อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-01

6,395 Views

คัดลอกลิงก์

รวมมาให้ “อาหารบำรุงเลือด” ป้องกันโลหิตจาง พร้อมเมนูแนะนำ

อย่างที่รู้กันว่า โรคโลหิตจาง สาเหตุหลัก ๆ เกิดมาจากการขาด ธาตุเหล็ก ในร่างกายนั่นเอง แล้วจะมีวิธีแก้ไขในเรื่องนี้ได้อย่างไร บทความนี้ SGE จะมาแนะนำ อาหารบำรุงเลือด ว่ามีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

ธาตุเหล็ก คือ?

ธาตุเหล็ก (Iron) มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมากในการผลิตฮีโมโกลบิน ไมโอโกลบิน และเอนไซม์บางชนิด และมีความจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญของวิตามินบี โดยทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส วิตามินซี มีความสำคัญอย่างมาก ต่อการดูดซึมของธาตุเหล็ก แต่วิตามินอี และสังกะสีที่มีมากเกินไป จะขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กเสียเอง ธาตุเหล็กที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายนั้น มักจะถูกดูดซึมเข้ากระเลือดได้เพียงแค่ 8% เท่านั้น

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-02
  • แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ หอยกาบ หอยนางรม ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ลูกพีชแห้ง ถั่วต่าง ๆ ข้าวโอ๊ต กากน้ำตาล หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา มะกอก กระถิน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม ในร่างกายจะมีธาตุเหล็กประมาณ 4 กรัม แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ คือ ประมาณ 10-15 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ศัตรูของธาตุเหล็ก ได้แก่ ฟอสโฟโปรตีนในไข่ และสารไฟเทตในขนมปังโฮลวีตที่ไม่ได้หมักฟู
  • โรคจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า มีร่างกายอ่อนเพลีย ผิวพรรณดูไม่สดใส ผิวซีด

ประโยชน์ของธาตุเหล็ก

  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • ช่วยเสริมความต้านทานต่อการเจ็บป่วย
  • ช่วยป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ช่วยทำให้สีผิวพรรณดูเรียบเนียน

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

ประเภท อาหารบํารุงเลือด มีอะไรบ้าง?

เครื่องในสัตว์

ธาตุเหล็ก มีอยู่ในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ตับหมู 100 กรัม มีธาตุเหล็ก 10.5 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง อย่าง พริกหวาน บรอกโคลี มะเขือเทศ จะยิ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่ง

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-02

ทับทิม

ทับทิม เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และแร่ธาตุมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย การรับประทานทับทิม จะบรรเทาอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้า อีกทั้งทับทิมยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งมีประโยชน์ต่อเลือดอีกด้วย

ใบกะเพราแดง

ใบกระเพราแดง มีธาตุเหล็กสูง ใบกะเพราแดงปริมาณ 100 กรัม มีธาตุเหล็กอยู่ 15 มิลลิกรัม ซึ่งธาตุเหล็ก จะช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และป้องกันโรคโลหิตจาง

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-04

ผักเคล

ผักเคล มีธาตุเหล็กในปริมาณค่อนข้างสูง และสูงกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และยังมีวิตามินเค ที่จะช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดี เลือดลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้เซลล์เติบโต บำรุงการทำงานของตับ อีกทั้งวิตามินเคยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี

ขิง

ขิงจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน เพียงแค่รับประทานสารสกัดจากขิง หรือดื่มน้ำขิงร้อน ๆ วันละ 3-4 ครั้ง ตั้งแต่วันที่เริ่มมีประจำเดือน และรับประทานอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-05

งาดำ

งาดำ ผู้ที่มีปัญหาหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด ควรรับประทานงาดำ เพราะมีธาตุเหล็กที่จะช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด  และป้องกันเกล็ดเลือดที่จะเกาะตัวกันเป็นลิ่ม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

แนะนำ 10 เมนูอาหารบำรุงเลือด

  • ยำผักกูดกุ้งสด

เป็นอีกหนึ่งเมนู ที่โดดเด่นทั้งเรื่องรสชาติ และสุขภาพที่ดีต่อการบำรุงเลือด ผักกูด ซึ่งเป็นพืชผักที่ให้ธาตุเหล็กสูงสุด ๆ ที่ 36.3 มิลลิกรัม และแน่นอนว่ากุ้งน้ำจืดให้ธาตุเหล็กที่ 69.8 มิลลิกรัม จึงเป็นเมนูบำรุงเลือด ธาตุเหล็กสูง ที่ไม่ควรพลาด

