220707-Content-สะระแหน่-สรรพคุณมากมาย-01

3,758 Views

คัดลอกลิงก์

สะระแหน่ สรรพคุณมากมาย พร้อมวิธีปลูกยังไงให้โตไว

รู้จัก “สะระแหน่”

สะระแหน่ (kitchen Mint) เป็นพืชสมุนไพรตามธรรมชาติ ที่มีการนำใบ และน้ำมันมาใช้ประโยชน์ต่อสุขภาพ อีกทั้งยังใช้เป็นยาพื้นบ้าน สำหรับรักษาโรคและอาการต่าง ๆ เช่น บรรเทาอาการปวด ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร หรือใช้เป็นสารต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ หลายคนอาจคุ้นเคยกับรสหรือกลิ่นของสะระแหน่จากยาสีฟัน ขนม อาหารจานต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในสบู่ และเครื่องสำอางอีกด้วย

220707-Content-สะระแหน่-สรรพคุณมากมาย-02

สะระแหน่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ กะเพรา โหระพา และแมงลัก เป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย อันประกอบด้วย สารเมนทอล (menthol) อยู่สูง เป็นไม้ล้มลุก มีเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นทรงรูปสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมม่วง ออกไปทางน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปทรงใบ ค่อนข้างรี กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ผิวใบย่น ขอบใบหยักฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอก และช่อสะระแหน่ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

สะระแหน่นั้น มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในยุโรป จากนั้น แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยเฉพาะเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยได้พัฒนาสายพันธุ์เองตามธรรมชาติ เพื่ออยู่รอดตามสภาพอากาศของถิ่นต่าง ๆ ที่กระจายพันธุ์ไปจนกลายมาเป็นสะระแหน่สายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น สะระแหน่ไทย สะระแหน่ฝรั่ง สะระแหน่ญวน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของ สะระแหน่ไทย (ใบ 100 กรัม) มีดังนี้

  • พลังงาน : 47 แคลอรี่
  • โปรตีน : 3.7 กรัม
  • ไขมัน : 0.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 6.8 กรัม
  • แคลเซียม : 40 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส : 7 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก : 4.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี3 : 0.7 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ : 16,585 หน่วย
  • วิตามินB1 : 0.13 มิลลิกรัม
  • วิตามินB2 : 0.29 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี : 88 มิลลิกรัม

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่

สรรพคุณและประโยชน์ของสะระแหน่

  • บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

หลายคนชอบกลิ่นสะระแหน่ เพราะมีกลิ่นหอม ซึ่งน้ำมันหอมระเหย ที่มีอยู่ในสะระแหน่ ช่วยลดอาการอักเสบในเยื่อบุจมูก บรรเทาอาการหลอดลมหดตัว ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกจากหวัด และอาการหอบหืดได้ โดยดมน้ำมันหอมระเหย จากสะระแหน่ หรือทำชาสาระแหน่จิบอุ่น ๆ ก็ได้

  • แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

สะระแหน่เป็นสมุนไพรมีรสร้อน แต่มีฤทธิ์เย็น และมีสรรพคุณแก้ปวด จึงสามารถบรรเทาอาการปวดแสบ จากพิษแมลง สัตว์กัดต่อยได้ โดยให้ใช้ใบสะระแหน่สดใหม่ 5-10 ใบ โขลกจนละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่แมลงกัด

  • แก้ปวดหัว

กลิ่นน้ำมันหอมระเหยในใบสะระแหน่ มีส่วนช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และมีสรรพคุณ ระงับปวดได้ โดยใช้สะระแหน่ทั้งต้น ประมาณ 500 กรัม โขลกจนละเอียด แล้วนำไปต้มกับน้ำ เพื่อแยกเอาส่วนน้ำมันออก เพื่อที่เราจะใช้น้ำมันสะระแหน่ที่ได้ มานวดคลึงขมับ เมื่อรู้สึกปวดเวียนศีรษะ

  • แก้คลื่นไส้

กลิ่นหอมจากสารเมนทอลในใบสะระแหน่ทำให้รู้สึกสดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ และอาการคลื่นไส้ได้ โดยใช้ใบสด 1 กำมือ โขลกจนละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ มาผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ จิบอุ่น ๆ แก้อาการคลื่นไส้ วิงเวียน

220707-Content-สะระแหน่-สรรพคุณมากมาย-03
  • ช่วยย่อยอาหาร

สะระแหน่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร และมีส่วนกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีในร่างกาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน  ทั้งนี้ สูตรช่วยย่อยอาหาร สามารถนำใบสะระแหน่สด มาต้มกับน้ำสะอาด แล้วดื่มแก้อาหารไม่ย่อยได้

  • บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน

มีงานวิจัยว่า คนที่มีอาการลำไส้แปรปรวน เมื่อกินน้ำมันสะระแหน่ ชนิดแคปซูล นาน 4 สัปดาห์ มีอาการลำไส้แปรปรวนลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กินน้ำมันสะระแหน่

นอกจากนี้ ยังพบว่า การกินน้ำมันสะระแหน่ชนิดแคปซูล ก่อนอาหาร 15-30 นาที มีอาการท้องอืด และมีกรดแก๊สในกระเพาะอาหารลดลง และยังพบว่าผู้ป่วยมากกว่า 80% มีอาการปวดในช่องท้องลดลงอีกด้วย

  • ขับลม

ในตำรายาไทย ใช้ใบสด กินเป็นยาขับลม เพราะใบสะระแหน่ มีสารประกอบจำพวกสาร เมนทอล (Menthol) อยู่มาก มีรสร้อนนิด ๆ กินเป็นยาขับลมได้ดี

  • แก้คัน

ความเย็นจากใบสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการคันบนผิวหนัง อีกทั้งสะระแหน่ ยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ จึงช่วยลดอาการคัน ฟกช้ำ หรืออาการระคายเคือง ที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด แล้วนำมาพอกผิวแก้คัน

ข้อควรระวังในการใช้สะระแหน่

  1. ห้ามใช้น้ำมันสะระแหน่กับทารก หรือเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ในระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้ปอดอักเสบได้
  2. ข้อมูลจากวารสาร Toxicology and Industrial Health เผยว่า ชาสะระแหน่ มีฤทธิ์ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ในหนูทดลอง และแม้จะยังไม่มีผลทดลองในคน ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงสะระแหน่ไว้ก่อนดีที่สุด
  3. ผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรหลีกเลี่ยงสะระแหน่ เนื่องจากสะระแหน่ มีผลคลายกล้ามเนื้อหูรูด ในหลอดอาหาร อาจส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นมาได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีปลูกสะระแหน่ 

  1. เตรียมดินสำหรับการเพาะ โดยนำดินร่วน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย มาคลุกให้เข้ากัน
  2. เลือกกิ่งสะระแหน่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป จากนั้นนำไปปักลงในภาชนะที่เราเตรียมเพาะ
  3. ปักกิ่งสะระแหน่ให้เอนทาบกับดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่ระมัดระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป
  4. นำแกลบมาโรยกลบดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับหน้าดิน
  5. เมื่อการเพาะปลูกเข้าสู่วันที่ 5 ก็จะเริ่มแตกยอดเลื้อยคลุมดิน
220707-Content-สะระแหน่-สรรพคุณมากมาย-04

การดูแล

  1. พรวนดินบริเวณโคนต้นสะระแหน่ ควรระมัดระวังและท าอย่างเบามือ เนื่องจาก ต้นสะระแหน่เป็นพืชที่มีรากไม่ลึก
  2. เมื่อต้นที่เพาะเติบโตจนสามารถเก็บได้แล้ว ควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักให้กับต้นสะระแหน่
  3. ดูทิศทางและตำแหน่งที่วางต้นสะระแหน่ให้ดี ระวังอย่าให้ร้อนจัดจนเกินไป

ความแตกต่างระหว่าง สะระแหน่ กับ มิ้นต์

หลาย ๆ คนคงสงสัยว่า พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ แตกกต่างกันไหม ความจริงแล้วนั้น คือ เป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละพันธุ์ สะระแหน่ เป็นลูกผสมที่หลากหลายของมิ้นต์ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมิ้นต์ทั้งสองนั้น ขึ้นอยู่กับรสชาติกลิ่น และพืชพรรณที่ต่างกันเล็กน้อยนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับบทความดี ๆ ที่เรานำมาฝากกัน สะระแหน่ วิธีปลูกสะระแหน่ ก็ทำได้ไม่ยากอีกด้วย จะเห็นได้ว่าสะระแหน่ ประโยชน์ สรรพคุณมากมายต่อสุขภาพจริง ๆ รู้แบบนี้แล้ว ก็ทำได้ไม่ยากอีกด้วย อย่าลืมไปหาลองทานกันดูนะจ๊ะ 😋

เพื่อการเพาะปลูกที่ไร้กังวล ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับต่าง ๆ เราขอแนะนำ กระถางผ้า กระถางปลูกต้นไม้ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับปลูกพื้นทุกรูปแบบ ผลิตจากวัสดุพิเศษ ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่เกิดเชื้อรา เป็นมิตร และทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี กระถางผ้า กระถางปลูกต้นไม้ คลิกเลย 👈

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ชีวจิต, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

ลำดวน

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด