“ถั่วฝักยาว” ประโยชน์ โทษที่ต้องรู้ก่อนกิน พร้อมเมนูถั่วฝักยาวยอดฮิต
สารบัญ
ถั่วฝักยาว (Yard Long Bean) หนึ่งในผักยอดฮิตของคนไทย นิยมนำมาทำอาหารและเป็นผักเคียงในเกือบทุกเมนู ผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างไร มีข้อควรระวังหรือไม่ และมีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง ตามไปหาคำตอบกัน!
ประโยชน์ ถั่วฝักยาว ผักคู่ครัวคนไทย
ถั่วฝักยาว มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ดังนี้
- บำรุงกระดูกและฟัน ถั่วฝักยาวมีแคลเซียมและวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมความแน่นให้มวลกระดูก
- ป้องกันโรคโลหิตจาง ถั่วฝักยาวมีธาตุเหล็กสูง ส่วนประกอบสำคัญในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
- ดีต่อระบบย่อยอาหาร ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ ป้องกันอาการท้องผูก ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
- ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ถั่วฝักยาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็ง ชะลอกระบวนการแก่ชรา ลดภาวะอัลไซเมอร์ได้
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ถั่วฝักยาวมีวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันหวัด ไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
- ลดความดันโลหิต ถั่วฝักยาวมีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิต ตลอดจนรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
- ดีต่อผิวพรรณ เส้นผม ถั่วฝักยาวมีวิตามินเอ วิตามินซี ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เส้นผมดกดำ เงางาม
- ดีต่อคนควบคุมน้ำหนัก ถั่วฝักยาวมีใยอาหารสูง แคลอรี่ต่ำ ช่วยให้อิ่มนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
คำถามที่หลายคนสงสัย
-
ถั่วฝักยาวเป็นผักหรือผลไม้?
ถั่วฝักยาว ตามหลักวิชาการเกษตร จัดเป็น “ผัก” เพราะเรานำมาเป็นส่วนประกอบอาหาร หรือนำมารับประทานเป็นผักคู่กับอาหารคาวต่าง ๆ
-
ถั่วฝักยาวมีกี่แคลอรี่?
ถั่วฝักยาวปริมาณ 100 กรัม 45 กิโลแคลอรี
-
ถั่วฝักยาวกินดิบได้ไหม?
สามารถถินถั่วฝักยาวดิบได้ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก ๆ เพราะในถั่วฝักยาวมี “ไกลโคโปรตีน” และ “เลคติน” สูง หากทานเยอะเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดอาการท้องเสียได้
- กินถั่วฝักยาวยังไงให้สุขภาพดี?
ไม่ควรกินดิบ ควรลวก นึ่ง หรือทำให้สุกก่อนรับประทาน แต่หากต้องการกินดิบ ต้องล้างให้สะอาดมาก ๆ และต้องกินให้พอดี โดยทั่วไป แนะนำให้ทานไม่เกิน 100 กรัม/วัน (ประมาณ 1 ถ้วย) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ กิจกรรม และสุขภาพโดยรวม
-
ถั่วฝักยาวราคาเท่าไหร่?
ถั่วฝักยาว 1 กิโลกรัม ราคา 30 – 50 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ กลไกทางการตลาด และเศรษฐกิจขณะนั้น
-
ถั่วฝักยาวราคาแพงช่วงไหน?
เนื่องจากถั่วฝักยาวเจริญเติบโตดีในช่วงฤดูร้อน ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจึงเป็นช่วงที่ถั่วฝักยาวแพงที่สุด เพราะฝนตกชุกอาจทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย ส่วนหน้าหนาวถั่วฝักยาวจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย
ข้อมูลโภชนาการถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว ปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนี้
สารอาหาร | ปริมาณ | หน่วย |
พลังงาน | 47 | กิโลแคลอรี |
คาร์โบไฮเดรต | 8.35 | กรัม |
ไขมัน | 0.4 | กรัม |
โปรตีน | 2.8 | กรัม |
วิตามินเอ | 43 | ไมโครกรัม (5%) |
วิตามินบี 1 | 0.107 | มิลลิกรัม (9%) |
วิตามินบี 2 | 0.11 | มิลลิกรัม (9%) |
วิตามินบี 3 | 0.41 | มิลลิกรัม (3%) |
วิตามินบี 5 | 0.55 | มิลลิกรัม (11%) |
วิตามินบี 6 | 0.024 | มิลลิกรัม (2%) |
วิตามินบี 9 | 62 | ไมโครกรัม (16%) |
วิตามินซี | 18.8 | มิลลิกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 50 | มิลลิกรัม (5%) |
ธาตุเหล็ก | 0.47 | มิลลิกรัม (4%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 44 | มิลลิกรัม (12%) |
ธาตุแมงกานีส | 0.205 | มิลลิกรัม (10%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 59 | มิลลิกรัม (8%) |
ธาตุโพแทสเซียม | 240 | มิลลิกรัม (5%) |
ธาตุสังกะสี | 0.37 | มิลลิกรัม (4%) |
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA)
ถั่วฝักยาว (Long Bean)
ชื่อวิทยาศาสตร์
vigna sesquipedalis. Koern.
