แคลเซียมโบรอน ประโยชน์ พร้อมวิธีทำ ไว้ปลูกผักผลไม้ เร่งโตตลอดทั้งปี
แคลเซียมโบรอน ประโยชน์ มีอะไรบ้าง SGE มีคำตอบ พร้อมพาคุณมาดูวิธีทำแคลเซียมโบรอนแบบง่าย ๆ
ไว้ปลูกผักผลไม้ ได้เองที่บ้าน ใครอยากรู้ว่า ทำอย่างไรแล้วละก็ ห้ามพลาด!
แคลเซียมโบรอน คือ
แคลเซียมโบรอน คือ ธาตุอาหารรอง ที่พืชต้องการ ประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิด คือ แคลเซียม ซึ่งเป็นธาตุหลัก และ โบรอน ซึ่งเป็นธาตุรอง โดยพืชจะใช้แคลเซียมโบรอนในการแบ่งเซลล์ และ กระบวนการภายในเซลล์ ทำให้พืชติดดอกออกผล เติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง
หากพืชขาดธาตุอาหารชนิดนี้ไป จะส่งผลให้ยอดอ่อนไม่เจริญเติบโต ถ้ามีก็ยอดอ่อนตาย ใบไม้บิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลง ไม่เรียบและแห้ง ใบมีจุดประขาวอยู่บนใบส่วนยอด ดูคล้ายอาการยอดด่าง ส่วนผล ขั้วผลจะไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย และ มีจุดดำที่ก้นของผล
แคลเซียมโบรอน ประโยชน์
1. ช่วยให้พืชเติบโตได้เร็วขึ้น
เพราะแคลเซียมมีส่วนช่วยในการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และ ยังนำคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่เก็บรักษาเอาไว้ในต้นพืช มาใช้ในการแบ่งเซลล์ เสริมสร้างเซลล์ต่าง ๆ ทำให้พืชแทงยอดอ่อน แตกกิ่งก้านสาขา เติบโตในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น
2. ช่วยในการออกดอกและผสมเกสร
แคลเซียมโบรอน ช่วยสร้างตาดอก ขยายตาดอก และ ยังมีส่วนช่วยในการสร้างรังไข่ ขยายรังไข่ในดอกให้สมบูรณ์ ช่วยให้พืชออกดอกและผสมเกสรได้ดีขึ้น
3. ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล
เมื่อพืชได้รับแคลเซียมโบรอน จะช่วยลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ทำให้พืชติดดอกออกผล ดอกของไม้ดอกไม้ประดับ ผลไม้ชนิดต่าง ๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. เพิ่มคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกร
โบรอนช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการกระบวนสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ หากนำมาใช้ในการปลูกผักผลไม้ จะส่งผลให้ผักกินใบสีเขียวสวย ผลไม้ต่าง ๆ มีรสชาติ ขนาด และ น้ำหนักที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกร
5. ช่วยให้ผลไม้นอกฤดูเติบโตได้ตามปกติ
การปลูกผลไม้นอกฤดู พืชจะต้องใช้แคลเซียมมากกว่าปกติ ในการคายน้ำ หากใช้แคลเซียมโบรอน จะช่วยให้พืชคายน้ำได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผลไม้นอกฤดูสามารถเติบโตได้ตามปกติ สร้างผลผลิตให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี
วิธีทำแคลเซียมโบรอน ไว้ใช้เองที่บ้าน
เพราะแคลเซียมโบรอน มีประโยชน์มาก ๆ ในการปลูกผักปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะปลูกผลไม้นอกฤดู หากใครไม่อยากเสียเงินซื้อแคลเซียมโบรอน อยากประหยัดต้นทุนในการทำเกษตรแล้วละก็ ลองทำตามวิธีนี้ได้เลย รับรองว่า คุณจะได้แคลเซียมโบรอนที่มีคุณภาพ ไว้บำรุงพืชได้อย่างง่าย ๆ แน่นอน
