกส่วนบน โดยรอบนั้นจะถูกเรียกว่า “วงแหวน” นั่นเอง
หมวกดอก
ส่วนที่เจริญเติบโตออกมาจากปลายก้านดอก โดยหมวกเห็ดหอมระยะแรกจะมีรูปทรงเป็นครึ่งวงกลมคล้ายร่มกาง และเมื่อโตเต็มที่แล้วดอกเห็ดจะกางแผ่กว้างหรือมีลักษณะป้านลง บริเวณด้านบนของหมวกดอกค่อนข้างแห้งผิวแตกเป็นลาย ถ้าปลูกบนพื้นที่ที่มีความชื้นสูงและได้รับแสงมาก หมวกดอกจะออกสีน้ำตาลเข้ม แต่ถ้าปลูกบนพื้นที่ที่มีความชื้นต่ำและอุณหภูมิต่ำ ก็จะได้เห็ดหอมที่มีสีขาวและผิวดอกแตกชัดจนเห็นเนื้อภายในสีขาว
ครีบ
เป็นส่วนที่เจริญเติบโตติดกับหมวกดอกด้านล่าง โดยจะเรียงตัวเป็นแนวยาวตามขอบหมวกเห็ด ซึ่งส่วนครีบจะแยกเป็นอิสระจากก้านดอก มีหน้าที่สร้างสปอร์สำหรับการสืบพันธุ์
สายพันธุ์ของเห็ดหอม
เห็ดหอม ที่เรากินกันในปัจจุบัน สามารถนำมาแยกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1 เห็ดหอมลาย
1 เห็ดหอมลาย
- หมวกดอกมีผิวแตกเป็นลายชัด สีซีด หมวกดอกมีเนื้อหนา ไม่แผ่กาง และมีก้านดอกสั้น
- เจริญเติบโตในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นจัด ความชื้นต่ำ สภาพอากาศแห้ง
- นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด
- ถือเป็นเห็ดหอมที่มีคุณภาพดีและแพงที่สุด
2 เห็ดหอมหนา
2 เห็ดหอมหนา
- หมวกดอกเนื้อหนา สีเข้ม มีลายแตกไม่ชัดมากนัก ก้านดอกยาวกว่าเห็ดหอมลายเล็กน้อย
- เจริญเติบโตในฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นจัด แต่มีความชื้นในอากาศสูง
- นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด
3 เห็ดหอมบาง
3 เห็ดหอมบาง
- ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเนื้อแผ่นบาง สีเข้ม มีลายแตกไม่ชัดมากนัก ขอบหมวกดอกบาน ก้านดอกยาวกว่าชนิดอื่น
- เจริญเติบโตก่อนหรือหลังฤดูหนาว
- นิยมนำมารับประทานทั้งแบบเห็ดหอมแห้งและเห็ดหอมสด
- สามารถเพาะปลูกได้ในภาคเหนือ หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของไทยได้
ข้อมูลโภชนาการของเห็ดหอม
ข้อมูลโภชนาการของเห็ดหอมสด ในปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | เห็ดหอม |
---|---|
แคลอรี (kcal) | 34 กิโลแคลอรี่ |
ไขมันทั้งหมด 0.5 กรัม | 1 % |
ไขมันอิ่มตัว | 0 กรัม |
คอเลสเตอรอล | 0 % |
โซเดียม 9 กรัม | 1 % |
โพแทสเซียม 304 กรัม | 9 % |
คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม | 3% |
เส้นใยอาหาร 2.5 กรัม | 10% |
น้ำตาล 2.4 กรัม | |
โปรตีน 2.2 กรัม | 5% |
แคลเซียม | 0 % |
เหล็ก | 2 % |
วิตามินดี | 5 % |
วิตามินบี 6 | 15 % |
แมกนีเซียม | 5 % |
ไทอามิน | 1 % |
ไรโบพลาวิน | 13 % |
ไนอาซิน | 19 % |
ซิงค์ | 7 % |
ฟอสฟอรัส | 11 % |
แหล่งข้อมูลประกอบ: Calforlife
ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ดหอม
เห็ดหอมมีประโยชน์ต่อร่างกายและเต็มไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ช่วยต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และประโยชน์ของเห็ดหอมยังมีอีกมากมาย ดังต่อไปนี้
ประโยชน์ของเห็ดหอมมีดังนี้
- ลดระดับคอเลสเตอรอล สารอิริตาดีนีนเป็นกรดอะมิโนที่มีในเห็ดหอม มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่าเห็ดหอมสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ และยังมีสารสเตอรอล ที่จะช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ได้ดี
