โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

2,479 Views

คัดลอกลิงก์

วิธีทำ โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบง่าย ๆ ปลูกผักสลัดได้ตลอดทั้งปี

โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ทำเอง แบบง่าย ๆ ทำอย่างไร SGE มี วิธีทำมาฝาก สามารถตั้งไว้ในบ้าน ปลูกผักสลัดได้ตลอดทั้งปี
ตลอดจนพืชผักอื่น ๆ อีกนานาชนิด ใครอยากปลูกผักกินเอง หรือ เก็บขายสร้างรายได้ โดยไม่ต้องซื้อแบบสำเร็จรูป ตามมาดูกันเลย

โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบไหน ประหยัดงบที่สุด

โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ทำ โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้ประหยัดงบที่สุด ทำได้โดยใช้ ไม้ไผ่ หรือ ท่อพีวีซี เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง โดยแนะนำ ท่อพีวีซี จะดีที่สุด เนื่องจากสามารถโค้งงอได้ง่าย เหมาะสำหรับการขึ้นโครงหลังคา แต่ถ้าหากใครอยากประหยัดเงิน และ ใช้วัสดุจากธรรมชาติ จะใช้ไม้ไผ่ก็ได้เช่นกัน

เทคนิคการสร้างโรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

โรงเรือนปลูกผัก

เทคนิคการสร้างโรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ก่อนอื่น ควรกำหนดว่าต้องการ กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ จะได้หาซื้ออุปกรณ์และวัสดุได้เพียงพอ นอกจากนี้ ควรพิจารณาด้วยว่า ปลูกผักชนิดอะไรในโรงเรือน จะได้เลือกผ้าใบ หรือ สแลนกันแดด สำหรับปิดคลุมโรงเรือนได้อย่างเหมาะสม โดยหากใครต้องการประหยัดงบ จะใช้ผ้าใบพลาสติกคลุมให้ทั่วก่อน แล้วค่อยตัดเอาสแลนกันแดด มาปิดเฉพาะหลังคาด้านบนก็ได้

»อ่านเพิ่มเติมคลิก 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนซื้อ สแลนกรองแสง ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีทำ โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบง่าย ๆ

โรงเรือนปลูกผัก

วิธีทำ โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบง่าย ๆ สำหรับในบทความนี้ จะพามาทำโรงเรือนขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 6 เมตร โดยใช้ท่อพีวีซีเป็นวัสดุหลัก เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด และ อยากสร้างโรงเรือนไว้ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ภายในบ้าน

อุปกรณ์และวัสดุ

  • ท่อพีวีซี 1 ½ นิ้ว 2 เส้น
  • ท่อพีวีซี 1/2 นิ้ว 10 เส้น
  • ข้อต่อตรงลดพีวีซี 1 ½ – ½ นิ้ว 8 ชิ้น
  • ข้อต่อพีวีซี 3 ทาง (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
  • กรรไกรตัดท่อ PVC
  • เคเบิ้ลไทร์
  • กิ๊บล็อกสแลน 6 ชิ้น
  • ผ้าใบพลาสติก 1 ผืน
  • สแลนกันแดด 1 ผืน
  • อิฐบล็อก

วิธีทำ

  1. วัดขนาดโรงเรือน ให้ได้ขนาด 2 x 6 เมตร พร้อมปรับสภาพพื้นที่ ให้เรียบเสมอกัน
  2. ใช้กรรไกรตัดท่อ PVC ตัดแบ่ง ท่อพีวีซี 1 ½ นิ้ว ออกเป็น 8 ท่อน ท่อนละ 70 เซนติเมตร
  3. ขุดหลุมเสา ลึก 20 เซนติเมตร แล้วนำท่อพีวีซี 1 ½ นิ้ว ปักลงไปให้แน่น ให้อยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ให้กรอกดินลงไปภายในท่อพีวีซีด้วย
  4. ใส่ข้อต่อตรงลดพีวีซี 1 ½ – ½ นิ้ว ที่ปลายท่อ จากนั้น ใส่ท่อพีวีซี ½ นิ้ว แล้วงอท่อพีวีซีให้โค้ง ยึดกับฐานเสาซ้าย – ขวาทั้ง 2 ข้าง เพื่อทำเป็นโครงหลังคา โดยหากยาวไม่พอดี ให้ใช้ข้อต่อพีวีซี 3 ทาง ยึดตรงกลางไว้ด้วย
  5. หลังจากขึ้นโครงหลังคาเสร็จเรียบร้อย ให้นำท่อพีวีซี ½ นิ้ว จำนวน 1 เส้น มายึดเป็นคานเสาด้านบนตรงกลาง เชื่อมระหว่างโครงหลังคาแต่ละเส้นให้เรียบร้อย
  6. เสร็จแล้ว ให้นำท่อพีวีซี ½ นิ้ว 4 เส้น ยึดโครงหลังคาซ้าย – ขวา เพิ่มอีกฝั่งละ 2 เส้น เพื่อเสริมความแข็งแรง โดยใช้เส้นเคเบิ้ลไทร์มัดเอาไว้ แล้วเจาะยึดตะปูให้แน่น
  7. นำท่อพีวีซี ½ นิ้ว อีก 2 เส้น มาขึ้นโครง ทำเป็นประตูสำหรับเปิด – ปิด ด้านหน้า
  8. นำผ้าใบพลาสติกคลุมปิดให้มิด โดยแนะนำให้เอาม้วนผ้าใบพลาสติก วางขึ้นไปบนโครงหลังคาก่อน แล้วค่อย ๆ กลิ้งลงมาซ้าย – ขวา จะทำได้ง่ายมากขึ้น
  9. ใช้กิ๊บล็อกสแลน ยึดผ้าใบพลาสติกกับท่อพีวีซีให้แน่น แล้วใช้อิฐบล็อกวางทับชายผ้าใบพลาสติกด้านล่าง เพื่อถ่วงน้ำหนัก ป้องกันลมพัดผ้าใบปลิว
  10. ปิดทับด้านบน หรือ ด้านข้าง ด้วยสแลนกันแดดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อกรองแสงแดด เป็นอันเสร็จ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ วิธีทำ โรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ SGE นำมาฝาก ทำตามได้ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ หากใครอยากได้โรงเรือนปลูกผักไว้ในบ้าน สามารถปลูกเก็บกิน หรือ เก็บขายได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแบบสำเร็จรูป ราคาแพงแล้วละก็ ลองทำตามได้เลย รับรองว่า ประหยัดงบ ทำได้ง่าย ปลูกผักสลัดได้ตลอดทั้งปี แน่นอน

สำหรับใครที่อยากได้สแลนกันแดด ไว้ใช้งานกับโรงเรือนปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ แนะนำให้ใช้ สแลนกันแดด ตาข่ายกันแดด ของ SGE ช่วยลดแสงได้ตั้งแต่  40% – 95%  มีความเหนียวทนทาน ไม่ขาดง่าย พร้อมให้บริการสั่งแบ่งตัดได้ตามขนาดที่คุณต้องการ สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/shading-net/ หรือ สอบถามผ่าน โทรศัพท์ Line ของเราได้เลย


บทความที่น่าสนใจ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

30 มกราคม 2024

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

guest
0 Comments
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด