รู้จัก การปักชำ ขยายพันธุ์พืช แบบง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้
การปักชำ คืออะไร
การปักชำ คือ การนำส่วนต่างๆ ของพืชที่ต้องการปลูก ได้แก่ กิ่ง ราก ใบ มาปลูกต่อในภาชนะใหม่ โดยจะใช้ดินหรือน้ำ เป็นวัสดุสำหรับปลูกก็ได้ เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นเกิดรากและแตกต้นใหม่ขึ้นมา สามารถใช้วิธีนี้ปลูกได้กับพืชทุกชนิด ส่วนใหญ่จะนิยมนำ กิ่ง หรือ ใบ ของพืชนั้น มาปักชำมากที่สุด เพราะจะทำให้ได้ต้นไม้ใหม่ โดยไม่ทำให้ต้นไม้เดิมเสียหาย
พืชชนิดไหนบ้าง ที่เหมาะกับการปักชำ
พืชทุกชนิด สามารถนำมาปักชำได้ทั้งหมด แต่ที่เหมาะที่สุดก็คือ ไม้ประดับ เพราะเน้นปลูกเพื่อความสวยงาม และ ปลูกในกระถางภายในบ้าน ทำให้ไม่ต้องการส่วนรากที่แข็งแรง โดยที่นิยมได้แก่ ไฮเดรนเยีย โกสน เล็บมือนาง เทียนทองมะลิ โมก ชบา พู่เรือหงส์ เปเปอโรเมีย ไผ่ฟิลิปปินส์ ด่างพุดพิชญา เล็บครุฑ โฮย่า ลั่นทม ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ฯลฯ รวมถึงต้นไม้ที่ไม่ติดเมล็ดหรือติดเมล็ดยาก เช่น เข็ม ชบา มะลิ ฯลฯ
ส่วนพืชที่ไม่เหมาะกับการปักชำ ได้แก่ พืชในกลุ่มไม้ยืนต้นบางชนิด ที่มีลักษณะสูงใหญ่ เช่น ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ มะขาม มะค่าโมง จามจุรี ตะแบกนา ฯลฯ เพราะการปักชำ จะทำให้ไม่มีรากแก้ว ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการโค่นล้มได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพืชไม้ยืนต้นหลายชนิด ที่สามารถปลูกได้ด้วยการปักชำ ไม่ว่าจะเป็น พะยูง แคนา หรือ สะเดา ขึ้นอยู่กับพืชชนิดนั้น ๆ ด้วย ว่าจะงอกช้า หรือ งอกเร็ว หากต้องการนำพืชในกลุ่มไม้ยืนต้น มาปลูกด้วยวิธีการปักชำ จึงควรศึกษาเพิ่มเติมว่า ชนิดนั้น ๆ เหมาะกับการปลูกด้วย การปักชำ หรือไม่
ขั้นตอนการปักชำ แบบง่าย ๆ
1. การปักชำใบ
สามารถทำได้ถึง 3 แบบด้วยกัน คือ การปักชำแผ่นใบ การปักชำใบที่มีก้านใบ และ การปักชำใบที่มีตาติด ซึ่งวิธีการเลือกนั้น ให้เลือกตามชนิดของพืช ว่าเหมาะสมกับวิธีไหน โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้
1.1 การปักชำแผ่นใบ
-
- เลือกใบที่แก่ มาตัดเป็นท่อนยาว 2 – 3 นิ้ว
- วางในวัสดุปักชํา ได้แก่ ดิน หรือ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 ปักลึก ½ – ¾ ของความยาวของใบที่มาปักชํา
- รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ จะเกิดต้นและรากใหม่บริเวณฐานของใบที่ปักชํา ส่วนโคนของใบเก่าจะค่อย ๆ แห้งตาย
*วิธี้นี้เหมาะกับพืชเช่น ต้นลิ้นมังกร ต้นบีโกเนีย
1.2 การปักชำใบที่มีก้านใบ
-
- เลือกใบที่อยู่ช่วงกลางของต้น ไม่ควรใช้ใบแก่หรือใบอ่อน ตัดใบให้มีก้านใบยาวประมาณ 1 นิ้ว
- ปักชําก้านใบลงในวัสดุปักชํา หันหน้าไปทางเดียวกัน อย่าให้ขอบใบชนกัน
- รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ จะเกิดต้นและรากใหม่ตรงปลายของก้านใบ
*วิธี้นี้เหมาะกับพืชเช่น ต้นอัฟริกันไวโอเล็ต ต้นกล็อกซีเนีย
1.3 การปักชำใบที่มีตาติด
-
- เลือกใบ ที่ขึ้นตามข้อกิ่ง ซึ่งมีตาสมบูรณ์และแข็งแรง จากนั้น ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัดเป็นแนวเฉียงประมาณ 45 องศาออกมา
- ปักชำในวัสดุปลูก ลึกประมาณ 0.5-1.0 นิ้ว
- รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ จะเกิดรากและยอดขึ้นมาใหม่ตรงบริเวณข้อกิ่ง
