ชวนรู้จักกับ พีทมอส (Peat Moss) คืออะไร? แตกต่างจากดินถุงอย่างไร?
หลาย ๆ คน คงเคยได้ยิน “พีทมอส (Peat Moss)” กันมาบ้างแล้ว เป็นอีกหนึ่งวัสดุปลูกที่ดีที่สุด สำหรับการเพาะเมล็ด และต้นกล้า แล้วพีทมอส คืออะไร? ประโยชน์ ข้อดี-ข้อเสีย เป็นอย่างไร? ตาม SGE ไปรู้จักกับพีทมอส ให้มากขึ้นกัน
รู้จัก พีทมอส (Peat moss)
พีทมอส (Peat Moss) เป็นอินทรียวัตถุจากธรรมชาติที่ทับถมกันมานานมากกว่า 1,000 ปีขึ้นไป โดยจะพบในบริเวณบึง พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ที่มีน้ำขัง และมีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น
พีท (Peat) ซากพืชที่ทับถมกันมานานเป็นเวลานานนับพันปี และ มอส (Moss) เป็นพืชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก ก่อตัวเป็นก้อนเรียงตัวเป็นแผ่นติดกันหนาแน่น มักขึ้นในบริเวณที่มีความชื้นสูง
ชนิดของพีทมอส มีกี่แบบ?
เรียกได้ว่า ในทางการค้านั้น ผู้ผลิตพีทมอส จะแยกพีทมอสออกเป็น 2 ชนิด คือ
- พีทมอสขาว (White Peat Moss) คือ พีทมอสที่อยู่ชั้นบน ๆ (H1-H5) ยังย่อยสลายไม่มาก มีคุณสมบัติเป็นเนื้อหยาบ มีสีน้ำตาลอ่อน มีความชื้นไม่สูงนัก เหมาะสำหรับใช้เป็น พีทมอสแบบปลูก และพีทมอสแบบเพาะ ที่ไม่ต้องการความชื้นมากนัก
- พีทมอสดำ (Black Peat Moss) คือ พีทมอสที่อยู่ช้าล่าง ๆ ลงไป (H5-H9) มีคุณสมบัติเป็นเนื้อละเอียด มีความชื้นสูง มีสีออกดำ เหมาะกับการใช้เพาะต้นกล้า แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ใช้พีทมอสดำในการทำเป็น พีทมอสแบบปลูก เพราะว่า มีความละเอียด และทำให้แน่นเกินไปนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมี พีทมอสน้ำตาล (Brown PeatMoss) เป็นพีทมอสที่อยู่ระหว่างพีทมอสขาว และพีทมอสดำ (H4-H6) แต่จะมีเพียงผู้ผลิตบางเจ้าเท่านั้นที่ระบุ specication ของพีทมอสว่าเป็นพีทมอสน้ำตาล
ส่วนใหญ๋ผู้ผลิต จะทำการผสมพีทมอสขาวและพีทมอสดำเข้าด้วยกัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และยังมีการเติมวัสดุอื่น ๆ เช่น perlite ไฟเบอร์ หรือ โคโค่พีท ลงไป เพื่อให้ได้พีทมอสที่เหมาะสมกับการปลูกต้นไม้ในแต่ละชนิด ดังนั้นควรศึกษาให้ละเอียดก่อนเลือกไปเพาะปลูกด้วย
และในปี 1926 Lennart von Post ได้ทำการแบ่งพีทมอส ออกเป็น 10 ระดับชั้น โดยแบ่งแยกตามระดับความชื้น และระดับการย่อยสลาย และตั้งชื่อแผนภูมิของเขาว่า von post scale ดังนี้
- H1 เป็นชั้นที่ยังไม่มีการย่อยสลาย เมื่อใช้มือบีบ จะมีน้ำใสเกือบ 100% ไหลออกมา
- H2 เป็นชั้นที่เกือบจะยังไม่มีการย่อยสลาย เมื่อใช้มือบีบ จะมีน้ำสีใสออกเหลืองไหลออกมา
- H3 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายเล็กน้อยมาก เมื่อใช้มือบีบ จะมีน้ำสีน้ำตาลขุ่นไหลออกมา เนื้อพีทมีความหยาบ
- H4 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายเล็กน้อย เมื่อใช้มือบีบ จะมีน้ำสีน้ำตาลขุ่นเข้มไหลออกมา เนื้อพีทมีความหยาบ มีลักษณะซีดขาว
- H5 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายปานกลาง เมื่อใช้มือบีบ จะมีน้ำสีโคลนไหลออกมา เนื้อพีทมีความละเอียด โครงสร้างของพีทเริ่มระบุได้ไม่ชัดเจน แต่ยังสามารถระบุได้บางส่วน
