“ถั่วลิสง” ประโยชน์และโทษที่ควรรู้ อ้วนไหม กินวันละเท่าไหร่?
สารบัญ
ถั่วลิสง (Peanut) มีประโยชน์ โทษ อย่างไร? กินอย่างไรถึงจะดีที่สุด? SGE จะพาทุกคนไปหาคำตอบ พร้อมบอกสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับถั่วลิสงแบบจัดเต็ม!
ประโยชน์ สรรพคุณ ถั่วลิสง
ถั่วลิสง มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น
ประโยชน์ต่อร่างกาย
- แหล่งโปรตีนชั้นดี ถั่วลิสงขึ้นชื่อเรื่องเป็นแหล่งของโปรตีน ให้พลังงานสูง ช่วยในการเจริญเติบโต รวมถึงมีกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย
- เสริมสร้างความจำ สารอาหารในถั่วลิสงช่วยบำรุงสมองและประสาทตา
- ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ถั่วลิสงมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน ลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ในถั่วลิสงมีสารที่ช่วยลดปริมาณของไขมันร้าย (LDL) ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดและภาวะหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ
- รักษาสมดุลฮอร์โมนเพศ แมกนีเซียมในถั่วลิสงมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ และการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย
- ช่วยเรื่องการขับถ่าย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าถั่วสิลงมีใยอาหาร ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ท้องไม่ผูก
- อุดมไปด้วยวิตามิน ศูนย์รวมสารอนุมูลต้านอิสระชั้นดี เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินซี
- มีแร่ธาตุหลายชนิด ทั้ง แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม
ประโยชน์ ด้านอื่น ๆ
- เป็นส่วนประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน รสชาติเป็นเอกลักษณ์
- แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น สบู่ แชมพู น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ
- ถั่วลิสงสามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกได้เช่นเดียวกับถั่วเขียวน้ำมันจากถั่วลิสง
- นำมาใช้แทนน้ำมันมะกอกเพื่อปรุงอาหาร มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอนุมูลอิสระ
- สำหรับถั่วลิสงป่าที่เป็นพืชยืนต้น นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
- ลำต้นและใบของถั่วลิสง นำมาใช้ทำปุ๋ย และเป็นอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ข้อควรระวังของถั่วลิสง
- ถั่วลิสงมีไขมันและแคลสูง อาจทำให้คอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้อ้วนได้
- ถั่วลิสงที่นำมาแปรรูป ผ่านความร้อน น้ำมัน อาจทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดหายไป
รวมคำถามที่หลายคนสงสัย
1. ถั่วลิสงต้ม อันตรายอย่างไร?
หากพบจุดดำ ๆ ที่บริเวณเปลือก คล้ายเชื้อราในถั่วลิสงต้มหรือคั่ว ไม่ควรกินโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีสารก่อมะเร็ง เช่น อะฟลาทอกซิน ไฮโดรคาร์บอนโพลีไซคลิกอะโรมาติก สาเหตุของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
2. อาการแพ้ถั่วลิสง รู้ได้อย่างไร?
อาการแพ้ถั่วลิสงจะไม่ค่อยรุนแรงนัก ข้อสังเกตที่พบบ่อยคือ ลมพิษรอบปาก บริเวณที่ถั่วลิสงสัมผัสผิวหนัง, ปวดท้องและอาเจียนหลังกินได้ไม่นาน, เด็กเล็กมักจะมีอาการไอ หอบ หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ ส่วนในกรณีที่รุนแรง (อนาฟีแล็กซิส) อาจหมดสติ เป็นลม หรือเสียชีวิต ซึ่งพบได้น้อยมาก
3. กินถั่วลิสงอ้วนไหม ควรกินวันละเท่าไหร่?
ถั่วลิสงมีโปรตีนสูง และ มีไขมันดี ทำให้อยู่ท้อง ไม่หิวเร็ว จึงเป็นตัวช่วยลดน้ำหนักได้ แต่หากถามว่า กินถั่วลิสงอ้วนไหม คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน การกินถั่วเยอะเกินไปอาจทำให้อ้วนขึ้นได้ แต่หากอยากลดน้ำหนัก ปริมาณที่แนะนำคือ ไม่เกิน 1 กำมือต่อวัน หรือ ไม่เกินครั้งละ 17 เม็ด (ให้พลังงานประมาณ 100 กิโลแคลอรี่)
4. เลือกซื้อ ถั่วลิสง อย่างไรดี?
การเลือกซื้อให้ซื้อแค่เพียงพอต่อการใช้ ไม่ควรซื้อมาเก็บไว้นาน ๆ ควรหลีกเลี่ยงถั่วลิสงที่ดูเก่า มีความชื้น หรือมีกลิ่นหืน เพราะอาจจะมีโอกาสปนเปื้อน อะฟลาทอกซินสูงมาก และควรเลือกซื้อจากร้านที่มีบรรจุห่อปิดสนิท มีวันผลิต และวันหมดอายุชัดเจน หรือร้านที่มีการทำแบบสดใหม่
ข้อมูลโภชนาการ / สารอาหาร ถั่วลิสง
สารอาหารต่าง ๆ ทางโภชนาการของถั่วลิสง ในปริมาณ 100 กรัม
สารอาหาร |
ปริมาณ |
หน่วย |
พลังงาน |
570 |
กิโลแคลอรี่ (Kcal) |
โปรตีน |
25 กรัม |
กรัม |
คาร์โบไฮเดรต |
21 กรัม |
กรัม |
น้ำ |
4.26 |
กรัม |
น้ำตาล |
0 |
กรัม |
ใยอาหาร |
9 |
กรัม |
ไขมัน |
48 |
กรัม |
วิตามินบี 1 |
0.6 |
มิลลิกรัม (52%) |
วิตามินบี 3 |
12.9 |
มิลลิกรัม (86%) |
วิตามินบี 6 |
1.8 |
มิลลิกรัม (36%) |
วิตามินบี 9 |
246 |
ไมโครกรัม (62%) |
วิตามินซี |
0 |
มิลลิกรัม |
แคลเซียม |
62 |
มิลลิกรัม (6%) |
เหล็ก |
2 |
มิลลิกรัม (15%) |
แมกนีเซียม |
184 |
มิลลิกรัม ( 52%) |
ฟอสฟอรัส |
336 |
มิลลิกรัม (48%) |
โพแทสเซียม |
332 | มิลลิกรัม (7%) |
สังกะสี |
3.3 |
มิลลิกรัม (35%) |
แนะนำเมนู ถั่วลิสง ง่าย ๆ พร้อมทาน!
ถั่วลิสง (Peanut)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Arachis spp.
ชื่อสามัญ
ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut)
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Fabaceae
ถิ่นกำเนิด
เขตร้อน และ กึ่งร้อน ตอนกลางทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ถั่วลิสง
ราก และ ลำต้น
ถั่วลิสงเป็นพืชล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นราบไปตามพื้นดิน ส่วนรากเป็น ระบบรากแก้ว (Tap Root System)
ใบ
ใบประกอบด้วยใบย่อย ลักษณะใบรูปรี ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบมีขน
ดอก
ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง เมื่อผสมเกสรแล้วก้านรัง-ไข่แทงลงใต้ดิน
ผล และ เมล็ด
ฝักมีเมล็ด 1-5 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างหนา ขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลหรือม่วง เปลือกฝักมีลายเล็กน้อย ปลายฝักมีจะงอย
สายพันธุ์ของถั่วลิสง
ถั่วลิสง มีหลายพันธุ์ทั่วโลก แต่สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยและนิยมรับประทาน มีดังนี้
1 ถั่วลายเสือ
1 ถั่วลายเสือ
ลักษณะของถั่วลิสง ลายเสือ ฝักถั่วยาว เปลือกบาง ลายบนเปลือกเป็นร่องลึกชัดเจน เมล็ดถั่วมีขนาดใหญ่ เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีขาว และมีลายขีดสีม่วงคล้ายกับลายเสือโคร่ง
ที่มาภาพ : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
2 ถั่วลิสง พันธุ์ขอนแก่น
2 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น
ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น มีการพัฒนาพันธุ์อยู่ตลอดเวลา อัปเดตล่าสุดถึงรุ่นที่ 9 ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์ขนาดเมล็ดปานกลาง ให้ผลผลิตสูง ฝักดก ขนาดฝักและเมล็ดโต และปลิดฝักง่าย
ที่มาภาพ : กรมวิชาการเกษตร ฐานข้อมูลพรรณพืชและเชื้อพันธุกรรมพืช
3 ถั่วลิสง พันธุ์ไทนาน
3 ถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน
ถั่วลิสงไทนาน เป็นถั่วพันธ์ุพื้นเมืองของจังหวัดน่าน ปลูกกันมานานกว่า 50 ปี มีลักษณะเด่นขนาด 2 เมล็ดเต็มฝัก กรอบนาน มีรสจัด เข้มข้น หวานมัน กว่าถั่วเม็ดใหญ่ของต่างประเทศ
ที่มาภาพ : กรมวิชาการเกษตร ฐานข้อมูลพรรณพืชและเชื้อพันธุกรรมพืช
4 ถั่วลิสง พันธุ์เกษตรศาสตร์
4 ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์
ถั่วลิสง พันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ถั่วลิสง ได้แก่ พันธุ์ลำปาง พันธุ์แม่ฮ่องสอน และ พันธุ์สุโขทัย
เป็นอย่างไรบ้างกับ ประโยชน์ สรรพคุณ ข้อควรรู้ และข้อมูลที่น่าสนใจของถั่วลิสง หวังว่าเพื่อน ๆ จะรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น ตลอดจนเลือกทานได้อย่างเหมาะสม ส่วนใครที่อยากปลูกถั่วลิสงก็ลองนำเทคนิคที่เราแนะนำไปใช้ และอย่าลืมศึกษาธรรมชาติของเค้าเพิ่มเติมอีกสักหน่อย เพื่อผลผลิตที่คุ้มค่าและไม่เสียเวลาน้าาาา 😊
12 กุมภาพันธ์ 2024
โดย
Wishyouwell.