*วิธี้นี้เหมาะกับพืชเช่น ยางอินเดีย กุหลาบพันปี คาเมเลีย เบญจมาศ แบล็คเบอรี่ เมเปิล
2. การปักชำราก
- เลือกรากจากต้นอายุน้อย แล้วตัดรากออกเป็นท่อน ๆ โดยความยาวของท่อนราก จะขึ้นอยู่กับขนาดของราก เช่น รากขนาดใหญ่ให้ตัดยาวท่อนละ 2-6 นิ้ว รากขนาดเล็กให้ตัดยาวท่อนละ 1-2 นิ้ว
- เวลาตัดราก ควรตัดปลายรากให้เฉียงและด้านบนเป็นรอยตัดตรง จะได้สังเกตทิศทางการเกิดต้นและรากได้ง่าย
- ปักชำในวัสดุปลูก ลึกประมาณ 0.5-1.0 นิ้ว เวลาปักชำ ให้ปักปลายรากแนวเฉียงลงดิน หันด้านตัดตรงขึ้น
- รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ จะต้นใหม่ขึ้นมา
*วิธี้นี้เหมาะกับพืชเช่น กาสะลอง สาเก ขนุน หม่อน ฝรั่ง มะเดื่อ มะขามป้อม แคลิฟอร์เนียป๊อปปี้
3 การปักชำกิ่ง
- ตัดกิ่งแบบเฉียงประมาณ 45 องศา โดยที่ 1 ก้านใหญ่ สามารถตัดแยกกิ่งเล็กๆ ได้อีกหลายกิ่ง
- นำกิ่งที่ตัดมาแล้วปักลงในวัสดุปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าใบของต้นไม้นั้น ๆ เยอะเกินไป ให้เด็ดทิ้งออกบ้าง เพื่อลดการคายน้ำ
- ไว้ในที่ร่มประมาณ 7-10 วัน แล้วรดน้ำให้ดินชุ่มสม่ำเสมอ รอรากงอกแล้วย้ายไปปลูกในภาชนะอื่นได้เลย (หากต้องการเร่งให้รากงอกไว ๆ แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติกคลุมไว้ตลอดเวลา)
*วิธี้นี้เหมาะกับพืชเช่น สายน้ำผึ้ง ชบา เฟื่องฟ้า วาสนา หลิว มะเดื่อ องุ่น ทับทิม
การย้ายต้นไม้ และ ข้อควรระวังในการปักชำ
หลังจากปักชำไปแล้วสักพัก หากปักชำลงในกระถางหรือภาชนะสำหรับปลูก แล้วสังเกตว่า มีใบแตกออกมาจำนวนมาก หรือ มีรากงอกออกมาแล้ว ไม่ควรย้ายต้นไม้ออกมาทันที ให้ค่อย ๆ ย้ายต้นไม้ขึ้นจากวัสดุปลูกทีละนิด เพื่อให้ต้นไม้ปรับตัว จากนั้น จึงย้ายปลูกในแปลง หรือ กระถางตามต้องการ
โดยดินที่ใช้ปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย หรือ ดินร่วน ด้วยการผสมกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุยมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 2:1 หรือ 1:1 เมื่อเตรียมวัสดุเพาะเสร็จ ให้บรรจุใส่กระถางดินเผา กระถางผ้า กระถางพลาสติก หรือ อาจก่ออิฐบล็อกกั้นเป็นแปลงเพาะชำ หรือ ทำการยกร่องแปลงสูง ด้วยการใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้
ส่วนข้อควรระวัง คือ ช่วงที่ต้นไม้แตกใบใหม่ๆ ไม่ควรรดน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้รากเน่าได้ หากรู้เคล็ดลับเพียงแค่นี้ ก็จะทำให้คุณสามารถปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ด้วย การปักชำ ได้แล้ว
การปักชำ ถือเป็นการขยายพันธุ์พืชที่ทำได้ง่าย และ สามารถใช้วิธีการปลูกนี้กับพืชได้แทบทุกชนิด อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะเหมาะกับไม้ประดับ รวมถึงไม้ยืนต้นบางชนิดเท่านั้น หากสนใจอยากปลูกพืชชนิดไหนเป็นพิเศษ ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่า พืชชนิดนั้น ๆ เหมาะกับการปักชำหรือไม่ เพื่อให้สามารถปลูกต้นไม้นั้น ๆ ให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่สนใจ อยากได้ภาชนะสำหรับปลูกใน การปักชำ ที่ประหยัด เคลื่อนย้ายง่าย และระบายอากาศได้ดี ขอแนะนำ กระถางผ้า ของ SGE ผลิตจากผ้าใยชนิดพิเศษ ใช้งานทนทาน ช่วยให้อากาศถ่ายเทเข้า-ออกได้ดี ดินมีความชุ่มชื้น ช่วยเร่งรากและทำให้พืชที่เกิดจาก การปักชำ เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/plant-pot/
30 มกราคม 2024
โดย
Pres