220729-Content-มะรุม-ผักพื้นบ้านชั้นดีของไทย-สรรพคุณและประโยชน์มากมาย01

2,809 Views

คัดลอกลิงก์

มะรุม ผักพื้นบ้านชั้นดีของไทย สรรพคุณและประโยชน์มากมาย

ต้นมะรุม เป็นพืชผักพื้นบ้าน ที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป ตามริมรั้ว เป็นสมุนไพรท้องถิ่น นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจาก ทั้งส่วนยอดอ่อน ใบสด ผลอ่อน และผลแก่ สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ตาม SGE ไปรู้จักกับ มะรุม ให้มากขึ้นกัน

มะรุม คือ?

เป็นพืชผักพื้นบ้านชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย มีมากที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา มีไปจนถึงแถบเอเชียไมเนอร์ และแอฟริกา เป็นไม้ที่ปลูกง่ายในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และปักชำกิ่ง

220729-Content-มะรุมผักพื้นบ้านชั้นดีของไทย-สรรพคุณและประโยชน์มากมาย02

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้นมะรุม

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีลักษณะเพลาตรง สูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้น มีสีขาวอมเทา มีตุ่มขนาดเล็กขึ้นกระจายทั่ว เนื้อไม้จัดเป็นไม้เนื้ออ่อน มีสีเหลือง เบา กิ่งมีลักษณะเพลาตรง เนื้อไม้ของกิ่งเปราะหักง่าย

  • ใบมะรุม

ออกเป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20-40 เซนติเมตร ออกเรียงสลับใบย่อยยาว 1-3 เซนติเมตร รูปไข่ ปลายใบ และฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสีขาว ใบอ่อน มีแผ่นใบด้านบนมีสีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างสีซีดกว่า ส่วนใบแก่ จะมีสีเขียวเข้ม ทั้งนี้ แผ่นใบทั้งใบแก่และใบอ่อน มีลักษณะอ่อนนุ่ม มีรสมัน

  • ดอกมะรุม

มะรุมออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือบริเวณตายอด ตามกิ่ง และลำต้น แต่ส่วนมาก จะพบออกบริเวณปลายกิ่งเป็นหลัก ประกอบด้วย ก้านช่อดอกหลัก ที่มีก้านช่อดอกย่อยออก เยื้องสลับกัน ตามความยาวของก้าน ช่อดอกหลัก บนก้านช่อดอกย่อยประกอบด้วย ดอกย่อยจำนวนหลายดอก

  • ผลมะรุม ผลมะรุม

เรียกว่า ฝัก มีลักษณะเป็นแท่ง ค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ขั้วผลกว้างมน ท้ายผลแหลม ผลอ่อนมีเปลือกผลสีเขียว มีลักษณะเป็นร่องชัดเจนบิดโค้งเล็กน้อยตามความยาวของฝัก เนื้อฝักแน่นและกรอบ เมล็ดด้านในยังอ่อน ดังนี้

  • ฝักแก่ จะมีเปลือกผลเหนียว สีเขียวเข้ม มีลักษณะเป็นเหลี่ยม และมองเห็นเป็นร่องตื้น ๆ บนฝัก นอกจากนั้น เปลือกผล ยังมีลักษณะนูนสลับกันตรงจุดที่มีเมล็ด ทั้งนี้ เมื่อผลแก่จัด ผลจะแห้ง เปลี่ยนเป็นสีขาวอมเทา และปริแตก ทำให้เมล็ดหล่นลงพื้นได้
  • ส่วนเมล็ดมะรุม จะอยู่ด้านในฝัก เมล็ดในฝักอ่อน จะมีขนาดเล็ก และอ่อนนุ่ม เมล็ดในฝักแก่ จะมีขนาดใหญ่ เปลือกเมล็ดมีลักษณะกรอบ มีรสหวานมัน สามารถรับประทานได้ แต่หากเมล็ดในฝักแก่ จะมีสีน้ำตาล ขนาดเมล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดแข็ง มีปีกบาง ๆ สีขาวหุ้ม 3 ปีก ส่วนจำนวนเมล็ด จะขึ้นอยู่กับความยาวของฝัก ซึ่งอาจพบเมล็ดได้กว่า 10-20 เมล็ด