ชื่อสามัญ
Yard long bean
วงศ์
Leguminosae
ถิ่นกำเนิด
ประเทศจีนและอินเดีย
ถั่วฝักยาว พืชตระกูลถั่วที่นิยมบริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ จะรับประทานเป็นผักสด นำมาประกอบอาหาร หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง แช่แข็งก็ได้ นอกจากจะเป็นพืชผักที่รสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น เพราะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ถั่วฝักยาว
ราก
ระบบรากแก้ว ระดับตื้น ความลึกประมาณ 6 – 8 นิ้ว รอบรากแก้วมีรากแขนงแตกออกแผ่กระจายตามผิวดิน
ลำต้น
เถาเลื้อยไม่มีมือจับ ทิศทางการเลื้อยทวนเข็มนาฬิกา ต้องอาศัยไม้ค้างพันลําต้นให้ตั้งตรง
ใบ
ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบกว้างมน ที่หูใบมีเส้นเล็กๆ 2 เส้นอยู่ตรงโคนของก้านใบและติดกับลําต้น ใบรวม มีใบอ่อน 6 – 12 ใบต่อกิ่ง ใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ลักษณะใบ คล้ายใบไม้ทั่วไป รูปร่างโค้งมน
ดอก
ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดเป็นช่อบนลําต้นระหว่างข้อ ดอกมีสีขาวม่วง
ผล / เมล็ด
ผลเป็นฝักยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดคล้ายไตหรือออกกลมเล็กน้อย ส่วนเมล็ดถั่วฝักยาว ถ้ายังอ่อนจะมีสีเขียว เมล็ดแก่ สีขาว ดำ น้ำตาลแดงหรือสีแดงสลับขาวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
สายพันธุ์ถั่วฝักยาว
สายพันธุ์ถั่วฝักยาว หากแบ่งตามลักษณะ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ ดังนี้
1 ถั่วเนื้อ
1 ถั่วเนื้อ
ลักษณะของถั่วเนื้อ จะมีสีเขียวสด เนื้อหนา แน่น กรอบอร่อย รสชาติดี ติดฝักมาก ลําต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ดีในดินทั่ว ๆ ไป แตกต่างจากถั่วฝักยาวพันธุ์เส้นที่ความยาวของฝักจะสั้นกว่า ตัวอย่างถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ เช่น พันธุ์สุดสาคร พันธุ์เจ้าพระยา พันธุ์สายฟ้า พันธุ์ลุ่มน้ำโขง พันธุ์ลุ่มน้ำชี พันธุ์ Super SJ ฯลฯ
2 ถั่วเส้น
2 ถั่วเส้น
ลักษณะของถั่วเส้น คือ มีสีเขียวสดและสีม่วงในบางสายพันธุ์ ติดฝักมาก ผักยาวตรงสวย กรอบอร่อย รสชาติดี ผักฝ่อช้า ลําต้นแข็งแรง ทนร้อนได้ดี ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตเร็ว ยกตัวอย่าง คือ พันธุ์เยาวราช พันธุ์ไผ่ขวาง พันธุ์สินสมุทร พันธุ์เอเวอร์กรีน พันธุ์สายฟ้า พันธุ์สายฝน พันธุ์เขียวดก ฯลฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการเกษตร
แนะนำเมนูถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว ทำได้หลากหลายเมนู ตามไปจดสูตร แล้วไปเข้าครัวพร้อม ๆ กันเลย
จะเห็นว่า ถั่วฝักยาว มีทั้งประโยชน์และโทษ เพื่อน ๆ ต้องรับประทานอย่างระมัดระวัง เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ส่วนใครที่กำลังมองหา เมนูถั่วฝักยาว ยอดฮิต รสชาติอร่อย ๆ แล้วล่ะก็ ลองนำเมนูที่เราแนะนำไปลองทำทานกันดูน้าาา ☺
4 เมษายน 2024
โดย
Wishyouwell.