แก้วมังกร กี่แคล ประโยชน์แก้วมังกร มีอะไรบ้าง กินตอนไหนดีที่สุด
แก้วมังกร กี่แคล ประโยชน์แก้วมังกร มีอะไรบ้าง กินตอนไหนดีที่สุด SGE มีคำตอบ พร้อมข้อควรรู้ แก้วมังกรมีโทษอะไรบ้าง ควรกินแก้วมังกรวันละกี่ลูก ถึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ใครอยากกินผลไม้ชนิดนี้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล ได้รับประโยชน์แบบเต็ม ๆ แล้วละก็ ตามมาดูกันเลย
ประโยชน์ แก้วมังกร
แก้วมังกร มีสารอาหาร วิตามิน และ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ วิตามิน A วิตามิน C แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น
- เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีแคลอรี่ต่ำ
- ช่วยให้ชุ่มคอ ดับกระหายน้ำ เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 80%
- ขับถ่ายได้สะดวก มีไฟเบอร์ ช่วยในการย่อยอาหาร
- ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย เพราะมีไฟเบอร์และพรีไบโอติก ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
- บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เพราะมีแคลเซียมสูง
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน จากการมีแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้กับมวลกระดูก
- บำรุงเลือด เพราะมีธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
- บำรุงผิวพรรรณ มีวิตามิน A และ วิตามิน C ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้น กระจ่างใส
- บำรุงสายตา มีวิตามินเอ ช่วยให้ตาสู้แสงได้ในตอนกลางวัน
- เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จากการมีวิตามิน และ สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด
- ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ในร่างกายไม่ถูกทำลาย และ ทำงานได้ปกติ
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล มี Batalains ช่วยลดระดับไขมันเลวในหลอดเลือด
- ระบบประสาทและสมองทำงานได้ปกติ เพราะมีแมกนีเซียมสูง
- ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี โดยเฉพาะการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ
- ออกกำลังกายได้ดีขึ้น เพราะมีแมกนีเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อไม่อ่อนล้า หลังออกกำลังกาย
- บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน ช่วยลดอาการเจ็บปวด เมื่อประจำเดือนจะมาถึง
- ช่วยให้นอนหลับได้สนิท ทำให้นอนหลับได้เร็ว และ นอนหลับได้สนิทมากยิ่งขึ้น
- ช่วยควบคุมน้ำตาลกลูโคสในเลือด เพราะมีสารมิวซิเลจ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ป้องกันโรคมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำลายเซลล์โรคมะเร็ง
- ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดระดับความดันโลหิต อันเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ
แก้วมังกร กี่แคล
แก้วมังกร 1 ลูก ให้พลังงาน 66 – 102 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีแคลอรี่ต่ำ เหมาะสำหรับกินเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ
แก้วมังกรกินตอนไหนดีที่สุด
จริง ๆ แล้ว แก้วมังกร สามารถรับประทานได้ทุกเวลา แต่ถ้าจะให้ช่วยเรื่องขับถ่าย ควรกินหลังรับประทานอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่าย ขับถ่ายได้ดีขึ้น
แก้วมังกรควรกินวันละกี่ลูก
ควรกินแก้วมังกรวันละ 1 ลูก และ ไม่ควรกินหลายวันติดต่อกัน เพราะถึงแม้แก้วมังกรจะมีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย แต่เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน จึงควรกินผลไม้อื่น ๆ ให้หลากหลาย และ ควบคู่กันด้วย ร่างกายจะได้แข็งแรงสุขภาพดี
โทษของแก้วมังกร
- กินเยอะอาจทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีไฟเบอร์ค่อนข้างสูง
- ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บางคนอาจรู้สึกลำไส้ปั่นป่วน หลังจากกินเข้าไป
- อาจเกิดอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากแก้วมังกรมีกรดต่าง ๆ ค่อนข้างสูง
- อาจเกิดอาการแพ้ บางคนอาจเกิดอาการแพ้แก้วมังกร จากการกินหรือจับผลแก้วมังกรได้
- น้ำตาลในเลือดสูง แก้วมังกรหวานมาก กินเยอะ ๆ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- เป็นนิ่วในไต แก้วมังกรมีสารออกซาเลตจำนวนมาก หากกินเยอะ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต
- ทำปฎิกิริยากับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องกินยาชนิดนี้
- มีโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม หรือ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ข้อมูลโภชนาการของแก้วมังกร
ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | แก้วมังกร |
---|---|
แคลอรี (kcal) | 102 กิโลแคลอรี่ |
ไขมันทั้งหมด | 0 กรัม |
ไขมันอิ่มตัว | 0 กรัม |
โปรตีน | 2 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 22 กรัม |
ไฟเบอร์ | 5 กรัม |
น้ำตาล | 13 กรัม |
วิตามิน A | 100 IU |
วิตามิน C | 4 มิลลิกรัม |
แคลเซียม | 31 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 0.1 มิลลิกรัม |
แมกนีเซียม | 68 มิลลิกรัม |
แหล่งข้อมูลประกอบ: webmd.com
แก้วมังกร (Dragon Fruit)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hylocercus
ชื่อสามัญ
Dragon Fruit
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Cactaceae
ถิ่นกำเนิด
ทวีปอเมริกากลาง, ตอนใต้ของเม็กซิโก
แก้วมังกร เป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อย จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับต้น กระบองเพชร เดิมมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง และ ทางตอนใต้ของเม็กซิโก ก่อนที่จะถูกนำเข้ามาในประเทศเวียดนาม เมื่อ 100 ปีก่อน โดยบาทหลวงฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามา ทำให้คนในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย รู้จักและนิยมปลูกแก้วมังกรกันตั้งแต่นั้น
โดยชื่อ แก้วมังกร มาจากผลที่มีรูปทรงกลมรี เปลือกมีสีแดง และ มีกลีบเลี้ยงสีเขียวขึ้นอยู่รอบผล คล้ายหัวมังกร ทำให้คนไทยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า แก้วมังกร ส่วนชาวต่างชาติบ้างก็เรียก Dragon Fruit, Pitaya, Pitahaya, Strawberry Pear.