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เห็ดหอมมีสารเบต้ากลูแคน ที่จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง โดยจากการศึกษาพบว่า การรับประทานวันละ 5-10 กรัม ติดต่อกันประมาณ 4 สัปดาห์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นจริง
- ช่วยบำรุงสมอง เห็ดหอมมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองหลากหลายชนิด จึงช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง และเสริมสร้างความจำได้อย่างดีเยี่ยม
- เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เห็ดหอมถือเป็นแหล่ง Vitamin D ชั้นดีที่ได้รับมาจากธรรมชาติ เชื่อว่าหากทานแล้วช่วยรักษาสุขภาพของกระดูก โดยแหล่งวิตามินดีนี้ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก
- รักษาโรคมะเร็ง มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหอมร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง และช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็งด้วยเช่นกัน โดยรายงานดังกล่าวยังอยู่ในช่วงทดลองกับอาสาสมัครทั่วไป
ข้อควรระวังในการทานเห็ดหอม
- ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating disease) โรคลูปัส (SLE) หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน “เห็ดหอม” เนื่องจากโรคที่กล่าวมาเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบความผิดปกติภูมิคุ้มกัน เกรงว่าการทานเห็ดหอมจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจองร่างกายให้ทำงานหนักยิ่งขึ้น และทำให้โรคกำเริบได้
- ผู้ป่วยที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลสูงกว่าปกติ (Eosinophilia) ห้ามรับประทานเห็ดหอม เพราะอาจทำให้อาการของโรคยิ่งแย่ไปกว่าเดิม
และไม่ควรนำน้ำแช่ที่ได้จาก “เห็ดหอมแห้ง” ไปใช้งานเนื่องจากมีความเสี่ยงที่ว่ากระบวนในการทำเห็ดหอมแห้งนั้นอาจจะมีการชุบสารเคมีบางอย่างที่มีความอันตราย เช่น กำมะถัน กรดเกลือ โดยอาจจะมีสารตกค้างในเห็ดอย่างเช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์
แนะนำเมนูเห็ดหอม
เห็ดหอม เป็นเห็ดอีกชนิดที่คนไทยนิยมรับประทาน เพราะสามารถนำเอาไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู บทความนี้ก็ไม่ลืมที่จะ เอาไอเดียเมนูเห็ดหอมมาฝากกันด้วย ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย
3 ต้มจับฉ่ายหมูสามชั้น
ต้มจับฉ่ายเป็นชื่อภาษาจีน แปลตรงตัว คือ ผัก 10 อย่าง ขั้นตอนการทำคือนำผักหลาย ๆ อย่างมาต้มผสมกัน อาจไม่จำเป็นต้องใส่ผักครบทั้ง 10 อย่างก็ได้ เมนูนี้เหมาะกับการเคลียร์ตู้เย็นมาก ๆ ใครสายตุนแต่ไม่รู้จะทำเมนูอะไร ลองเมนูนี้เลย!
วัตถุดิบ: หมูสามชั้น, กะหล่ำปลี, เห็ดหอม, ผักกวางตุ้ง, …
วิธีการนำเห็ดหอมมาบริโภคอย่างปลอดภัย
- หากเป็น เห็ดหอมแห้ง ควรเลือก ดอกหนา มีรอยแตกๆ สีขาวลึกกระจายทั่วดอก ควรแช่น้ำร้อนอย่างน้อย 10 – 15 นาที เมื่อแช่น้ำร้อนเสร็จแล้ว ควรเทน้ำแช่เห็ดหอมทิ้งทันทีไม่ควรนำน้ำมาใช้ประกอบอาหารต่อ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดสารตกค้างจำพวก คาร์บอนไดซัลไฟด์
- ส่วน เห็ดหอมสด สามารถเลือกดอกเห็ดที่มีความสด และสะอาด และควรเลือกซื้อจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ
จบไปแล้วสาระดี ๆ ของเห็ดหอม เห็ดที่เอาไปใส่กับเมนูไหนก็อร่อย ทำทานเท่าไหร่ก็ไม่มีเบื่อแน่นอน หากใครอยากจะปลูกขายก็ทำได้ไม่ยากอีกด้วย ลองนำเคล็ดลับดี ๆ ที่เรามาแชร์วันนี้ไปลองทำกันดู ใครที่ชอบบทความสาระดี ๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตามกันได้ในบทความหน้านะคะ~
25 มีนาคม 2024
โดย
จันทร์เจ้า