ผักกูด 100 กรัม มีปริมาณธาตุเหล็กถึง 36.3 กรัม ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง จึงเป็นผักที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่บริจาคเลือดเป็นประจำ

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-06
  • น้ำพริกกะปิ

น้ำพริกกะปิรสเด็ดเผ็ดจัดจ้านถ้วยเดียว อุดมไปด้วยธาตุเหล็กมากมาย เพราะกะปิ ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 31.8 มิลลิกรัม ตามด้วยมะเขือพวง 43 มิลลิกรัม และ ดอกแค 5.3 มิลลิกรัม ถึงเมนูนี้จะบำรุงเลือดมากก็จริง แต่ก็ควรทานแต่พอดี เพราะความเค็ม อาจจะส่งผลต่อไต และไม่ดีต่อสุขภาพ ถ้าทานอย่างขาดสติ

อ่านบทความ: รวม 4 สูตร น้ำพริกกะปิ อร่อยไม่ซ้ำ เก็บได้นาน ทำขายก็รวย

  • กุ้งผัดบรอกโคลี

กุ้งน้ำจืดให้ธาตุเหล็กสูงสุดถึง 69.8 มิลลิกรัม ถือว่าเป็นแหล่งอุดม ธาตุเหล็ก ชั้นเยี่ยมจากแม่น้ำที่หาทานได้ง่าย  ยิ่งถ้าได้เข้าคู่กับผักสีเขียวกรุบกรอบอย่างบรอกโคลี ที่ให้ธาตุเหล็กเบา ๆ ที่ 0.73 มิลลิกรัม ถือว่าทานตัดรสชาติกันได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับคนที่แพ้กุ้ง

อ่านบทความ: ประโยชน์ บรอกโคลี ต้านโรคหลากชนิด เปรียบดั่งยาอายุวัฒนะ

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-07
  • ต้มยำไก่ใส่เห็ดฟาง

เมนูรสแซ่บถูกอกถูกใจคนไทย คงหนีไม่พ้นต้มยำซดคล่องคอ อร่อยกลมกล่อม กับเนื้อไก่นุ่ม ๆ ที่ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 16.9 มิลลิกรัม และเห็ดฟาง ให้ธาตุเหล็กมากถึง 22.2 มิลลิกรัม อีกทั้งถ้ายังได้เลือดไก่ มาช่วยเติมเต็มความอร่อย ที่ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 23.9 มิลลิกรัมอีกด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
  • ตับผัดพริกหวาน

หลายคนคงรู้กันดีว่า กินตับแล้วเลือดลมดี แม้รสชาติอาจไม่ถูกปากคนไม่ชอบทานเครื่องใน แต่มันก็ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 10.5 มิลลิกรัม ยิ่งถ้าทานควบคู่กับการผัดกับพริกหวาน ยิ่งเพิ่มรสชาติให้แซ่บ อร่อย แถมพริกหวาน เป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 17.2 มิลลิกรัม เลยทีเดียว

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-08
  • ต้มเลือดหมูตำลึง

อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก บำรุงเลือด ที่พลาดไม่ได้ แค่ชื่อก็บอกอยู่ว่า ต้มเลือดหมู ด้วยน้ำซุปหวาน ๆ หอม ๆ ทานง่ายคล่องคอ ปรุงรสชาติได้ตามใจชอบ หาซื้อหาทานกันง่าย ทุกย่านต้องมีต้มเลือดหมูรสเด็ดซักร้าน เพียงแค่เลือดหมูก็ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 25.9 มิลลิกรัม อีกทั้งเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมูสับ หมูชิ้น ก็ให้ธาตุเหล็กอยู่ที่ 2.1 มิลลิกรัม ยังไม่รวมใบตำลึงที่ให้ธาตุเหล็กที่ 4.6 มิลลิกรัม เมนูฮิตคนเลือดจางต้องกิน

อ่านบทความ: สูตร “ต้มเลือดหมู” ใส่ทั้งตำลึง และจิงจูฉ่าย น้ำซุปเข้มข้น อร่อยกลมกล่อม

  • ไก่ผัดขิง

อาหารไทยบ้าน ๆ ทานได้ทุกครัวเรือนอย่างเมนู ไก่ผัดขิง เมนูคุณประโยชน์ทางโภชนาการครบถ้วน หากปรุงจากเนื้อไก่บ้านส่วนสะโพก ก็จะให้ธาตุเหล็กสูงถึง 16.9 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ส่วนที่ผัดขิง ใส่วัตถุดิบต่าง ๆ เพิ่มเติม ก็ล้วนแต่มีประโยชน์ และเพิ่มรสชาติให้คุณสุขภาพดี และอร่อยในมื้อเดียว

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-09
  • ปลาผัดขึ้นฉ่าย

เมนูอาหารสไตล์จีน เมนูปลาผัดขึ้นฉ่าย อาหารเสริมธาตุเหล็กสุดอร่อย กลมกล่อม ทานง่าย หอมขึ้นฉ่ายคลุกเคล้ากับเนื้อปลา ทานกับข้าวสวยร้อน ๆ ซักถ้วย มื้อนี้แค่ผักขึ้นฉ่ายอย่างเดียว ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 13.7 มิลลิกรัมเลยนะ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

  • ธัญพืชและซีเรียล

อาหารจำพวกธัญพืช เช่น งาดำ ถั่วดำ ข้าวโอ๊ต เมล็ดฟักทอง ถั่วแดง ล้วนเป็นอาหารที่ให้ธาตุเหล็กสูง เช่น ในถั่วแดง ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 44.6 มิลลิกรัมแล้ว เหมาะสำหรับการเป็นมื้ออาหารทานเล่น ขบเคี้ยวระหว่างนั่งทำงาน หรือผู้ที่ไม่นิยมทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารจำพวกนี้เป็นทางเลือกที่อยากแนะนำ

อ่านบทความ: คุกกี้ธัญพืช วิธีทำแสนง่าย อัดแน่นคุณประโยชน์เพียบ!

อาหารบำรุงเลือด-ป้องกันโลหิตจาง-10
  • ไข่ต้มยางมะตูม

รู้ไหมว่าในไข่แดง ล้วนแต่เป็นแหล่งธรรมชาติของธาตุเหล็กสูง ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี และหารับประทานได้ง่าย โดยเฉพาะตัวไข่ไก่แดง ก็ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 6.3 มิลลิกรัม

อ่านบทความ: How to วิธีต้มไข่ ขั้นเทพ ใครต้มก็อร่อย

เกร็ดความรู้ส่งท้าย

โลหิตจาง คืออะไร?

เลือดจางหรือ ภาวะซีด ที่พบได้บ่อยโดยทั่วไป เกิดจากปริมาณของเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่ามาตรฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่เป็นภาวะนี้ มีอาการที่แสดงออกมาหลากหลายตามสาเหตุ และความรุนแรง เช่น

  • ตัวซีดหรือเหลือง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบากเมื่อต้องใช้แรง
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • เป็นลมหมดสติ

ในบางราย อาจมีอาการของเลือดจางในระดับรุนแรง โดยจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจจนหัวใจล้มเหลว ในขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ เลือดจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการเสียเลือดอย่างฉับพลัน หรือร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยจากการขาดสารอาหารสำคัญอย่างธาตุเหล็ก เป็นต้น

โลหิตจาง ห้ามกินอะไรบ้าง?

เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยโลหิตจางต้องกินอาหาร เพื่อลดการขาดสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง จึงมีอาหารบางประเภท ที่อาจขวางกั้นการดูดซึมอาหารเหล่านั้นที่ควรหลีกเลี่ยง คือ

  • อาหารที่ไม่ควรทานพร้อมกัน : หากทานยาเสริมธาตุเหล็ก ไม่ควรทานพร้อมกับการดื่มนม ไม่ควรดื่มชากาแฟหลังมื้ออาหารที่ทานผักใบเขียว
  • อาหารที่ผู้ป่วยเลือดจางควรหลีกเลี่ยง : ผักใบเขียวเข้มรสฝาด ทั้งสมุนไพร ขี้เหล็ก ขมิ้นชัน กระถิน เป็นต้น รวมถึงต้องจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้ว ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน

นอกจากการทานอาหารแล้ว ผู้ป่วยเลือดจาง สามารถดูแลตนเองผ่านการออกกำลังกายได้ด้วยแต่ต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้องก่อนทุกครั้ง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่อง ธาตุเหล็ก อาหารบำรุงเลือด ที่เรานำมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม การทานอาหารครบ 5 หมู่ ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ส่งผลต่อสุขภาพที่ดี และป้องกันการเกิดโรคภัยตามมาในภายหลังด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด