ไขสงสัย กินอาหารทะเล เสี่ยงโควิด จริงหรือไม่?

จากกรณีผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเริ่มต้นมาจากหญิงชาวไทยวัย 67 ปี อาชีพค้าขายกุ้งและปลาอยู่ในตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งทำให้ตลาดถูกปิดไป 1 วันเพื่อทำการควบคุมและฆ่าเชื้อ ภายหลังเมื่อเปิดให้บริการตามปกติแล้วแต่ผู้ซื้อก็ยังบางตา จนเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วหลายจังหวัด รวมถึง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ประกาศ พบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 11 ราย อยู่ระหว่างการแจ้งโรค ล่าสุดติดเชื้อระลอกใหม่สะสม รวม 20 รายแล้ว ทำให้ประชาชนเกิดอาการวิตกกังวลว่า กินอาหารทะเล จะทำให้ติดเชื้อโควิดหรือไม่ หรือกลัวว่าเชื้อโควิดจะปนเปื้อนในอาหารหรือเปล่า วันนี้ SGE มีคำตอบค่ะ


#มาทบทวนความรู้เรื่อง เชื้อไวรัสโคโรน่า สักหน่อย

ก่อนจะไปพูดเรื่องการ กินอาหารทะเล บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1965 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการแสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV) ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ

เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) พบได้ทั่วโลก โดยในเขตอบอุ่น (temperate climates) มักพบเชื้อโคโรนาไวรัสในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ การติดเชื้อโคโรนาไวรัสอาจทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ถึงร้อยละ 35 และสัดส่วนของโรคไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสอาจสูงถึงร้อยละ 15อาจ การติดเชื้อพบได้ในทุกลุ่มอายุ แต่พบมากในเด็ก อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้ เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการติดเชื้อ สำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (SARS CoV) พบการระบาดปี พ.ศ. 2546 โดยพบเริ่มจากประเทศจีนแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลกพบรายงานผู้ป่วยโรคซาร์สทั้งสิ้นมากกว่า 8,000 ราย และเสียชีวิตมากกว่า 750 ราย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่


#ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาครคือ?

ตลาดกลางกุ้ง เป็นที่รู้จักกันในนาม “ตลาดพม่า“ เนื่องจากมีแรงงานชาวเมียนมามาทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนพระราม 2 (ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ) ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป็นตลาดใหญ่แหล่งรวมของ กินอาหารทะเล กุ้งจากแพปลาต่างๆ มาขายให้ผู้ค้ารายย่อยที่จะมาเลือกซื้อกุ้งไปขายต่อยังตลาดสดต่างๆ โดยกุ้งจะถูกคัดแยกขนาดและขายในราคาต่างๆ กัน ในแต่ละวันก็จะมีผู้ค้ารายย่อยจากทั่วสารทิศเดินทางมาเลือกซื้อกุ้งนานาชนิดไปขายต่อ

เมื่อวันที่ (23 ธันวาคม 2563) ไทยพีบีเอส รายงานว่ามีการ ประกาศล็อกดาวน์ 14 วัน ในจังหวัด สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม สั่งปิดสถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ยกเว้นแผนกอาหาร ให้ซื้อกลับไปกินที่บ้าน ส่วน อ.สองพี่น้อง ที่จังหวัดสุพรรณบุรี งดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปิดพื้นที่เสี่ยง เร่งคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ได้ให้เร็วมากที่สุด

SGE-Covid

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


#สรุปว่า กินอาหารทะเล เสี่ยงติดโควิด
-19 หรือไม่?

สาเหตุนี้ทำให้สังคมกังวลใจว่า การรับประทานอาหารทะเลที่มาจาก ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร จะสามารถทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ วันนี้ SGE รวบรวมข้อมูลให้คลายสงสัยแล้วค่ะ

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไปได้เผยข้อสงสัยนี้ว่าการ กินอาหารทะเล มีโอกาสเสี่ยงน้อย ที่จะเกิดการปนเปื้อนเชื้อโควิดใน อาหารทะเล แต่เพื่อเป็นการป้องกัน แนะนำให้กินอาหารสุกร้อน หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งนี้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ กินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว และล้างมือ รวมถึงการ สวมหน้ากากเมื่อไปในที่ชุมชน หรือที่แออัด ก็จะสามารถป้องกันโควิทได้เช่นกัน

ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้เผยมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด เพื่อให้ประชาชนมั่นใจกับมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค โดยการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ รวมถึงการยกระดับมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาด ตามสถานการณ์ในแต่ละวัน เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่เกิดกับประชนชนในจังหวัดสมุทรสาครให้ได้มากที่สุด

SGE-Covid


#การแพร่ระบาดของโรคเกี่ยวข้องกันกับการ กินอาหารทะเล ไหม?

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็ว เราอาจติดเชื้อได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง เพราะฉะนั้นการติดโรคโควิดไม่ได้เกี่ยวข้องกันกับอาหารทะเล

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


#การติดเชื้อของ ไวรัสโคโรน่า มีแบบไหนบ้าง
:

👉 การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Coronaviruses) อาจทำให้เกิดอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ โดยในทารกที่มีอาการรุนแรง อาจมีลักษณะของปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ในเด็กโตอาจมีอาการของหอบหืด (Asthma) ส่วนในผู้ใหญ่ อาจพบลักษณะปอดอักเสบ (Pneumonia) หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) หรือการกลับเป็นซ้ำของโรคหอบหืดได้ และอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้มากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการได้ในทุกอายุ และหากแสดงอาการ
มักพบร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น Rhinovirus, Adenovirus หรือเชื้ออื่นๆ

👉 การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SAR CoV) จะพบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ แล้วมีอาการไอ และหอบเหนื่อยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราตายจะสูงขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว

👉 การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Coronaviruses) มักพบบ่อยในเด็กแรกเกิด และทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี หรืออาจพบในผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยพบเชื้อได้แม้ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ และไม่มีฤดูกาลการเกิดโรคที่แน่นอน


แม้ว่าสถานการณ์โควิด ยังมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกและยังไม่มีการคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
แต่การเตรียมการเพื่อป้องกันและรับมือสามารถทำได้ทุกคน อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก รีบไปแพทย์ทันที

SGE ห่วงใยทุกคน ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ 👉 สามารถติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่