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สรรพคุณ และประโยชน์ของมะรุม

สรรพคุณทางยา

  • ราก: ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ, ช่วยขับลม, แก้อาการปวดข้อ แก้ข้ออักเสบ, แก้โรคท้องมาน
  • ลำต้น และเปลือกลำต้น: ใช้เป็นยาขับลม ช่วยควบคุมธาตุอ่อน, ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ, แก้ฝีตามร่างกายต่าง ๆ, ช่วยแก้อาการไอ แก้อาการหอบหืด, ใช้เป็นยาแก้กระสาย
  • ยอดอ่อน และใบสด: ช่วยรักษาอาการของโรคตับ และม้ามต่าง ๆ, ช่วยขับนิ่วในไต
  • ดอก: ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจม, ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, ช่วยลดพิษ จากการรับประทานหอยมีพิษบางชนิด เช่น พิษของหอยทะเล
  • ฝัก และเมล็ด: ช่วยบรรเทาอาการไข้, แก้อาการขัดเบา
  • น้ำมันมะรุม: ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้, ใช้เป็นยาทาภายนอก, แก้อาการฟกช้ำดำเขียว, แก้อาการปวดข้อ, แก้โรครูมาติซัม

ประโยชน์ด้านอาหาร

  • ยอดอ่อน และใบสด มีความนุ่ม มีรสมัน ใช้รับประทานสด หรือลวก หรือต้มสุก ใช้รับประทานคู่กับกับข้าว เช่น น้ำพริก แจ่วบอง เมนูลาบ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น ใช้ประกอบอาหารในหลายเมนู เช่น ผัดผัก ผัดใส่ไข่ แกงอ่อม แกงเลียง และแกงจืด เป็นต้น หรือจะนำมาดอง เป็นผักดอง ใช้รับประทานคู่กับกับข้าวได้
  • ฝักอ่อน ไม่ต้องลอกเปลือก นำมารับประทานสด หรือต้มสุกคู่กับกับข้าวได้
  • ฝักแก่ นำมาปอกเปลือกด้านนอกออก ให้เหลือเฉพาะเนื้อเปลือก และเมล็ด นำมาประกอบอาหารหลายเมนู ด้วยการหั่นเป็นชิ้น ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เช่น แกงส้ม ซึ่งนิยมมากที่สุด ทางภาคกลาง
  • ทั้งยอดอ่อน และใบสด นำมาตากแห้ง เพื่อแปรรูปเป็นผงใบมะรุม สำหรับชงเป็นชาดื่ม หรือแปรรูปเป็น น้ำผักใบมะรุม ดื่มก็ได้
220729-Content-มะรุมผักพื้นบ้านชั้นดีของไทย-สรรพคุณและประโยชน์มากมาย03

ประโยชน์ด้านสมุนไพร ความงาม และยารักษาโรค

  • ยอดอ่อน และใบสด นำมาตากแห้ง ใช้ชงเป็นชาดื่ม ช่วยบรรเทา และรักษาโรคหลายด้าน
  • เมล็ด นำมาสกัดน้ำมัน สำหรับใช้เป็นยาทารักษาภายานอก เช่น แก้อาการฟกช้ำ รวมถึงนำน้ำมัน มาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด
  • สารสกัดจากใบ ดอก และเมล็ด นำมาใช้เป็นยา หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งใช้ในรูปของการรับประทาน และใช้ในรูปของเครื่องสำอาง สำหรับทาผิวภายนอก เช่น ครีมช่วยลดริ้วรอย และครีมบำรุงผิว เป็นต้น

ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม

  • ยอดอ่อน และใบสด นำมาตากแห้ง และใช้ผสมในอาหารสัตว์ ทั้งสุกร เป็ด ไก่ และโคกระบือ
  • กากจากเมล็ดมะรุม หรือเมล็ดมะรุม ใช้ผสมในอาหารสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และพลังงาน

