ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก

2,086 Views

คัดลอกลิงก์

วิธี ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก เก็บกิน เก็บขายได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้กระถาง

ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก อย่างไร ให้ ผักสลัด ใบเขียวสวย พุ่มใหญ่ เก็บกิน เก็บขายได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้กระถาง
SGE มีวิธีปลูก แบบใช้ดิน และ ไม่ใช้ดิน มาฝาก ใครอยากรู้ว่า ทำอย่างไร ตามมาดูกันเลย

ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก ชนิดใดได้บ้าง

ผักสลัด

อยากปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก สามารถปลูกได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ด กรีนคอรัล เรดคอรัล กรีนคอส ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก ตลอดจน ผักสวนครัว เช่น คะน้า ผักบุ้ง กระเทียม หอมแดง พริกแดง พริกขี้หนูสวน ฯลฯ ก็สามารถปลูกลงไปได้เช่นกัน

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธี ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก แบบใช้ดิน

การเพาะเมล็ด

ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก

วิธี ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก แบบใช้ดิน ให้เริ่มจากเพาะเมล็ดในถ้วยพลาสติกก่อน ต่อด้วยปลูกในถาดเพาะเมล็ด จนเป็นต้นกล้า จากนั้น จึงย้ายลงปลูกในกระถาง โดยวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ด จะใช้เป็นดินร่วน ผสมปุ๋ยคอกกับขุยมะพร้าว หรือ จะใช้มูลไส้เดือน แทนก็ได้

ซึ่งถ้าหากใครสนใจ อยากได้ถาดเพาะเมล็ด สำหรับปลูกผักสลัดแล้วละก็ ขอแนะนำ ถาดเพาะกล้า กระบะเพาะเมล็ด ของ SGE มีให้เลือกถึง 5 ขนาด 32, 50, 72, 105 และ 128 หลุม สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/product/seedling-tray/ หรือ สอบถามเพิ่มเติมทาง โทรศัพท์ หรือ Line ของเราได้เลย

อุปกรณ์และวัสดุ

  • เมล็ดพันธุ์ผักสลัด
  • มูลไส้เดือน (สำหรับเพาะเมล็ด)
  • ถ้วยพลาสติกมีฝาปิด (สำหรับเพาะเมล็ด)
  • ขวดฉีดน้ำ
  • ถาดเพาะเมล็ด

วิธีทำ

  1. ตักมูลไส้เดือน ใส่ถ้วยพลาสติก ประมาณครึ่งหนึ่ง
  2. หยอดเมล็ดพันธุ์ ผักสลัด ลงไป แล้วใช้ขวดฉีดน้ำ ฉีดพรมน้ำให้ชุ่ม ปิดฝา พักทิ้งไว้ 2 วัน
  3. พอเมล็ดเริ่มงอกแล้ว ให้เปิดฝาออก วางไว้ในที่โดนแสงรำไร หรือ โรงเรือนที่มีสแลนกันแดด พรางแสงปิดเอาไว้ เป็นเวลา 5 วัน (หากผ่านมา 2 คืนแล้ว เมล็ดไม่งอก ก็ควรเอาออกแดดเลย เพื่อป้องกันต้นยืด)
  4. หลังจากนั้น ให้ย้ายต้นกล้าทีละต้น ลงในถาดเพาะเมล็ด โดยก่อนย้าย ให้ฉีดพรมน้ำให้มูลไส้เดือนชุ่มก่อน จะได้ย้ายได้ง่ายขึ้น รวมถึง บรรจุมูลไส้เดือนให้เต็มถาดเพาะ สำหรับเตรียมย้ายต้นกล้าลงไปด้วย
  5. ฉีดพรมน้ำมูลไส้เดือนในถาดเพาะเมล็ดให้ชุ่ม แล้วย้ายต้นกล้าลงไปทีละหลุม พอย้ายเสร็จแล้ว ให้ฉีดพรมน้ำอีกรอบ แล้ววางไว้ในที่โดนแสงรำไร เป็นเวลา 10 วัน (ระหว่างนี้ หากมูลไส้เดือนแห้ง ให้คอยฉีดพรมน้ำให้ชุ่มด้วย)

การ ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก แบบใช้ดิน

ผักสลัด

หลังจากปลูกผักสลัด จนเป็นต้นกล้าแล้ว ให้ย้ายปลูกลงในขวดพลาสติก โดยตัดแบ่งขวดพลาสติกเป็น 2 ท่อน ใช้สว่านเจาะรูตรงก้นและฝาขวด สำหรับระบายน้ำ และ 2 รู ด้านบน เพื่อผูกลวดอะลูมิเนียม สำหรับแขวน

สำหรับวัสดุปลูก ให้ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก กาบมะพร้าวสับ ขี้เถ้าแกลบ หรือ แกลบดำ เพื่อให้มีความร่วนซุย แล้วเพิ่มสารอาหาร โดยการรดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง คลุกเคล้าให้เข้ากัน พอย้ายต้นกล้าลงไปเสร็จแล้ว ก็นำไปวางไว้ในที่แจ้ง ให้โดนแดดวันละ 6 – 8 ชั่วโมง หมั่นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วฉีดพ่นฮอร์โมนนม เพื่อบำรุงใบเป็นระยะ ก็จะได้ ผักสลัด ใบใหญ่สวยงาม พร้อมเก็บกิน เก็บขายได้แล้ว

