How to เตรียม ดินปลูกต้นไม้ ได้ดินคุณภาพ พืชโตไว
เป็นที่รู้กันว่า ดิน ที่มีสภาพร่วนซุย เป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชมากที่สุด เพราะช่วยให้รากชอนไชหาน้ำ และอาหารได้สะดวก ดินปลูกต้นไม้ ที่ดีนั้น ควรมีความพรุน และมีช่องว่างให้น้ำ และอากาศแทรกตัวอย่างพอเหมาะ มีความเป็นกรด เป็นด่างที่พอดี แต่หากดินในสวน ที่เราต้องการปลูกพืช ไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เช่น เกิดปัญหาดินแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร ดินเหนียว ดินลูกรัง ดินกรด ก็จำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูดินให้เหมาะสำหรับปลูกต้นไม้
บทความนี้ SGE มีเทคนิคง่าย ๆ ในการ เตรียมดินปลูกต้นไม้ การปรับปรุงดิน ฟื้นฟูสุขภาพดิน มาฝากกัน จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกัน
ชนิดของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช
ดินประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แร่ธาตุ อินทรียวัตถุ หรือซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย น้ำ และอากาศ ทั้งนี้ ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ต้องดูที่หน้าดินด้วย เช่น
- ดินชั้นบน หรือชั้นไถพรวน มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกพืชมาก เนื่องจากรากของพืชส่วนมากจะชอนไชหาอาหาร ณ ดินชั้นนี้ ดินชั้นบนเป็นชั้นที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ปกติดินชั้นบนจะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น ๆ ใช้สำหรับการทำการเพาะปลูกพืชทั่ว ๆ ไป จะต้องมีความหนาตั้งแต่ 0-15 ซม.
- ดินชั้นล่าง รากพืชของต้นไม้ยืนต้น จะมีรากชอนไชลงไปถึงชั้นนี้ได้ และมีอินทรียวัตถุน้อยกว่าชั้นบน ดังนั้นดินซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกควรต้องมีหน้าดิน รวมดินชั้นบนและดินชั้นล่าง มีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
คุณสมบัติของดิน
ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช มี 3 ชนิด ได้แก่
-
ดินเหนียว
เป็นดินมีความละเอียดมากที่สุด ยืดหยุ่นได้ดี เมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จากความเหนียว จึงทำให้พังได้ยาก อุ้มน้ำดี รวมทั้งการจับยึด และดูดธาตุอาหารของพืช ทำได้ค่อนข้างสูง จึงมีแร่ธาตุอาหารของพืชอยู่มาก เหมาะสำหรับใช้ปลูกข้าว เนื่องจากกักเก็บน้ำได้นาน
-
ดินทราย
เป็นดินร่วน เกาะตัวกันไม่แน่น จึงทำให้ระบายทั้งน้ำ และอากาศได้อย่างดีเยี่ยม แต่อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายได้ง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากความสามารถในการจับธาตุอาหารมีน้อย ทำให้พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายขาดน้ำ และธาตุอาหารได้ง่าย
-
ดินร่วน
เป็นดินค่อนข้างละเอียด จับแล้วนุ่ม มีความยืดหยุ่นพอสมควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารของพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูกเป็นอย่างมาก แต่ดินร่วนแบบของแท้ มักไม่ค่อยพบในธรรมชาติ แต่ก็จะพบดิน ซึ่งมีเนื้อดินใกล้เคียงกันเสียมากกว่า
เมื่อมีดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชแล้ว ต้องมาดูกันว่าดินแบบไหนที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช ดินที่พืชไม่ชอบ คือ ดินแบบมีน้ำขัง หรือดินลักษณะแน่นทึบ พืชจะไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจาก รากพืชขาดอากาศสำหรับใช้หายใจ ทำให้ไม่อาจดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ พืชกินอาหารแบบสารละลาย ดังนั้น ถ้าปราศจากความชื้นในดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากแค่ไหน แต่พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้ จำเป็นต้องมีน้ำไปหล่อเลี้ยงนั่นเอง
วิธีการเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชผัก
1. การเตรียมการก่อนปลูกพืชผัก
- ก่อนอื่น ต้องพิจารณาดูเสียก่อนว่า พืชผักที่จะนำมาปลูกชอบดินลักษณะใด เมื่อเลือกต้นไม้ที่ชอบสภาพ และลักษณะดินได้แล้ว ก็จะต้องเตรียมดินปลูกในหลุมนั้น โดยการขุดหลุมเล็ก หรือใหญ่ตามขนาดของต้นไม้ ควรขุดหลุมกว้าง หรือลึกเท่ากับความยาวของรากแก้ว เมื่อขุดดินแล้ว ตากดินนั้นไว้ที่ปากหลุม ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืชออกไป
- เมื่อตากดินไว้ 1 สัปดาห์แล้ว ให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน ปูนขาว 1 ส่วน ผสมกับดินให้เข้ากัน แล้วนำใส่ก้นหลุม นำต้นไม้ที่เตรียมไว้ปลูกวางลงบนดินที่ผสมไว้ และปักหลักผูกกับต้นไม้ไว้ไม่ให้ล้ม