ประโยชน์ด้านการใช้สอยในครัวเรือน

  • กิ่ง และเนื้อไม้จากลำต้น ใช้เป็นไม้ฟืน หุงต้มอาหารได้
  • กิ่ง สามารถนำมาปักชำ เป็นแถวยาว ใช้ปักชำให้แตกต้นใหม่ เพื่อเป็นแนวรั้วของบ้าน หรือตามไร่นา ซึ่งจะได้ยอดอ่อนเก็บรับประทานได้ด้วย

สร้างเสริมรายได้

ยอดอ่อน และใบสดของมะรุม ถือได้ว่าเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมในระดับต้น ๆ เพราะให้รสมันอร่อย ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงพบเห็นการขายยอดมะรุมในทุก ๆ ตลาดทั่วทุกจังหวัด ทำให้เป็นรายได้เสริมในครัวเรือน ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีการพัฒนาปลูกมะรุม เพื่อการค้าเป็นหลักในหลายพื้นที่ด้วย

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

การปลูกมะรุม ทำได้อย่างไรบ้าง?

ต้นมะรุม สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการปักชำ

220729-Content-มะรุมผักพื้นบ้านชั้นดีของไทย-สรรพคุณและประโยชน์มากมาย04

1. การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ดจนได้ต้นกล้า วิธีนี้ เป็นที่นิยมเช่นกัน แต่หากปลูกเพื่อการค้า จะไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากลำต้นสูงใหญ่ แต่มีวิธีทำให้ต้น เล็ก และเก็บยอดได้ต่อเนื่องเช่นกัน การเพาะต้นกล้าจากเมล็ด ทำได้โดย

  • นำเมล็ดจากฝักแก่ที่แห้งแล้วมาเพาะเมล็ด ทั้งอาจเพาะลงถุงเพาะชำโดยตรง หรือเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะก่อน
  • ใช้ดินร่วนผสมกับแกลบดำ หรือปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:2 แล้วบรรจุใส่ถุงเพาะชำ ขนาด 4×6 นิ้ว
  • นำเมล็ดมะรุม หยอดลงหลุมลึก ประมาณ 1 นิ้ว จำนวน 1-2 เมล็ด แล้วรดน้ำให้ดินชุ่ม และรดทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  • จากนั้น 7-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก และหลังเมล็ดงอกประมาณ 50-60 วัน ก็พร้อมนำต้นกล้าลงแปลงปลูกได้

2. การปักชำกิ่ง

การปักชำกิ่ง เป็นวิธีขยายพันธุ์ และใช้ปลูกที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นวิธีปลูกที่พัฒนา เพื่อการจำหน่ายยอดเป็นหลัก เนื่องจาก สามารถทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดเวลา สามารถเก็บยอดอ่อนรับประทาน หรือจำหน่ายได้ภายในไม่กี่เดือน การปักชำกิ่ง สามารถปักชำลงถุงเพาะชำก่อนหรือปักชำลงแปลงปลูกที่เตรียมดินไว้แล้วก็ได้เช่นกัน ทำได้โดย

  • คัดเลือกกิ่งพันธุ์ มะรุม ขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร ตัดยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร
  • จากนั้น ปักลงถุงเพาะชำ หรือแปลงปลูกในแนวตรง ปักลึกประมาณ 10 เซนติเมตร
  • รดน้ำ และดูแลต่อเนื่อง ซึ่ง ต้นมะรุม จะเริ่มแตกยอดใหม่ ประมาณ 20-30 วัน

อ่านบทความ : รู้จัก การปักชำ ขยายพันธุ์พืชง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้

การปลูกลงแปลง ให้ปลูกเป็นแถวในระยะระหว่างต้นในช่วง 50-60 เซนติเมตร เว้นระยะระหว่างแถว ประมาณ 1.5-2 เมตร หรือสามารถเว้นให้เดินได้ระหว่างแถว และอาจปลูกเป็นแถวคู่ หรือแถวสาม และเว้นช่องทางเดิน ก็ได้เช่นกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก : technologychaoban.com, puechkaset.com

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด