ผักโขม ประโยชน์ สรรพคุณ กินเยอะได้ไหม แก้โรคอะไรได้บ้าง?
สารบัญ
ผักโขม ผักขม (Amaranth) ดีต่อสุขภาพอย่างไร? แก้โรคอะไรได้บ้าง? และมีข้อควรระวังอย่างไร? วันนี้ SGE จะพาไปหาคำตอบ พร้อมบอกข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ แบบจัดเต็ม รับรองว่าอ่านบทความนี้จบ ได้ข้อมูลครบแน่นอน!!
ประโยชน์ “ผักโขม” ผักพื้นบ้าน บำรุงร่างกาย
- บำรุงน้ำนม / บำรุงคุณแม่หลังคลอด ผักโขมช่วยเพิ่มน้ำนม ดีต่อแม่ลูกอ่อนที่มีน้ำนมไม่เพียงพอ รวมถึงมีวิตามินเอ วิตามินซี ช่วยให้น้ำนมของคุณแม่สมบูรณ์ ทารกมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
- ช่วยลดน้ำหนักและลดความอ้วน ผักขมเป็นผักที่ทานแล้วอิ่มเร็วและนาน ช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกาย ทั้งยังมี สารซาโปนิน ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ลดอาการปวดท้องประจำเดือน ผักโขมมีส่วนช่วยในการลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในบริเวณช่องท้อง
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง
- ลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้สูงอายุที่รับประทานผักโขมเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
- ช่วยบำรุงสุขภาพของดวงตา ผักโขมมีวิตามินเอสูง ป้องกันความเสื่อมที่อาจเกิดกับดวงตา
- ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ผักโขมอุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารปริมาณมาก ช่วยในการกระตุ้นการขับถ่ายในแต่ละวัน
- บำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่ชรา ผักโขมมีสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการแก่และตายของเซลล์ได้ดี
- บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
- ป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ ควรรับประทานผักโขม เพราะในผักขมมีวิตามินซี วิตามินเค ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
- ดีต่อผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ ผักโขมอุดมไปด้วยโปรตีนสูง แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อ หรืออยู่ในช่วงของการงดรับประทานเนื้อทุกชนิด
- ประกอบอาหารได้หลายเมนู ใบอ่อน ยอดอ่อน ต้นอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุก หรือจะนำมาต้ม ผัด แกง ทอด ได้ตามต้องการ
สรรพคุณ “ผักโขม” ปรุงเป็นยา
- ทั้งต้น : ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ, ดับพิษร่างกาย, แก้อาการแน่นท้อง, ปวดท้องประจำเดือน, รักษาฝี กลาก เกลื้อน, แผลพุพอง, ผดผื่นคัน, รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก, แก้รำมะนาด
- ราก : ถอนพิษไข้, ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก
- ลำต้น : แก้อาการแน่นหน้าอก, ไอหอบ, แก้อาการบิด มูกเลือด
- ใบ : ช่วยรักษาแผลพุพอง (การใช้ผักโขมเพื่อสรรพคุณทางยา ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน)
ข้อควรระวังของผักโขม
ผักโขม เป็นหนึ่งในผักที่ ไม่ควรรับประทานสด ในปริมาณที่มากเกินไป
- ผักโขมดิบมี “กรดออกซาลิก” (Oxalic Acid) ค่อนข้างสูง หากกินเยอะเกินไป จะขัดขวางการดูดซึมธาตุแคลเซียม
- ผักโขมมีไฟเบอร์สูง หากกินมากเกินไป ก็อาจก่อปัญหาที่กระเพาะอาหาร มีแก๊ส ท้องอืด เป็นตะคริว
- สำหรับผู้ที่เป็น โรคนิ่ว โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กลุ่มผู้ที่สะสมปริมาณของแคลเซียม ควรเลี่ยงการรับประทานผักโขมในปริมาณมาก
- ผู้ที่รับประทานยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, warfarin ไม่ควรทานเยอะ เพราะผักโขมจะไปต้านยา เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
กินผักโขมยังไงให้สุขภาพดี?