- เอาดินที่ขุดตากไว้ใส่ลงในหลุมดิน พลิกดิน โดยเอาดินที่เป็นส่วนตอนบนใส่ลงไปข้างล่าง เอาดินส่วนล่างก้นหลุมกลบไว้ข้างบน กดให้แน่น เพื่อไม่ให้ต้นไม้เอนไปมา หาวัตถุพวกหญ้าแห้ง แกลบ ฟาง คลุมดินไว้ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- ควรจะปลูกในตอนเย็น และถ้าต้นไม้นั้น เป็นต้นไม้ที่ถอนกล้า หรือเป็นต้นเล็กมาปลูก ต้องทำที่กำบังแดดจนกว่าต้นไม้จะทรงตัวได้
2. การปลูกพืชผักในแปลง
- ก่อนปลูก ต้องทำแปลงขนาดกว้างยาวตามพื้นที่ แต่ความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ถ้าแปลงกว้างไป จะทำให้ดูแลรักษายาก ให้ทำการขุดดินตามขนาดที่กำหนดไว้ และเก็บวัชพืชที่อยู่ในดินออกให้หมด ตากดินให้แห้ง ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วทำการย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ผสมดินด้วยปุ๋ยคอก ปูนขาว และปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ 1 ส่วน เมื่อผสมได้แล้ว ให้ทำเป็นรูปแปลง เตรียมที่จะปลูกพืชผักต่อไป
- ก่อนที่จะปลูก ต้องดูว่า ต้นไม้ที่จะนำมาปลูกนั้น จะปลูกเป็นแถวติดกัน หรือห่างกัน ถ้าห่าง ก็ขุดดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ไว้ตามระยะที่พอเหมาะ ถ้าจะปลูกเป็นแถว ให้ทำดินให้เป็นรางติดต่อกันไป
- การถอนกล้ามาปลูก ควรทำในตอนเย็น และควรขุดให้มีดินติดมาด้วย อย่าให้รากขาด ถ้ารากขาด จะทำให้ต้นไม้โตช้า นำต้นกล้ามาปลูกลงในร่อง หรือหลุมนั้น เมื่อตั้งต้นกล้าลงในหลุมได้ที่แล้ว ก็เอาดินกลบกดดินให้แน่น เพื่อให้รากเกาะกับดิน ให้คลุมดินด้วยหญ้า หรือฟาง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และทำร่มเงาแก่ต้นกล้า จนกว่าต้นจะทรงตัวได้
3. การปลูกต้นไม้ลงกระถาง
- ก่อนที่จะปลูกต้นไม้ลงในกระถาง จะต้องเลือกกระถางให้มีขนาดพอเหมาะกับต้นไม้ เมื่อได้กระถางมาแล้ว ให้หากระเบื้องแตก ปิดรูก้นกระถาง ทุบอิฐมอญเป็นก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงก้นกระถาง สูงประมาณ 1 นิ้ว เพื่อช่วยในการระบายน้ำได้ดีขึ้น
- ผสมดินสำหรับปลูก ดินร่วน 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน เอาดินที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปประมาณครึ่งกระถาง เอาต้นไม้วางลง แล้วเอาดินที่ผสมไว้ใส่ลงเกือบเต็มกระถาง กดดินให้แน่น เพื่อไม่ให้ต้นไม้ล้ม รดน้ำให้ชุ่ม แล้ววางในที่ร่ม หรือพักไว้ในเรือนต้นไม้จนกว่าต้นไม้จะทรงตัว แล้วจึงนำออกไปวางเป็นไม้ประดับได้
เทคนิคการฟื้นฟู ดินปลูกต้นไม้ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแล้ว ให้ไถกลบตอซังลงดิน คลุมผิวดินด้วยเศษหญ้าหรือฟางข้าว หากมีความชื้นในดิน ควรหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่วลงในแปลง พุ่มใบจะบังแสงไม่ให้ส่องตรงถึงพื้นดิน ปมรากถั่วมีจุลินทรีย์ ไรโซเบียม ช่วยจับไนโตรเจนจากอากาศให้อยู่ในรูปที่ต้นพืช สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
- ในระยะแรกดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกร่วมด้วย เพื่อยกระดับอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น หมั่นปลูกพืชหมุนเวียน ให้เว้นการปลูกพืชชนิดเดียวกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีการไถพรวนอย่างเหมาะสม ระวังอย่าใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักมากเข้ามาในแปลง
- เมื่อปรับสภาพดินให้ใกล้เคียงกับดินในอุดมคติ คือ มีเนื้อดิน อินทรียวัตถุ ความชื้นและอากาศ ในอัตรา ร้อยละ 45, 5, 25 และ 25 ตามลำดับ ก็จะสามารถปลูกพืชในดินที่ปรุงแต่งนั้นได้โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด อีกทั้ง โรคแมลง ก็จะระบาดน้อยลง เนื่องจากต้นพืชเติบโตตามธรรมชาติเซลล์ จึงแข็งแรง และทนต่อโรคแมลงศัตรูได้ดี ลองนำไปปฏิบัติในแปลงปลูกพืชผักของคุณ ก็จะได้ผลตามต้องการ
เราขอแนะนำตัวช่วยดี ๆ กระถางผ้า หลากหลายขนาด ปลูกได้ทั้งต้นไม้ พืชผักสวนครัว แข็งแรงทนทาน ใช้ได้ยาวนานอย่างแน่นอน
กระถางผ้าปลูกต้นไม้ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับปลูกพื้นทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการปลูกพืชไว้นอกบ้าน จะช่วยในเรื่องอากาศถ่ายเทเข้า-ออก ระบายความร้อนในกระถาง และกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับพืชได้ดี โดยผลิตจากผ้าใยชนิดพิเศษ ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่เกิดเชื้อรา เป็นมิตร และทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี มีความหนา แข็งแรงใช้งานได้ยาวนานโดยไม่เสียรูปทรง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
16 ตุลาคม 2024
โดย
ลำดวน