อุปกรณ์และวัตถุดิบ
- ปุ๋ยสูตร 15-0-0 ที่มีส่วนผสมของแคลเซียมไนเตรท 4 ช้อนโต๊ะ
- กรดบอริก4 ช้อนชา
- แมกนีเซียมซัลเฟต2 ช้อนชา
- น้ำเปล่า2 ลิตร
- ขวดพลาสติก ขนาด 5 ลิตร 2 ขวด
- ซีอิ๊วดำ4 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
- เตรียมขวดพลาสติก ขนาด 5 ลิตร 2 ขวด จากนั้น เทน้ำเปล่าลงไป ขวดละ 1 ลิตร
- เติมกรดบอริก 4 ช้อนชา ลงในขวดพลาสติกขวดที่ 1 ปิดฝาขวด แล้วเขย่าให้กรดบอริกละลาย
- เติมแมกนีเซียมซัลเฟต 2 ช้อนชา ลงในขวดพลาสติกขวดที่ 2 ปิดฝาขวด แล้วเขย่าให้แมกนีเซียมซัลเฟตละลาย
- เติมปุ๋ยสูตร 15-0-04 ช้อนโต๊ะ ลงในขวดพลาสติกขวดที่ 1 ปิดฝาขวด แล้วเขย่าให้ปุ๋ยละลาย
- จากนั้น เทส่วนผสมทั้ง 2 ขวดรวมกัน แล้วเติมซีอิ๊วดำลงไป ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ เขย่าให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จ
แคลเซียมโบรอนใช้ตอนไหน
การใช้แคลเซียมโบรอนบำรุงพืช ควรเริ่มใช้ตั้งแต่ตอนพืชเริ่มเจริญเติบโต และ ช่วงที่เริ่มติดดอกออกผล โดยช่วงเวลาที่เหมาะกับการให้แคลเซียมโบรอน คือ ก่อน 9 โมงเช้า และ หลัง 4 โมงเย็น ทั้งนี้ หากอากาศแห้งหรือร้อนจัด ควรรดน้ำก่อน เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมธาตุโบรอนได้ง่าย
สำหรับช่วงที่ควรงดการใช้แคลเซียมโบรอน ก็คือ ในช่วงฝนตกชุก เพราะฝนจะชะล้างแคลเซียมโบรอนออกไปจนหมด รวมถึง หลังใส่ปูนทุกชนิดด้วย เพราะความเป็นด่างของปูนจะทำให้โบรอนไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ควรทิ้งช่วงห่างประมาณ 30 วันขึ้นไป จึงค่อยใส่อีกครั้งหนึ่ง
แคลเซียมโบรอนฉีดกี่วันครั้ง
หากเป็นช่วงที่ต้นยังเล็กอยู่ ให้ผสมแคลเซียมโบรอนกับน้ำเปล่า ในอัตราส่วน 4 ช้อนชา ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 15 วัน หากออกดอกหรือติดผลแล้ว ให้ผสมแคลเซียมโบรอนกับน้ำเปล่า ในอัตราส่วน 8 ช้อนชา ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 15 วัน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ประโยชน์ของ แคลเซียมโบรอน ที่ SGE นำมาฝาก คงจะทำให้หลายคนอยากทำไว้ใช้เอง เพื่อเร่งให้พืชเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิตของตนเองเลยใช่ไหมล่ะ ดังนั้น หากใครอยากทำไว้ใช้เองแล้วละก็ ลองทำตามได้เลย รับรองว่า ปลูกผักผลไม้ทั้งในฤดู หรือ นอกฤดูก็ได้ เร่งโตได้ตลอดทั้งปีแน่นอน
บทความที่น่าสนใจ
30 มกราคม 2024
โดย
Pres
ใช้ในสวนนางพาราช่วงเปิดได้มั้ยครับ มีผลดีหรือผลเสียอัไรบ้างเหมาะสมหรือเปล่า
ไม่แนะนำใช้กับยางพาราค่ะ เพราะแคลเซียมโบรอน จะนิยมกับพืชผลจำพวกผลไม้มากกว่าค่ะ เพราะช่วยในเรื่องการติดดอกออกผล หากจะใช้กับยางพารา แนะนำให้ใช้เป็น โพแทสเซียม เพราะจะช่วยเสริมเรื่องการผลิตน้ำยาง กับ ไนโตรเจน สำหรับการสร้างเซลล์หน้ายางจะดีกว่าค่ะ