ทำความรู้จัก “ผักแขยง (กะแยง)” ผักพื้นบ้าน มากสรรพคุณ
สารบัญ
ผักแขยง คืออะไร ? วันนี้ SGE อยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับผักแขยง หรือผักกะแยงให้มากขึ้น พร้อมรู้สรรพคุณ ข้อควรระวัง และอื่น ๆ อีกมากมาย ไปกันเลย
ประโยชน์และสรรพคุณของผักแขยง
ผักแขยง พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น
1.ผักแขยง มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร
2.ป้องกันเส้นเลือดตีบตันและไข้ร้อนใน
3.แก้ไข้ ลดไข้ ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน
4.ผักแขยง ทั้งต้นและรากเป็นยาแก้ไข้หัวลม โดยใช้ในปริมาณตามต้องการ ก่อนนำมาใช้ให้ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำเพื่อดื่ม
5.ขับลมและเป็นยาระบายท้อง
6.ใช้แก้อาการคัน กลาก และฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำเพื่อล้างบริเวณที่มีอาการ
7.นำมาตำเพื่อพอกแก้อาการบวม
8.ใช้เป็นยาแก้พิษงู (สำหรับงูพิษที่มีพิษไม่ร้ายแรง) ด้วยการใช้ต้นสด ๆ ประมาณ 15 กรัม นำมาตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด ประมาณ 30 กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำส้ม ในปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือให้เอามาพอกรอบ ๆ บาดแผล ห้ามพอกบนบาดแผลเด็ดขาด
9.ต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเบื่อเมา
10.ผักแขยง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยในการต้านมะเร็ง และต้านการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ ได้อ่านเพิ่มเติม
ข้อควรระวังในการบริโภคผักแขยง
1. สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานผักแขยง เพราะอาจทำให้เกิดอาการผิดสำแดง
2. สตรีหลังคลอดควรระมัดระวังในการรับประทานผักแขยงเพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้
3. ผักแขยงมีสารแคลเซียมออซาเลตสูง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในบริโภค หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่วในอวัยวะต่าง ๆ ได้
ผักแขยง (Rice paddy herb)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Limnophila aromatica
ชื่อสามัญ
Rice paddy herb
ชื่อวงศ์
Scrophulariaceae, Plantaginaceae
ถิ่นกำเนิด
ทวีปเอเชีย
ผักแขยง (Rice paddy herb) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งคลอบคลุมหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ ไทย ลาว กัมพูชา และมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยัง ญี่ปุ่น ไต้หวัน รวมถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยในประเทศไทยพบผักแขยง ได้ทั่วทุกภาคของประเทศยกเว้นภาคใต้ที่หาได้ค่อนข้างน้อยหรือไม่มีเลย แต่จะพบได้มากทางภาคอีสาน และภาคเหนือ บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ ริมคันนา ริมหนองน้ำ และยังถูกจัดให้เป็นวัชพืชในนาข้าวอีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแขยง
ลำต้น
เรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่น ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน
ใบ
เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3 – 10 มิลลิเมตร ยาว 1 – 3 เซนติเมตร ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ
ดอก
ช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2 – 10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดเล็ก ๆ คล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน
ผล และเมล็ด
มีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แบบตะเข็บ 2 ข้าง ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีดำ และปริแตกเมื่อฝักแก่เต็มที่ ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก เรียงกันเป็นแถวเดียว เมล็ดมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก ประมาณ 1.6 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดมีสีดำ หรือน้ำตาลอมดำ ผิวเมล็ดเรียบ
สายพันธุ์ของผักแขยง
ผักแขยง หรือผักกะแยง ตามหลักทางพฤกษศาสตร์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ Limnophila aromatica (Lam.) Merr. และ Limnophila geoffrayi Bonati.
1 Limnophila aromatica (Lam.) Merr.
1 Limnophila aromatica (Lam.) Merr.
จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักพา (ภาคเหนือ), จุ้ยหู่โย้ง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยฝูโหยง (จีนกลาง), ผักกะแยง แขยง คะแยง ผักกะออม มะออม ผักลืมผัว ควันเข้าตา อีผวยผาย
2 Limnophila geoffrayi Bonati
2 Limnophila geoffrayi Bonati
จัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง (SCROPHULARIACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะแยงแดง (อุบลราชธานี), กะแยง กะออม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักพา (ภาคเหนือ)
ข้อมูลโภชนาการผักแขยง
ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม
สารอาหาร | ปริมาณ | หน่วย |
---|---|---|
แคลอรี (kcal) | 20 | กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 4 | กรัม |
โปรตีน | 1 | กรัม |
ใยอาหาร | 1.2 | กรัม |
ไขมันทั้งหมด | 0 | กรัม |
น้ำตาล | 0 | กรัม |
โพแทสเซียม | 0 | มิลลิกรัม |
คลอเรสเตอรอล | 0 | มิลลิกรัม |
โซเดียม | 0 | มิลลิกรัม |
แหล่งข้อมูลประกอบ: Calforlife
วิธีการปลูกผักแขยง
ผักแขยง หรือผักกะแยง เป็นผักพื้นบ้านสำคัญทางภาคอีสาน และไม่ถูกพบทางภาคใต้ ซึ่งในประเทศไทย ถูกเรียกได้หลายชื่อตามภาษาถิ่นในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาเหนือ เรียกว่า ผักพา ภาษากลาง เรียกว่า ผักลืมผัว, ผักแขยง ภาษาอีสาน เรียกว่า กะออม, กะแยง, กะแยงแดง, ผักขะแยง, ผักอีผวยผาย โดยในอดีตค่อนข้างหาง่ายตามท้องนา แต่ปัจจุบันที่มีการใช้สารเคมีในนาข้าวเพื่อกำจัดวัชพืช ส่งผลให้มีสารเคมีตกค้าง ดังนั้น SGE จะมาแนะนำวิธีปลูกผักแขยง ง่าย ๆ สำหรับคนที่ต้องการปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนกันค่ะ
แนะนำเมนูผักแขยง
“ผักแขยง” สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยาก็ได้เป็นอาหารก็ดี
1 คั่วหน่อไม้ใส่ผักแขยง
เมนูบ้าน ๆ ทำทานได้ง่าย ๆ ได้กลิ่นอายท้องนา แค่เห็นภาพก็คิดถึงบ้านแล้ว
วัตถุดิบ
– หน่อไม้สดต้มแล้ว 500 กรัม
– เนื้อสัตว์ 300 กรัม
– ผักแขยง 1 กำมือ
– หอมแดง 3 หัว
– ตะไคร้ 2 ต้น
– พริก 5-6 เม็ด
– น้ำปลาร้าอ่านเพิ่มเติม
2 แกงไก่ใส่ผักแขยง
เมนูนี้ได้ซดน้ำทีก็มีแฮง บวกกับกลิ่นของผักแขยงหอม ๆ น้ำลายไหลแล้วเจ้าค่ะ
วัตถุดิบ
– พริกขี้หนูสวน 11 เม็ด
– ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
– ตะไคร้ซอย 2 ต้น
– น้ำสต็อกไก่ 2 1/2 ถ้วย
– สะโพกไก่ลอกหนังหั่นชิ้นพอคำ 200 กรัม
– ข้าวเหนียวนึ่งปิ้งจนกรอบโขลก 2 ช้อนโต๊ะ
– น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
– น้ำปลาร้า 1 1/2 ช้อนโต๊ะอ่านเพิ่มเติม
3 ต้มปลานิลใส่ผักแขยง
สำหรับเมนูแนะนำสุดท้ายนี้ เป็นเมนูที่ทานง่ายไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถทานได้ เนื้อปลานิ่ม ๆ ซดน้ำซุปอุ่น ๆ ตามเข้าไป หรือจะตักไปคลุกกับข้าวก็แสนจะน่ากิน นึกถึงสมัยวัยละอ่อนที่แม่ต้องวิ่งไล่ตามป้อนข้าวกันเลยทีเดียว แถมผักแขยงยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดีอีกด้วย
วัตถุดิบ
– ปลานิล 1 ตัว
– ผักขะแยง 1 กำมือ
– ต้นหอม 2 ต้น
– ผักชี 2 ต้น
– ข่าหั่นแว่น 5 แว่น
– ตะไคร้ 2 ต้น
– ใบมะกรูด 5 ใบอ่านเพิ่มเติม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้ที่ SGE นำมาฝากกันในวันนี้ ได้รู้จัก “ผักแขยง” มากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน สมุนไพรพื้นบ้านมากสรรพคุณแบบนี้อยากให้นักอ่านทุกท่านอนุรักษ์ไว้นะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ <3
23 พฤษภาคม 2024
โดย
จอมนอน