สำหรับรสชาติของผลแก้วมังกร เนื่องจากมีรสหวาน และ มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ กระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ ทำให้นิยมนำมาบริโภคเป็นผลไม้ กินเพื่อความอร่อยและบำรุงสุขภาพ โดยนอกจากจะกินเป็นผลไม้สด ๆ แล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นฟรุตสลัด หรือ ปั่นกินเป็นน้ำผลไม้ได้อีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแก้วมังกร
ราก
ราก เป็นรากแก้ว ทำหน้าที่เกาะหลักเพื่อยึดลำต้น และ แทงลึกลงดินเพื่อดูดซับสารอาหาร
ลำต้น
ลำต้นอวบน้ำ มีแฉก 3 แฉก เป็นทรงสามเหลี่ยม แฉกด้านหนึ่งเรียบแบน เป็นด้านที่ออกราก มีหนามกระจุกอยู่ข้างตาเป็นช่วง ๆ และ มีสีเขียว
กิ่งและใบ
แก้วมังกรไม่มีใบ แต่มีกิ่งหลักและกิ่งย่อย ที่แตกแขนงออกไปรอบ ๆ กิ่งอ่อน เมื่อยาวเต็มที่ จะชี้ขึ้น เมื่อกิ่งแก่ กิ่งจะชี้ลง
ดอก
บานเฉพาะตอนกลางคืน มีสีขาวขนาดใหญ่ มีกลีบดอกยาวเรียงซ้อนกัน
ผล
มีรูปทรงกลมรี ผลดิบมีเปลือกสีเขียวสด ผลสุก มีเปลือกสีแดงอมชมพูหรือสีแดงบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล
สายพันธุ์ของแก้วมังกร
แก้วมังกร สามารถแยกได้เป็น 3 สายพันธุ์
1 แก้วมังกรพันธ์ุเนื้อขาวเปลือกแดง
1 แก้วมังกรพันธ์ุเนื้อขาวเปลือกแดง
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เนื้อสีขาวเปลือกสีแดง มีรสหวานนิด ๆ อมเปรี้ยวเล็กน้อย หรือ หวานจัด
2 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง
2 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hylocercus megalanthus เนื้อสีขาวเปลือกสีเหลือง เปลือกหนา เนื้อน้อย ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ และ มีรสหวานน้อยกว่าพันธุ์อื่น
3 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง
3 แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง
เป็นพันธุ์ผสมใหม่จากไต้หวัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เนื้อสีแดงเปลือกสีแดง มีรสหวานกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่ผลมีขนาดเล็กกว่า
วิธีปลูกแก้วมังกร
วิธีปลูกแก้วมังกร ด้วยความที่เป็นไม้เลื้อย ไม่ได้เป็นไม้ยืนต้น ทำให้หากอยากปลูกในกระถางในบริเวณบ้าน เพื่อเป็นไม้ประดับตกแต่ง หรือ เก็บผลไว้กินเอง การปลูกในกระถาง จำเป็นต้องใช้กระถางขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถวางเสาหรือท่อใยหินด้านในสำหรับให้ต้นแก้วมังกรใช้เป็นหลัก ให้ลำต้นเลื้อยโตขึ้นไปด้านบนได้ นอกจากนี้ ก็ต้องมีอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งคือ แผ่นปูนเจาะรูค้ำอีกอัน เพื่อใช้เป็นเสาค้างด้านบน ทำให้ลำต้นของแก้วมังกรเลื้อยขึ้น และ ตกลงมาในขอบเขตที่กำหนดไว้ได้อีกด้วย โดยวิธีปลูกแก้วมังกรที่บ้าน มีวิธีการดังต่อไปนี้
เห็นประโยชน์จากการรับประทานและวิธีการปลูกแก้วมังกรกันไปแล้ว ใครสนใจอยากเริ่มต้นปลูกแก้วมังกร แนะนำให้นำกิ่ง หรือ ตัดลำต้นของแก้วมังกรออกมาส่วนหนึ่ง เสร็จแล้ว นำไปปักชำให้รากงอกใน กระถางผ้า ของ SGE รอไว้ สำหรับเตรียมย้ายไปปลูกในกระถางต่อ เพราะมีคุณสมบัติช่วยในเรื่องอากาศถ่ายเทเข้า-ออก ระบายความร้อนในกระถางได้ดี ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ทำให้รากของแก้วมังกรออกได้ง่าย หากสนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/plant-pot/
บทความแนะนำ
22 มีนาคม 2024
โดย
Pres