ผักโขมควรทำให้สุก เพื่อทำลายกรดออกซาลิก โทษต่าง ๆ จะหายไปในทันที มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้ในระดับหนึ่ง
ข้อมูลโภชนาการของ ผักขม
ผักโขม 100 กรัม ให้พลังงานทั้งหมด 23 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณ / หน่วย |
---|---|
โปรตีน | 2.9 กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 3.6 กรัม |
ไขมัน | 0.4 กรัม |
ใยอาหาร | 2.2 กรัม |
น้ำตาล | 0.4 กรัม |
โซเดียม | 79 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 558 มิลลิกรัม |
วิตามินเอ | 188 % |
วิตามินซี | 47 % |
วิตามินบี 6 | 10 % |
วิตามินอี | 7 % |
วิตามินเค | 604 % |
แคลเซียม | 10 % |
เหล็ก | 15 % |
แมกนีเซียม | 20 % |
ฟอสฟอรัส | 5 % |
ซิงค์ | 4 % |
ไทอามิน | 5 % |
ไรโบพลาวิน | 11 % |
แหล่งข้อมูลประกอบ: Calforlife
ผักโขม (Amaranth)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Amaranthus lividus
ชื่อสามัญ
Amaranth / Amaranth green
กลุ่มพันธุ์ปลูก
Amaranthaceae
ถิ่นกำเนิด
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ / แอฟริกาตะวันตก
ผักโขม หรือ ผักขม (Amaranth) เป็นผักที่ขึ้นตามแหล่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง รวมทั้งสวนผักผลไม้เป็นต้น ผักขมยังได้รับการนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดผักโขม แกงจืดผักโขม ผักโขมอบชีส ขนมปังหน้าผักโขมอบชีส เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักโขม
ลำต้น
ผักโขมเป็น พืชล้มลุก ลักษณะเป็น ไม้พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 30 – 150 ซม. ลำต้นอวบน้ำตั้งตรง มีหนาม บางพันธุ์ก้านมีสีแดง
ใบ
ใบเดี่ยว ใบยาวรี รูปร่างคล้ายหัวใจ บางชนิดเป็นรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
ดอก
ดอกมีสีเขียวและสีม่วงอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมล็ด
เมล็ดกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลเกือบดำ
สายพันธุ์ของผักโขม
สายพันธุ์ผักโขม มีมากกว่า 70 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย และนิยมนำมารับประทาน มีดังนี้
1 ผักโขมสวน/ผักโขมสี
1 ผักโขมสวน/ผักโขมสี
ผักโขมสวน หรือ ผักโขมสี (Joseph’ s coat, Red amaranth) ใบมีรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบสอบ ใบมีสีเขียว เส้นกลางใบมีสีแดง เมื่อปรุงสุกจะมีสีแดงอมม่วงและมีน้ำสีม่วงไหลออกมา ส่วนสายพันธุ์ Joseph’s coat ตรงยอดจะมีสีเหลืองและมีสีแดงที่โคนของใบ
2 ผักโขมไทย / ผักโขมหัด
2 ผักโขมไทย / ผักโขมหัด
ผักโขมไทย ผักโขมหัด (Slender amaranth) สูงประมาณ 0.5 – 2 ฟุต ใบเป็นรูปไข่หรือสามเหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามเส้นใบมีขน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด
3 ผักโขมหนาม
3 ผักโขมหนาม
ผักโขมหนาม (Spiny amaranth) อายุสั้นประมาณ 2 – 4 เดือน (นิยมเรียกว่าพืชที่มีอายุปีเดียว) เมื่อออกดอก ติดเมล็ดแล้วก็จะค่อยๆ เหี่ยวแห้งตาย ลำต้นมีหนามแหลมตามข้อ 1 – 2 เซนติเมตร
4 ผักโขมจีน
4 ผักโขมจีน
ผักโขมจีน (Chinese Spinach) เป็นชื่อเรียกในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้แตกต่างจากผักขมฝรั่ง (Spinach/ English Spinach) ใบมีสีเขียวอ่อน ก้านยาวเรียว
5 ผักโขมฝรั่ง หรือ ปวยเล้ง
5 ผักโขมฝรั่ง / ปวยเล้ง
คนไทยเรียกผักชนิดนี้รวมเป็น ผักขมซึ่งจริง ๆ แล้ว ผักโขมฝรั่ง หรือ ปวยเล้ง อยู่ในสกุล Spinacia ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับผักโขมอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ผักโขมฝรั่ง ได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารเป็นอย่างมาก
แนะนำเมนู “ผักขม” อร่อย ทำง่าย!
จบไปแล้วกับข้อมูลที่น่าสนเกี่ยวกับ “ผักโขม” ทั้งประโยชน์ สรรพคุณ ข้อควรระวัง และสายพันธุ์ที่นิยมรับประทาน หวังว่าเพื่อน ๆ จะรู้จักพืชชนิดนี้มากขึ้น และรับประทานได้อย่างปลอดภัยที่สุด!
19 กุมภาพันธ์ 2024
โดย
Wishyouwell.