- H6 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายสูงปานกลาง โดยการระบุโครงสร้างของพีทในชั้นนี้เป็นได้ยากยิ่งขึ้น เมื่อใช้มือบีบ ประมาณ 1 ใน 3 ของพีทจะผ่านนิ้วมือไป
- H7 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายระดับสูง การระบุชนิดพีททำได้ยาก เมื่อใช้มือบีบ ประมาณครึ่งนึงของพีทจะผ่านนิ้วมือไป น้ำที่ไหลออกมา จะเป็นสีดำสนิท
- H8 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายระดับสูง การระบุชนิดพีททำได้ยาก เมื่อใช้มือบีบ ประมาณครึ่งนึงของพีทจะผ่านนิ้วมือไป น้ำที่ไหลออกมา จะเป็นสีดำสนิท
- H9 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายเสร็จสิ้น การระบุชนิดพีทเป็นไปได้ยากมาก เมื่อใช้มือบีบ พีทเกือบทั้งหมดจะผ่านนิ้วมือได้ แต่จะไม่มีน้ำออกมา
- H10 เป็นชั้นที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์แบบ ไม่สามารถระบุชนิดพีทได้แล้ว เมื่อใช้มือบีบ พีททั้งหมดจะผ่านนิ้วมือได้ แต่จะไม่มีน้ำออกมา
ข้อดี-ข้อเสียของพีทมอส (PeatMoss)
ข้อดี
- มีคุณสมบัติสะอาด ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน ทำให้หญ้าไม่ค่อยขึ้นมากับดิน ไม่มีโรค ไม่มีแมลงที่ติดมากับดิน
- มีคุณสมบัติปลอดเชื้อ ไม่มีแบคทีเรีย ไม่มีเชื้อรา และสารเคมีเจือปน จึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะต้นกล้า
- กักเก็บความชื้นได้ดี สามารถกักเก็บความชื้นได้มากถึง 60-68% ของน้ำหนักตัวเอง
- มีคุณสมบัติไม่แน่นเหมือนกับดินทั่ว ๆ ไป ช่วยให้รากพืชเดินดี น้ำระบายดี มีออกซิเจนสูง
ข้อเสีย
- พีทมอสตามธรรมชาติ มีค่า pH ค่อนไปทางกรด (4.0-4.5) จึงเหมาะกับการปลูกพืช ที่ชอบความเป็นกรดเท่านั้น
- พีทมอสโดยธรรมชาติ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชน้อย และไม่มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับพืช
- พีทมอสจะเก็บน้ำได้ 10 เท่าของน้ำหนักตัว หากเกิดการขาดน้ำจนแห้งสนิท จะต้องใช้เวลานานถึงจะเก็บกักความชื้นได้อีกครั้ง ดังนั้น ถ้าเผลอปล่อยให้พีทมอสแห้งสนิท อาจทำให้พีชตายจากการขาดน้ำได้
- มีราคาแพง
การนำพีทมอสไปใช้งาน ทำได้อย่างไร?
-
ใช้ผสมดินปลูก
เป็นการบำรุงดิน ปรับปรุงคุณภาพดิน หากนำมาผสมดินเหนียว หรือดินที่จับตัวเป็นก้อน จะทำให้โครงสร้างของดินอ่อนตัว ช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น โดยผสมในอัตราส่วน 2:1 (ดิน 2 ส่วน PeatMoss 1 ส่วน) และควรเช็คค่า pH หลังจากการผสมด้วย
-
ใช้เพาะเมล็ด เพาะต้นกล้า
จะนิยมนำพีทมอสมาเพาะเมล็ด เพาะต้นกล้า เพราะมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ป้องกันแบคทีเรีย ระบายน้ำ และอากาศได้ดี มีเนื้อละเอียด สารอาหารต่ำ จึงเหมาะกับการเพาะเมล็ดและเพาะต้ากล้ามากกว่าวัสดุปลูกอื่น ๆ
-
ใช้ปลูกพืช ที่ต้องการค่า pH เป็นกรด
พีทมอสจากธรรมชาติที่ไม่ได้ปรับปรุงค่า pH จะมีค่า pH ต่ำ มีสภาพเป็นกรด จึงเหมาะแก่ปลูกพืชที่ต้องการค่า pH ต่ำ เช่น บลูเบอร์รี่ ชวนชม คามีเลีย มะเขือเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้ พีทมอสสามารถแบ่งแยกตามการใช้งานได้ 2 แบบ คือ
- พีทมอสเพาะเมล็ด คือ ใช้ในการเพาะเมล็ด มีทั้งแบบพีทมอสขาว ความชื่นต่ำ หรือแบบพีทมอสดำ ความชื้นสูง ซึ่งเนื้อของพีทมอสเพาะเมล็ด จะมีความละเอียดสูง