อุปกรณ์และวัตถุดิบ

  • ขวดพลาสติก
  • ลวดอะลูมิเนียม
  • สว่านเจาะรู
  • ต้นกล้าผักสลัด
  • ดินร่วน
  • ปุ๋ยคอก
  • กาบมะพร้าวสับ
  • ขี้เถ้าแกลบ (แกลบดำ)
  • จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง + น้ำเปล่า (สำหรับรดให้ชุ่ม)
  • มูลไส้เดือน (สำหรับเป็นปุ๋ย)
  • ฮอร์โมนนม สำหรับบำรุงใบ
  • กรรไกร หรือ คัตเตอร์

วิธีทำ

  1. หมักดินสำหรับปลูก โดยผสมดินร่วน ปุ๋ยคอก กาบมะพร้าวสับ ขี้เถ้าแกลบ ให้เข้ากัน แล้วนำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงผสมกับน้ำเปล่า ราดรดให้พอชุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน
  2. ใช้กรรไกร หรือ คัตเตอร์ ตัดขวดพลาสติก เป็น 2 ท่อน จากนั้น ใช้สว่านเจาะรูฝาขวด และ ก้นขวด หลาย ๆ รู เพื่อเป็นช่องระบายน้ำ และ เจาะรูด้านบน 2 รู ไว้ผูกลวดอะลูมิเนียมสำหรับแขวนด้วย
  3. ตักดินใส่ขวดพลาสติกจนเต็ม แล้วย้ายต้นกล้าผักสลัดลงไป รดน้ำให้พอชุ่ม พักทิ้งไว้ (เวลาย้ายต้นกล้าลงกระถาง ควรย้ายตอนกลางคืน เพื่อให้ต้นกล้าได้ตั้งตัว หรือ ฟื้นตัวได้ง่าย)
  4. แขวนขวดพลาสติกไว้บนราวแขวน ในโรงเรือนที่โดนแสงรำไร หรือ มีสแลนกันแดดปิดไว้ เป็นเวลา 1 – 2 วัน พอยอดและใบตั้งตรง รับแสงได้ดีแล้ว ให้ย้ายไปไว้ในที่โดดแดดกลางแจ้งเต็มวัน อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
  5. ระหว่างนี้ ให้คอยรดน้ำ เช้า สาย บ่าย เย็น เป็นประจำ เพื่อป้องกันการคายน้ำ ทำให้ใบเหี่ยว รวมถึง นำสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา หางไหล น้อยหน่า ผสมน้ำ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันศัตรูพืชด้วย
  6. เมื่อผักสลัด อายุได้ 7 – 10 วัน หลังย้ายลงขวดพลาสติก ให้ตักมูลไส้เดือน ใส่เป็นปุ๋ยตรงโคนต้น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  7. ระหว่างปลูกเพื่อรอเวลาเก็บเกี่ยว ให้คอยฉีดพ่นฮอร์โมนนม สำหรับบำรุงใบเป็นระยะ พออายุครบ 45 – 55 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต มารับประทานได้แล้ว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธี ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก ไม่ใช้ดิน

การเพาะเมล็ด

ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก

หากใครอยาก ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก ให้ง่ายยิ่งกว่าเดิม ไม่ต้องซื้อวัสดุปลูก ไม่ใช้ดิน แนะนำให้ ปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ เลย เพียงแค่มีน้ำก็ปลูกได้แล้ว เหมาะกับคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการปลูกผักแบบง่าย ๆ และ มีวิธีการดูแลรักษาไม่ยาก โดยการเพาะเมล็ด เพียงแค่วางลงไปในฟองน้ำที่ชุ่มน้ำ ทิ้งไว้ในที่มืด 1 คืน แล้วตั้งวางไว้ในที่โดนแสงแดดรำไร เป็นเวลา 6 – 7 วัน เมล็ดก็จะเติบโตเป็นต้นกล้า พร้อมย้ายลงขวดพลาสติกได้แล้ว

อุปกรณ์และวัสดุ

  • เมล็ดพันธุ์ผักสลัด
  • กล่องพลาสติกมีฝาปิด
  • ฟองน้ำแบบละเอียด
  • คัตเตอร์

วิธีทำ

  1. ตัดฟองน้ำให้พอดีกับตัวกล่อง จากนั้น ใช้คัตเตอร์กรีดฟองน้ำเป็นช่อง ๆ ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน แล้วกรีดเป็นรอยบากตรงกลาง สำหรับหยอดเมล็ดพันธุ์ผักสลัดลงไปได้
  2. นำฟองน้ำใส่ลงไปในกล่องพลาสติก แล้วเทน้ำรดลงไป ให้ฟองน้ำชุ่มน้ำ
  3. หยอดเมล็ดพันธุ์ผักสลัด ลงไปบนช่องที่กรีดไว้ จากนั้น รดน้ำให้พอชุ่มอีก 1 รอบ แล้วปิดฝาให้มืดสนิท พักทิ้งไว้ 1 คืน
  4. เช้าวันต่อมา ให้เปิดฝา นำออกมาตั้งไว้ในที่โดนแสงแดดรำไร เป็นเวลา 6 – 7 วัน เมล็ดก็จะโตเป็นต้นกล้า มีใบที่ 3 พร้อมสำหรับย้ายลงปลูกในขวดพลาสติกได้แล้ว

การปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก ไม่ใช้ดิน

ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก

เมื่อต้นกล้าผักสลัดโตพอ ที่จะย้ายลงขวดพลาสติกได้แล้ว ให้ตัดขวดพลาสติกเฉพาะส่วนฝาออก แล้วเทน้ำเปล่าลงไปเกือบเต็มขวด ผสมกับสารละลายธาตุอาหาร สูตร A และ B พร้อมกับ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อป้องกันตะไคร่น้ำให้เรียบร้อย

เสร็จแล้ว ให้นำต้นกล้าผักสลัดที่เพาะไว้ในฟองน้ำ จุ่มลงในน้ำเปล่าผสมเครื่องดื่มชูกำลัง เพื่อบำรุงรากให้แข็งแรง ใส่ลงไปในฝาขวดแบบวางคว่ำ วางไว้ด้านบน เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ ตั้งทิ้งไว้ ให้ผักเจริญเติบโต รอเวลาเก็บผลผลิตได้เลย โดยวิธีการดูและรักษาก็ไม่ยาก แค่รักษาระดับน้ำให้เหมาะสม และ หมั่นเติมสารละลายธาตุอาหาร ให้มีความเข้มข้นเป็นระยะ ก็จะได้ ผักสลัด สวย ๆ ไว้รับประทาน ไม่แพ้กับการปลูกในกระถางได้แล้ว

อุปกรณ์และวัสดุ

  • ต้นกล้าผักสลัด
  • น้ำเปล่า
  • สารละลายธาตุอาหาร สูตร A และ B
  • จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
  • น้ำเปล่า 500 มิลลิลิตร + เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา
  • ไซริงค์ฉีดยา
  • ขวดน้ำพลาสติก 1 ลิตร
  • ถุงพลาสติกสีดำ
  • กรรไกร หรือ คัตเตอร์

วิธีทำ

  1. ใช้กรรไกร หรือ คัตเตอร์ ตัดส่วนฝาของขวดพลาสติกออก จากนั้น ตัดถุงพลาสติกสีดำ มาห่อขวดพลาสติก แล้วใช้เทปใสแปะปิดทับให้มิดชิด
  2. เทน้ำเปล่าลงไปเกือบเต็ม แล้วคว่ำฝาขวดมาปิดด้านบนเอาไว้ เพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างฟองน้ำและระดับน้ำด้านล่าง (ถ้าน้ำล้นฝาขวด ให้เทออก)
  3. นำไซริงค์ฉีดยา ดูดสารละลายธาตุอาหาร สูตร A และ B ผสมกับน้ำเปล่า (โดยทั่วไป ใช้อัตราส่วนน้ำเปล่า 1 ลิตร ต่อสารละลายธาตุอาหาร 5 มิลลิลิตร)
  4. จากนั้น ดูดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงผสมลงไป อัตราส่วนน้ำเปล่า 1 ลิตร ต่อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 5 มิลลิลิตร เพื่อป้องกันตะไคร่น้ำขึ้น
  5. ย้ายต้นกล้าผักสลัด (พร้อมฟองน้ำ) ลงในขวดพลาสติก โดยก่อนใส่ลงไป ให้จุ่มรากลงในน้ำเปล่า 500 มิลลิลิตร + เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ฝา เพื่อบำรุงราก ให้เจริญเติบโตแข็งแรง
  6. รออีก 45 – 55 วัน ก็พร้อมเก็บเกี่ยว (ระหว่างนี้ ให้คอยตรวจวัดระดับน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้น้ำเพียงพออยู่เสมอ และ ตรวจวัด ค่า EC เพื่อตรวจสอบความเข้มข้น ของสารละลายธาตุอาหารของพืชด้วย หากมีค่าต่ำกว่าที่ระบุ ให้เติมสารละลายธาตุอาหารสูตร A และสูตร B เพิ่ม เพื่อให้มีธาตุอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยค่า EC ที่เหมาะกับการปลูกผักสลัด อยู่ที่ 1.1 – 1.8)

เป็นยังไงกันบ้างกับ วิธี ปลูกผักสลัดในขวดพลาสติก ที่ SGE นำมาฝาก ทำตามได้ง่าย ๆ ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ หากใครอยากปลูกผักสลัดด้วยตัวเอง แล้วอยากประหยัดต้นทุน รวมถึงใช้วัสดุรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์แล้วละก็ ลองทำตามวิธีนี้ได้เลย นอกจากจะมีผักสลัดอร่อย ๆ ไว้กินเอง ยังสามารถปลูกขาย สร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด