ประโยชน์ของ อะโวคาโด กี่แคล? กินทุกวันดีไหม? กินตอนไหนดี?
สารบัญ
อะโวคาโด (Avocado) ผลไม้เนื้อครีมอ่อนนุ่ม รสชาติหอมมัน ที่ถูกเรียกขานว่าเป็นถึง “เนยธรรมชาติ” ซึ่งนอกจากผลไม้ชนิดนี้จะมีรสชาติอร่อยแล้ว มันยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายที่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อะโวคาโดจึงได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนรักสุขภาพ บทความนี้จึงไม่พลาดที่จะพาทุกท่านไปรู้จักกับผลไม้สารพัดประโยชน์ชนิดนี้กัน!
ประโยชน์ของอะโวคาโด ผลไม้สารพัดประโยชน์
อะโวคาโดเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานทางเลือก ที่เป็นแหล่งรวมของไขมันไม่อิ่มตัว ที่ดีต่อสุขภาพ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม แร่ธาตุสำคัญที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต ซึ่งประโยชน์อะโวคาโด ยังมีอีกมากมาย ดังนี้
ประโยชน์ของอะโวคาโด
- อุดมไปด้วยไขมันดี (HDL) และยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในเลือด
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ในกรณีที่ทานอะโวคาโดเป็นประจำ
- ช่วยลดน้ำหนัก เพราะอะโวคาโดมีโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลต่ำ ทั้งยังมีกรดโอเลอิกที่ช่วยกระตุ้นสมองให้อิ่มเร็ว ไม่หิวบ่อย
- มีไฟเบอร์สูง ช่วยทำให้รู้สึกอยู่ท้อง ปรับสมดุลให้ระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้
- มีโพแทสเซียม ช่วยควบคุมความดันโลหิต รักษาสมดุลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานตามปกติ
- มีโฟเลต ช่วยเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยให้เซลล์เจริญเติบโตและทำงานเป็นปกติ
- ช่วยบำรุงสายตา เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนในการ
- อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
- ช่วยป้องกันหวัด เพราะในอะโวคาโดมีวิตามินซี
- ช่วยบำรุงผิวและเส้นผม ชะลอริ้วรอย และลดริ้วรอยแห่งวัย รวมทั้งสร้างความเงางามให้แก่เส้นผม
กินอะโวคาโดยังไงให้สุขภาพดี๊ดี!
- อะโวคาโด ครึ่งลูก≈100 กรัม ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรี่ ควรทานไม่เกินวันละ ครึ่งผล
- เนื่องจากอะโวคาโดให้พลังงานสูง จึงควรนำมาทานเป็นมื้อเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการพลังงาน
ข้อควรระวังในการกินอะโวคาโด
แม้อะโวคาโดจะมีข้อดีมากมาย ทั้งเรื่องลดน้ำหนัก บำรุงผิวพรรณ ควบคุมระดับน้ำตาล ลดความดันโลหิต แต่ใช่ว่าจะจะมีเพียงแต่ข้อดีเท่านั้น บทความนี้รวบรวมมาแล้ว ข้อควรระวัง ถ้าอยากกินอะโวคาโดให้ได้สุขภาพดี!
ข้อควรระวังในการกินอะโวคาโด
- อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ จากสารก่อภูมิแพ้บางชนิด ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้อาหารทะเล หรือแพ้ถั่ว อาจทำให้แพ้อะโวคาโดด้วยได้เช่นกัน
- ในอะโวคาโดมีสารแทนนิน ที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะในผลที่ยังสุกไม่เต็มที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องผูกได้
- แคลอรี่สูง ถึงแม้ว่าอะโวคาโดจะอุดมไปด้วยไขมันดี แต่ก็ไขมันเหล่านั้นยังถือเป็นไขมันที่ต้องควบคุมอยู่ดี ดังนั้นผู้มีปัญหาเรื่องไขมัน ความดันสูง หรือโรคหัวใจ ควรเพิ่มความระมัดระวังในการทานมากขึ้น
- อะโวคาโดมีส่วนช่วยทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ผู้ที่ต้องทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ ควรรับประทานไม่เกินวันละครึ่งลูกเท่านั้น
- มีโพแทสเซียมสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ควรระมัดระวังในการรับประทานอะโวคาโด
Tips การเลือกทานอะโวคาโด
- เลือกทานอะโวคาโด ผลสุกเต็มที่ สังเกตได้จากผิวนอกที่เปลี่ยนเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เมื่อกดเบา ๆ จะสัมผัสถึงความนิ่มของเนื้ออะโวคาโด
- หลีกเลี่ยงการทานอะโวคาโดดิบ หรือยังไม่สุกเต็มที่
- รับประทานในปริมาณพอเหมาะ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือด ภาวะความดันสูง ฯ ควรจำกัดการรับประทานอะโวคาโด
- ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลหรือถั่ว ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอะโวคาโด
ข้อมูลโภชนาการของอะโวคาโด
ข้อมูลโภชนาการของอะโวคาโด เปรียบเทียบโดยใช้ปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | อะโวคาโด |
---|---|
แคลอรี (kcal) | 160 กิโลแคลอรี |
ไขมันทั้งหมด | 14.7 กรัม |
-ไขมันอิ่มตัว
-ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน -ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว |
2.1 กรัม
1.8 กรัม 9.8 กรัม |
คอเลสเตอรอล | 0 มิลลิกรัม |
โซเดียม | 0 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 10 มิลลิกรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 8.5 กรัม |
เส้นใยอาหาร | 0 กรัม |
น้ำตาล | 0.7 กรัม |
โปรตีน | 2 กรัม |
วิตามินเอ | 1 % |
วิตามินซี | 12 % |
แคลเซียม | 1 % |
เหล็ก | 4 % |
วิตามินบี6 | 20 % |
แมกนีเซียม | 8 % |
วิตามินอี | 14 % |
วิตามินเค | 20 % |
ซิงค์ | 7 % |
ฟอสฟอรัส | 7 % |
แมงกานีส | 7 % |
แหล่งข้อมูลประกอบ: โรงพยาบาลเทพธารินทร์
แนะนำเมนูอะโวคาโด อร่อย ทำง่าย ได้ประโยชน์
อะโวคาโด ผลไม้สารพัดประโยชน์ สามารถนำมารังสรรค์ได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูคาว เมนูหวาน หรือแม้แต่เครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย!
อะโวคาโด (Avocado)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Persea americana
ชื่อสามัญ
Avocado
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Lauraceae Group
ถิ่นกำเนิด
อเมริกาแถบร้อน
อะโวคาโด (Avocado) เป็นผลไม้ที่มีผิวลักษณะขรุขระ เปลือกหนามีสีเขียวเข้ม หากเมื่อนำไปผ่านกระบวนการต้มสุก อะโวคาโดจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีดำ โดยเนื้ออะโวคาโดจะมีลักษณะเป็นครีม อ่อนนุ่ม มีรสชาติคล้ายเนย ดังนั้นผลไม้ชนิดนี้จึงเป็นผลไม้ที่นิยมนำมาทานในสายสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะเต็มไปด้วยคุณค่าที่ดีที่ส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อยอีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอะโวคาโด
ลำต้น
เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ สูง 5-18 เมตร โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีทั้งพันธุ์ที่ลำต้นตรงสูงใหญ่ หรือแม้กระทั่งพันธุ์ลำต้นเล็กเป็นพุ่มเตี้ย
ใบ
ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างทั้งแบบใบยาวรูปรี รูปทรงกระบอก รูปไข่ หรือรูปใบหอก ตามแล้วแต่สายพันธุ์ มีผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวสด-เขียวเข้ม ในบางพันธุ์จะทิ้งใบก่อนออกดอก และในบางพันธุ์จะมีใบเขียวตลอดปี
ดอก
ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โดยมีช่อย่อย ๆ จำนวนมากในช่อหนึ่ง ปกติแล้วจะเริ่มออกดอกในเดือนธันวาคม-เดือนมีมีนาคมในทุกปี
ผล และเมล็ด
ผลมีรูปทรงแตกต่างกันไปในแต่ละพันธุ์ บ้างก็มีทรงผลคล้ายผลแพร์ รูปไข่ รูปทรงกลมยาว ผลยาวคล้ายน้ำเต้า เปลือกผลมีผิวเรียบเป็นมัน หรือขรุขระบางพันธุ์ มีสีเขียวเข้ม เขียวปนเหลือง หรือสีม่วง เมื่อสุกแล้วอาจเปลี่ยนสีไปตามแต่พันธุ์ เนื้อมีสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้ม รสมัน เนื้อละเอียด ไม่มีกลิ่น หุ้มเมล็ดเดี่ยวอยู่ตรงกลางผล
สายพันธุ์ของอะโวคาโด
อะโวคาโด สามารถแยกได้เป็น 3 เผ่า ดังนี้
1 เผ่ากัวเตมาลา
1 เผ่ากัวเตมาลา
มีผลสีเขียว ขั้วผลขรุขระ เมล็ดเรียบกลม มีเนื้อหนา ไขมันสูง ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นถึงปานกลาง เช่น พันธุ์แฮส (Hass), พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)
2 เผ่าอินดีสตะวันตก
2 เผ่าอินดีสตะวันตก
เปลือกหนาผิวเรียบเป็นมัน มีสีเขียวอมเหลือง เมล็ดอยู่ในโพรงอย่างหลวม ๆ มีรสหวานอ่อน ไขมันน้อย ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)
3 เผ่าเม็กซิโก
3 เม็กซิโก
ลักษณะผลเล็ก เปลือกเรียบ เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง เปลือกบางที่สุดในทุกเผ่า เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดกลมใหญ่อยู่ในโพรงอย่างหลวม ๆ เป็นเผ่าที่มีไขมันมากที่สุด เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ทนอากาศเย็นได้ดี อายุยืน ให้ผลดก มีใบเขียวตลอดปี
วิธีการปลูกอะโวคาโด
อาโวคาโด มีช่วงระยะเพาะเมล็ด อยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เดือน ซึ่งถ้าหากครบกำหนดเวลาแล้ว ยังไม่มีต้นกล้าออกมาจากเมล็ด แสดงว่าเมล็ดตายแล้ว ไม่สามารถใช้ปลูกต่อได้ แต่ถ้าหากต้นที่เจริญเติบโตแข็งแรงปกติ จะมีระยะเวลาปลูกที่จะให้ผลผลิต อยู่ระหว่าง 3 – 5 ปีขึ้นไป โดยวิธีการปลูกต้นอะโวคาโดสามารถทำได้ ดังนี้
เป็นอย่างไรบ้างคะ ช่วงนี้เทรนด์รักสุขภาพมาแรง และไม่มีวี่แววว่าจะแผ่วลงเลย และอะโวคาโดก็เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากสำหรับสายสุขภาพ ใครที่กินคลีนอยู่แล้วหรือสนใจอยากก้าวเข้าสู่วงการรักสุขภาพกับเขาดูบ้างคะ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ทุกคนนะคะ 🙏
1 กุมภาพันธ์ 2024
โดย
จันทร์เจ้า