พารู้จัก GMP คืออะไร? มาตรฐาน GMP ใช้วัดอะไร?
มารู้จัก GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice ข้อปฏิบัติ คำแนะนำของหน่วยงานควบคุมเกี่ยวกับการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือทางการแพทย์ คำแนะนำนี้ บอกถึงความต้องการขั้นต่ำที่ผู้ผลิตจะต้องทำตาม เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สินค้าที่ได้ จะคงคุณภาพตามความตั้งใจ กฎที่ใช้ในแต่ละอุตสาหกรรม อาจมีความแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามจุดประสงค์หลักของ มาตรฐาน GMP คือ การปกป้องอันตรายสู่ผู้บริโภคนั่นเอง
สำหรับGMP ในประเทศไทยนั้น เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2529 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างเป็นลำดับตามความสำคัญต่อการบริโภค และต่อเศรษฐกิจของประเทศ
General GMP (ครอบคลุมอาหาร 57 ประเภท)
1. สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต อยู่ในที่ไม่ปนเปื้อนง่าย สะอาด อาคารมีขนาดเหมาะสม ออกแบบง่ายต่อการบำรุงรักษา และทำความสะอาด จัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน แสงว่างเพียงพอ ระบายอากาศได้ดี มีการป้องกันสัตว์ และแมลงตามประตูหน้าต่าง
2. เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ง่ายต่อการทำความสะอาด จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอ ไม่เกิดความล่าช้าในการผลิต เพราะอาจทำให้ อาหารเน่าเสียได้ หลังจากใช้งาน ล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อ และเก็บให้เป็นสัดส่วน หมั่นตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ
3. การควบคุมกระบวนการผลิต คัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพดี เก็บรักษาอย่างดี ไม่ปนเปื้อน ป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ การผลิต การเก็บรักษา การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์ ต้องดำเนินการ ภายใต้สภาวะควบคุมการเสื่อมสลายของอาหาร หากใช้สารเคมี จะต้องควบคุมปริมาณไม่ให้เกินกำหนด
4. การสุขาภิบาล น้ำที่ใช้ภายในโรงงาน ต้องเป็นน้ำสะอาด ปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็น ห้องน้ำ มีจำนวนเพียงพอ ตั้งแยกกับบริเวณผลิต มีมาตรการป้องกันจำกัดหนู แมลง และสัตว์พาหะอื่น ๆ มีระบบกำจัดขยะมูลฝอย ไม่ให้มาปนเปื้อนในกระบวนการผลิต มีการดักเศษอาหารในท่อน้ำทิ้ง
5. การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด ทำความสะอาด ดูแลเก็บรักษาหลังการใช้งาน ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ ที่สัมผัสอาหาร มีการใช้สารเคมี สำหรับทำความสะอาดอย่างถูกต้อง จัดเก็บไม่ให้ปนเปื้อนกับอาหาร
6. บุคลากร และสุขลักษณะ ผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรค ติดสุรา ยาเสพติด แต่งกายให้เหมาะสม ไว้เล็บสั้น ล้างมือทุกครั้งก่อน และออกจากห้องน้ำ สวมหมวดคลุมผม ไม่สูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารระหว่างปฏิบัติงาน ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เพียงพอ
มาตรฐาน GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP
เป็นข้อกําหนดที่ เพิ่มเติมจาก มาตรฐาน GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยง และความปลอดภัย ของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะ อย่างข้อกําหนด GMP น้ำบริโภค และข้อกําหนด GMP นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ ด้วยความร้อน โดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น โดยแต่ละข้อกำหนด ก็จะมีในเรื่องของการบังคับ ในกระบวนขั้นตอนต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปอีก
หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่ สถานที่ตั้ง ของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุม ตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่ง จนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบ และติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการ 2 ที่ดี ในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ และความปลอดภัย สำหรับผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐาน ก่อนที่จะพัฒนา ไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป
เรียบเรียงจาก : http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/GMP_2.pdf