รูัหรือไม่ ประโยชน์ของพริก ไม่ได้มีดีแค่เผ็ด!
คนไทยหลายๆ คนคงชอบทานอาหารรสจัดจ้าน 😂 ยิ่งเผ็ด ก็ยิ่งอร่อย พริก จึงเป็นอีกวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้ ทุกบ้านต้องมีติดครัวไว้แน่นอน หลายๆ คนคงมีภาพจำแค่ว่าพริกช่วยทำให้อาหารเผ็ดร้อนขึ้น แต่จริงๆ แล้วพริกนั้นไม่ได้มีดีแค่ให้รสชาติเผ็ดร้อนเท่านั้น แต่ ประโยชน์ของพริก ยังเป็น เมนูสุขภาพ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ช่วยให้อารมณ์ดี สรรพคุณไม่ได้ด้อยกว่ารสชาติอันเผ็ดร้อนของมันเลย วันนี้ SGE เราจะมาทำความรู้จักกับพริก สรรพคุณ หรือประโยชน์ ให้มากขึ้นกว่านี้ ไปดูกันเลย
เกี่ยวกับ “ พริก ”
พบว่าพริกนั้นมีถิ่นกำเนิด อยู่ในทวีปอเมริกากลาง กับอเมริกาใต้ เนื่องจากว่ามีหลักฐานการค้นพบว่า ชาวอินเดียนใน Mexico มากว่า 9000 ปีแล้ว เนื่องจากพบว่าในอุจจาระนั้นมีเศษซากของพริกที่มีอายุกว่า 9000 ปี ด้วยรสชาติและสรรพคุณที่ที่เผ็ดร้อนของพริก ชาวอินเดียนนิยมใช้พริกทรมานเชลย เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาว Maya ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิง Maya คนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิง Maya คนใดถ้ารู้ว่า บุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี “บริเวณลับ” ของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีสายพันธุ์ของพริกอยู่ทั้งหมดประมาณ 831 สายพันธุ์ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ และพริกขี้หนูเม็ดเล็ก ในพริกยังมีการค้นพบสารแคปไซซิน (Capsicin) ที่มีส่วนสำคัญทำให้พริกเผ็ดร้อน ซึ่งกระจายอยู่แทบทุกส่วนของพริก โดยส่วนที่มีสารชนิดนี้ที่สุดจะเป็นที่ ไส้ของพริก โดยสาร Capsicin นี้จะ มีคุณสมบัติพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ การทนความร้อนได้ดี ไม่ว่าจะผ่านการ ผัด ทอด ย่าง หรือแม้กระทั่งเอาไปตากแดด ความเผ็ดร้อนนั้นก็ยังอยู่เหมือนเดิม
พริก ยอดนิยมในไทย
พริกจินดา ลักษณะเม็ดเป็นสีแดงสด และ สีเขียวสด มีขนาดใหญ่กว่าพริกชี้ฟ้านิดหน่อย และให้ผลดกกว่า จะมีระดับความเผ็ดที่มากกว่าพริกชี้ฟ้า และมีขนาดเม็ดที่ใหญ่กว่า
พริกชี้ฟ้า นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทแกง ผัดพริก หลนปูหลนกุ้ง หรือ ทำ เป็น พริกน้ำส้ม พริกดอง และมีความเผ็ดที่ไม่แพ้กับพริกชนิดอื่นๆ เลย ด้วยความเด่นของพริกชี้ฟ้านั้น คือ ผลของพริกจะตั้งละชี้ไปบนฟ้า ทั้งผลดิบและผลสุก พริกจริงไม่ได้มีแต่ความเผ็ดเพียงอย่างเดียว แต่มีความสวยที่โดดเด่นที่รูปลักษณ์อีกด้วย
พริกขี้หนูสวน เป็นพริกขนาดเล็กที่มีความเผ็ด เมื่อดิบจะมีผลสีเขียวเข็ม เมื่อสุกจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด เรามักจะพบเห็นการนำพริกชนิดนี้มาปรุงเป็นเครื่องเครื่องเทศในอาหารไทยหลายชนิด
พริกหยวก เป็นพริกที่ไม่เผ็ดมาก มีผลสีเขียว มีความแตกต่างกันพริกหนุ่มตรงที่มีขนาดผลที่อวบและใหญ่กว่า พริกหนุ่ม แต่ไม่ดิบหรือสุกก็จะมีผลสีเขียวเหมือนกัน
พริกหวาน มีรสชาติเผ็ดน้อย เผ็ดแบบเบาๆ พอรู้สึกได้ สามารถนำมารับประทานสดในสลัดหรือนำมาผัดกับผักชนิดอื่น ๆ
ประโยชน์ของพริก
- ประโยชน์ของพริก ในสารแคปไซซิน ( capsaicin) ที่เป็นส่วนที่ทำให้พริกนั้นเผ็ดร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ บำรุงธาตุ นำมาดองสุราหรือบดผสมวาสลิน ใช้ทาถูนวด ทาแก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดตามข้อฟกช้ำดำเขียว ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และยังมีวิตามินเอสูงซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ต้น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- บรรเทาอาการเจ็บปวด มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพ นำไปทำเป็น ขี้ผึ้ง หรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ปวดเมื่อยตามตัว งูสวัด สารแคปไซซินในพริก จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ตามธรรมชาติ
- ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง
- ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น สังเกตได้เวลาที่เราทานพริก จะมีน้ำมูกน้ำตาไหลออกมา นั่นเป็นเพราะรสเผ็ด และสารก่อความร้อนในพริก ซึ่งช่วยลดปริมาณน้ำมูก และสิ่งกีดขวางในทางเดินระบบเราจะรู้สึกจมูกโล่ง บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้หายใจสะดวกขึ้น
- ในพริกนั้นมีวิตามินซีด้วยนะ ช่วยสร้างคอลลาเจน และยังมีเบต้าแคโรทีนในพริก สารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถลดการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้ พริกมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยพริกสามารถช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสได้ ซึ่งช่วยทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง
- ในสารแคปไซซินสามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้ดี ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรงขึ้น
- ป้องกันโรคโลหิตจาง เนื่องจากพบว่าในพริกนั้นมีธาตุเหล็กอยู่พอสมควร รวมถึงยังมีทองแดงที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีกรดโฟลิกที่ช่วยเสริมให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
- ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ พริกยังช่วยละลายลิ่มเลือด ไม่ให้เลือดจับกันเป็นก้อน ต้านการแข็งตัวของเลือด ไม่ให้จับกันเป็นก้อน จนอุดตันหลอดเลือด ซึ่งเป็นหลายๆ สาเหตุที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ค้นพบว่าในพริกขี้หนูนั้นช่วยลดอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (โดยอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเกิดแบบค่อยเป็น ค่อยไป หรือไม่มีอาการ)
- ช่วยบำรุงสมอ มีค้นพบโดยเฉพาะในพริกขี้หนูมีธาตุเหล็กที่ช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดในสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงการรับรู้ของระบบประสาทและสมองรวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ด้วย