รู้หรือไม่ ซอสโชยุ (Shoyu) แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?

“โชยุ” เครื่องปรุงรสที่อยู่คู่กับอาหารญี่ปุ่นอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วโชยุมีอยู่มากมายหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต เป็นต้น ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งเครื่องปรุงรส” ของชาวญี่ปุ่น เพราะปรุงอาหารได้หลากหลาย ซึ่งในเมืองไทยจะเห็นเครื่องปรุงชนิดนี้ตามร้านอาหารญี่ปุ่น โดยเอาไว้จิ้มกับซาชิมิ ข้าวปั้นซูชิ หรือแม้แต่ในร้านประเภทอิซากายะ (Izakaya) แต่ด้วยหน้าตาที่มองเผิน ๆ คล้ายคลึงกึ่งเป็นญาติมิตรกับซีอิ๊วขาวที่เรารู้จัก ทำให้หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเครื่องปรุงทั้งสองอย่างเหมือนกัน และนำไปปรุงอาหารแบบไม่เข้าใจ ทำให้รสชาติ หรือกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเมนูอาหารนั้น ๆ ออกมาผิดเพี้ยนไป วันนี้ SGE จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ซอสโชยุ” ว่ามีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

โชยุ ทำจากอะไร?

“ซอสโชยุ” ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ซอสถั่วเหลืองที่ได้จากการหมัก หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า “ซีอิ๊ว” อย่างเช่นซีอิ๊วขาวที่คนไทยจะคุ้นหูมากกว่า แต่ความต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างโชยุกับซีอิ๊ว คือ โชยุของญี่ปุ่นจะมีรสชาติที่หลากหลายมากกว่าซีอิ๊วขาว และมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตามแบบฉบับที่เกิดจากวัตถุดิบ กรรมวิธีการหมัก และส่วนผสมของแต่ละพื้นที่ที่นำมาใช้ในการหมัก เช่น ลักษณะของพันธุ์ข้าว หรือพันธุ์ถั่วเหลือง หรืออัตราส่วนที่ใช้จะส่งผลให้ได้น้ำซอสถั่วเหลืองที่มีรสชาติแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปโชยุแบบดั้งเดิมสไตล์ญี่ปุ่นจะทำมาจากส่วนผสมสำคัญอยู่ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 

211228-Content-รู้จักกับซอสโชยุ-(Shoyu)-แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร02
  • ถั่วเหลือง (Soybeans)

ถั่วเหลืองมีโปรตีนที่อัดแน่นอยู่เต็มเมล็ด ในขั้นตอนการทำโชยุ จะนำเมล็ดถั่วเหลืองไปแช่น้ำข้าม วันข้ามคืน หลังจากนั้น จึงค่อยนำมานึ่งในอุณหภูมิสูง ก่อนนำไปหมักต่อไป

  • ข้าวสาลี (Wheat)

คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ในข้าวสาลี เป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยให้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์กับโชยุ นอกจากนี้ ยังให้รสหวาน โดยจะถูกนำไปคั่วด้วยอุณหภูมิสูงและบดให้ละเอียด เพื่อง่ายต่อการหมัก

  • น้ำและเกลือ (Salt & Water)

เป็นตัวช่วยชั้นดีในการกำจัดแบคทีเรีย และทำหน้าที่เป็นสารกันบูด ระหว่างขั้นตอนการหมักโชยุ 

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

กรรมวิธีการผลิต ซอสโชยุ ทำได้อย่างไร?

เมื่อได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพตามที่ต้องการมาแล้ว กระบวนการทำโชยุ มีดังนี้

  1. เริ่มจากการทำ “โชยุ โคจิ” โดยใส่โคจิ หรือจุลินทรีย์ที่บ่มเพาะเป็นเชื้อในการหมักโชยุ ลงไปผสมให้เข้ากันกับส่วนผสมของถั่วเหลือง และข้าวสาลี
  2. เติมน้ำเกลือลงไปในโชยุ โคจิ จนได้เป็นของเหลวที่เรียกว่า “โมโรมิ” 
  3. ย้ายไปใส่ถังหมัก แล้วบ่มไว้จนสุกได้ที่
  4. เข้าสู่กระบวนการบีบน้ำออก
  5. นำน้ำที่ได้ไปผ่านความร้อน บรรจุขวดกลายเป็นโชยุ
211228-Content-รู้จักกับซอสโชยุ-(Shoyu)-แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร03

โดยในการผลิตโชยุจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-10 เดือน ก็จะทำให้ได้โชยุแบบดั้งเดิมสไตล์ญี่ปุ่น ที่มีสีน้ำตาลอมแดง (Reddish brown) และค่อย ๆ สีเข้มขึ้น เมื่อสัมผัสกับอากาศ แถมด้วยรสชาติกลมกล่อมสไตล์อูมามิที่ผสมผสาน 5 รสชาติ ทั้งรสหวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ หรือที่เรียกว่ารสกลมกล่อมนั่นเอง นอกจากนี้ ยังได้กลิ่นหอมของเมล็ดถั่วเหลืองคั่วที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกอยากกินให้มากขึ้นด้วย 

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ซอสโชยุ มีกี่ชนิด?

