พลาสติกคลุมดิน มีกี่ประเภท ใช้ด้านไหน ทำจากวัสดุใดดีที่สุด
พลาสติกคลุมดิน มีกี่ประเภท ใช้ด้านไหน ทำจากวัสดุใดดีที่สุด SGE มีคำตอบ ใครกำลังมองหาพลาสติกคลุมดิน
ไปใช้คลุมดิน ทำการเกษตร แล้วอยากรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรชนิดนี้ ให้มากขึ้นแล้วละก็ ไม่ควรพลาด !
พลาสติกคลุมดิน มีกี่ประเภท
1. พลาสติกคลุมดินแบบแผ่นฟิล์ม
หรือที่เรียกว่า Mulching Film ทำจากกลุ่มพลาสติก PE + สารสะท้อนแสง ลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม มีความหนา 40 – 30 ไมครอน มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี ช่วยป้องกันแสงแดดได้ดีขึ้น สามารถกักเก็บความชื้น ช่วยให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอ แบ่งย่อยลงมาได้อีก 2 ประเภท คือ 1. ฟิล์มคลุมดินจากพลาสติกทั่วไป 2. ฟิล์มคลุมดินเพื่อระบบนิเวศ โดยฟิล์มชนิดหลัง สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ สำหรับพลาสติกคลุมดินแบบแผ่นฟิล์มนั้น จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 1 – 2 รอบของผลผลิต
2. พลาสติกคลุมดินแบบแผ่นพลาสติกสาน
ทำจากพลาสติก PE PP HDPE ลักษณะเป็นเส้นใยพลาสติก นำมาทักถอเป็นแผ่นพลาสติกสาน ส่วนใหญ่ทำเป็นแผ่นสีดำทั้ง 2 ด้าน เพื่อป้องกันแสงแดดไม่ให้ลอดผ่านได้ หากมีด้านหนึ่งเป็นสีเงิน จะมีการเคลือบสาร Anti – UV ทำให้ช่วยสะท้อนแสงแดด ลดความร้อนได้ดีขึ้น รวมถึงยังช่วยยืดอายการใช้งานของพลาสติกได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยพลาสติกคลุมดินแบบแผ่นพลาสติกสาน จะมีอายุการใช้งานอย่างต่ำอยู่ที่ 1 – 2 ปี สูงสุด 5 – 8 ปี ขึ้นไป
พลาสติกคลุมดิน ใช้ด้านไหน
การปูพลาสติกคลุมดิน หากเป็นพลาสติกคลุมดินสีดำ จะปูด้านใดก็ได้ แต่ถ้าเป็นพลาสติกคลุมดิน 2 ด้าน ที่มีสีดำด้านหนึ่ง สีเงินด้านหนึ่ง ควรปูโดยเอาสีเงินขึ้นด้านบน แล้วเอาสีดำลงด้านล่าง เพราะด้านสีเงินจะมีการเคลือบสาร Anti – UV ซึ่งจะช่วยสะท้อนแสงแดด ลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิของดินได้ดี อีกทั้งสีเงินที่สะท้อนออกมา ยังจะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช ไม่ให้เข้าใกล้ได้อีกด้วย สำหรับด้านสีดำนั้น ก็จะช่วยป้องกันแสงแดดอีกชั้นหนึ่ง ทำให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะช่วยให้การใช้พลาสติกคลุมดินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พลาสติกคลุมดิน ทำจากวัสดุใดดีที่สุด
ในส่วนของ พลาสติกคลุมดินแบบแผ่นฟิล์ม หรือ Mulching Film หากเลือกแบบฟิล์มคลุมดินเพื่อระบบนิเวศจะดีที่สุด เพราะนอกจากจะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ด้วยความที่ผลิตจากแป้ง เช่น แป้งข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยังจะกลายเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช
สำหรับพลาสติกคลุมแบบแผ่นพลาสติกสาน เลือกใช้แบบ PP จะดีที่สุด เนื่องจากน้ำสามารถซึมผ่านได้ มีความหนาแน่นสูงถึง 240 g/m2 ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน 10 ขึ้นไปเลยทีเดียว รองลงมาคือ HDPE เนื่องจากมีความหนาแน่นสูงกว่าพลาสติก PE ทั่วไปนั่นเอง
ข้อดี – ข้อเสียพลาสติกคลุมดิน
ข้อดีพลาสติกคลุมดิน คือ ไม่ต้องดูแลรักษา อายุการใช้งานยาวนาน ใช้งานง่าย สะดวก ทำให้สามารถปูพลาสติกในแปลงผัก แปลงเพาะปลูก ยาว ๆ ได้เลย แต่ ข้อเสียพลาสติกคลุมดิน ก็คือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และ หากขายเป็นม้วน จะมีราคาค่อนข้างแพง ทำให้มีต้นทุนในการเพาะปลูกสูง
เพราะ พลาสติกคลุมดิน เป็นชนิดของ ผ้าคลุมดิน ที่มีขายกันตามท้องตลาดมากที่สุด และ ยังเป็นที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดอีกด้วย ดังนั้น หากใครกำลังมองหาพลาสติกคลุมดิน ไปใช้คลุมดิน ทำการเกษตร ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดแล้วละก็ ลองอ่านแล้วนำไปประกอบการตัดสินใจได้เลย เชื่อว่าจะช่วยให้คุณเลือกผ้าคลุมดินได้อย่างเหมาะสม ไม่มากก็น้อย
สำหรับใครที่อยากใช้พลาสติกคลุมดิน นำไปใช้คลุมดินในแปลงผัก สวน หรือ ไร่นา เพื่อช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น ช่วยควบคุมวัชพืช ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี แล้วละก็ ขอแนะนำ ผ้าคลุมดิน ของ SGE ผลิตจากพลาสติก PP และ พลาสติก HDPE มีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน ทนความร้อนได้สูงถึง 100 – 150 องศา สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 5 – 10 ปี มีทั้งแบบวงกลม และ แบบม้วนสี่เหลี่ยม นำไปประยุกต์ใช้ในหลุมปลูก หรือ แปลงผักของตัวเองก็ได้ สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sgethai.com/landscape-fabric/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ Line ของเราได้เลย
บทความที่น่าสนใจ
30 มกราคม 2024
โดย
Pres