- พีทมอสปลูก คือ ใช้ในการปลูกต้นไม้ จะผลิตมาจากพีทมอสขาว มีความชื้นไม่มาก มีความหยาบ มีเส้นใย ไม่แน่น มีช่องว่างให้น้ำผ่านได้ดี ทำให้มีออกซิเจนเพียงพอกับรากพืช
การเลือกซื้อพีทมอส
พีทมอสตามท้องตลาด มีจำหน่ายหลายยี่ห้อ หลายสูตร หากเลือกใช้ไม่เหมาะสมกับพืช อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ดีได้ ดังนั้น เราสามารถเลือกซื้อพืทมอสด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังนี้
- เลือกพีทมอสให้เหมาะกับการปลูก เช่น พีทมอสแบบเพาะ เหมาะกับการเพาะเมล็ด เพื่อเอามาปลูกต้นไม้ในกระถาง หากใช้ปลูกต้นไม้กระถาง ต้องเลือกซื้อเป็นพีทมอสแบบปลูก
- ตรวจสอบพีชที่ใช้ในการเพาะปลูก ว่าเป็นพืชประเภทไหน ต้องการความชื้นมากหรือน้อย
- ตรวจสอบอัตราการให้น้ำของพืชที่เพาะปลูก ให้น้ำน้อยะเลือกพีทมอสที่มีความชื่้นสูง และให้น้ำบ่อย เลือกพีทมอสที่มีความชื่นไม่สูงมาก
- ดู specification ของพีทมอสด้านหลังแพ็คเกจ จะบอกส่วนผสมของพีทมอสสูตรนั้น ๆ ว่ามี พีทมอสขาว พีทมอสดำ เท่าไหร่ มีปุ๋ยเท่าไหร่ มีการเติมอะไรเพิ่มเติมเข้าไปบ้าง
พีทมอส ต่างจาก ดินถุง อย่างไรบ้าง?
หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ดินถุง กับ พีทมอสนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนี้
- ดิน ไม่มีกระบวนการฆ่าเชื้อ อาจมีโรคปนเปื้อนมาในดิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ
- ดิน มีการอุ้มน้ำมาก และระบายน้ำได้ไม่ดี ซึ่งเมื่อกล้าได้รับน้ำมากเกินไป จะก่อให้เกิดโรคเน่า
- ดิน มีธาตุอาหารไม่สม่ำเสมอ แต่พีทมอส มีธาตุอาหารสม่ำเสมอ ทำให้กล้าเจริญเติบโตเท่า ๆ กัน
- ดิน มีน้ำหนักมากกว่าพีทมอส ทำให้การขนส่งลำบาก เพราะน้ำหนักมาก
จบไปแล้วพีทมอส วัสดุปลูกที่ดีที่สุดในการเพาะปลูก บทความนี้คงทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจกับพีทมอสกันมากขึ้นแล้วใช่ไหม อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกซื้อมาใช้ อย่าลืมหาข้อมูลให้ดี และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพืชที่จะนำมาปลูกด้วย เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดนั่นเอง
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- How to เตรียม ดินปลูกต้นไม้ ได้ดินคุณภาพ พืชโตไว
- “ธาตุอาหารพืช” ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต มีอะไรบ้าง?
- รู้จัก “พืชคลุมดิน” ชนิดต่างๆ กับประโยชน์มากมาย ที่ไม่ใช่แค่สวยงาม
- เครื่องเจาะดิน มีกี่ประเภท เลือกให้เหมาะกับงาน
- มูลไส้เดือน ประโยชน์ พร้อมวิธีทำ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ง่าย ๆ ที่บ้าน
- วัสดุคลุมดิน มีอะไรบ้าง มีข้อดี – ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร
นอกจากนี้ SGE ของเรายังมี อุปกรณ์การเกษตร ให้เลือกสรรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สแลนกันแดด กระถางผ้าปลูกต้นไม้ ผ้าคลุมดิน และอีกมากมายให้เลือกชมกัน พร้อมบริการดี ๆ หลังการขาย ที่แสนประทับใจอย่างแน่นอน สามารถเลือกชมสินค้าได้ www.sgethai.com
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน
อยากทราบชื่อ-นามสกุลผู้เขียนบทความค่ะ จะเอามาอ้างอิงประกอบการทำวิจัย