อย่างที่รู้กันว่า แม้โชยุจะสีดำเหมือน ๆ กัน แต่จริง ๆ แล้วโชยุมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ที่ฮิต ๆ และนิยมใช้คู่กับการกินอาหารจะมีอยู่ด้วยกัน 6 แบบ ได้แก่

1) โชยุชนิดเข้มข้น (Koikuchi Shoyu)

  • สี : สีน้ำตาลเข้มอมแดง
  • กลิ่น : ได้กลิ่นของโชยุที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
  • รสชาติ : รสชาติเข้มข้นติดลิ้น
  • เมนูที่เหมาะ : อาหารทุกประเภท ที่ต้องการกลิ่มหอมและรสชาติเข้มข้นของโชยุ เช่น สุกี้ยากี้ เทอริยากิ หมูต้มซีอิ๊ว หรือข้าวหน้าหมูซีอิ๊ว และใช้จิ้มกับอาหารต่าง ๆ

2) โชยุชนิดสีอ่อน (Usukuchi Shoyu)

  • สี : ความพิเศษคือสีจะใส ไม่เข้มเท่าโคอิคุชิ แต่จะมีรสเค็มกว่าเล็กน้อย
  • กลิ่น : กลิ่นจะเบากว่าแบบ Koikuchi
  • รสชาติ : รสชาติไม่เข้มข้นเท่า Koikuchi แต่เค็มกว่า
  • เมนูที่เหมาะ : เหมาะกับเมนูที่ไม่ต้องการน้ำซุปสีเข้ม เช่น ซุปใส ไข่ตุ๋น

3) โชยุแบบทามาริ (Tamari Shoyu) 

  • สี : สีน้ำตาลเข้ม
  • กลิ่น : กลิ่นค่อนข้างแรง
  • รสชาติ : ได้รสชาติเข้มจากถั่วเหลืองเต็ม ๆ
  • เมนูที่เหมาะ : นิยมนำมาจิ้มซูชิ ซาชิมิ 

4) โชยุสูตรเค็มน้อย

  • สี : สีออกน้ำตาลเข้ม
  • กลิ่น : กลิ่นหอมอ่อน ๆ 
  • รสชาติ : รสชาติกลมกล่อม และมีความเค็มน้อยกว่าสูตรอื่น
  • เมนูที่เหมาะ : อาหารได้ทุกประเภท เหมาะกับคนไม่กินเค็ม เช่น ข้าวผัดรวมมิตร, ราดปลาย่าง 

5) โชยุสูตรหอมพิเศษ

  • สี : สีน้ำตาลเข้ม
  • กลิ่น : มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ซึ่งหอมว่าโชยุทั่วไป
  • รสชาติ : รสหวานตัดเค็มนิด ๆ กำลังดี
  • เมนูที่เหมาะ : ผัดหมี่ ผัดนึ่งซีอิ๊ว หรือผัดผักต่าง ๆ

6) โชยุสูตรไลต์

  • สี : สีน้ำตาลเข้มโทนอ่อน
  • กลิ่น : กลิ่นไม่แรง 
  • รสชาติ : รสชาตินุ่มกลมกล่อม ใช้น้อยได้รสเข้มข้น
  • เมนูที่เหมาะ : ทุกเมนูที่ใช้ซีอิ๊วขาวปรุงรส เช่น ปลานึ่งซีอิ๊ว หรือไก่ย่างซีอิ๊ว 

รู้ไหม? โชยุ นอกจากการปรุงรสอาหาร เมื่อสัมผัสกับความร้อน โชยุจะส่งกลิ่นหอมชวนให้เจริญอาหาร โชยุ ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อดิบ ทั้งหมู ไก่ และปลา เป็นต้น ป้องกันการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียในอาหาร

211228-Content-รู้จักกับซอสโชยุ-(Shoyu)-แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร04

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ซอสโชยุ แต่ละชนิด ต่อไปนี้จะทำอาหารแบบไหน จะได้เลือกหยิบได้แบบไม่มีกังวลอีกต่อไป รสชาติไม่ผิดเพี้ยนกันแล้ว นอกจากจะดูเรื่องชนิดที่เข้าการใช้งานที่เหมาะสมแล้ว ก็ควรเลือกโชยุที่ได้คุณภาพที่หมักด้วยวิธีธรรมชาติด้วยนะจ๊ะ

สามารถติดตาม สูตรอาหารและบทความอื่นๆ ได้ที่นี่