เกร็ดความรู้คู่ครัว สีผสมอาหาร ใช้มากจะมีอันตรายไหม?

ในปัจจุบันจะพบว่าอาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆที่ขายอยูทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงามดึงดูดใจชวนรับ ประทานเพราะ สีผสมอาหาร แต่คุณรู้บ้างหรือไม่ว่ามันแฝงด้วย อันตราย เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไป โดยคาดหวังว่าอาหารเครื่องดื่มที่มีอาหารสดใสสวยงาม จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็กๆซึ่งจะช่วยให้ขายดี และได้กำไรมากมาย

ทำให้ผู้ผลิตมองข้ามพิษภัยที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นวันนี้ SGE จะมาแนะนำการเลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจำเป็นต้องคำนึงถึงอันตราย ที่อาจเกิดจากสีผสมอาหารให้มากๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด เพราะสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมีซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น

สีผสมอาหาร 2021-1

ประเภทของสีผสมอาหาร

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2515 กำหนดสีผสมอาหาร เป็นอาหารที่ควบคุม กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานการใช้ การผสม และฉลากสำหรับสีผสมอาหาร และกำหนดประเภทของสี ที่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหาร ซึ่งปลอดภัยแก่ผู้บริโภคมาก ที่สุดด้วยเป็นสีที่มีความบริสุทธิ์สูง และมีวัตถุเจือปนในสีน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3 ประเภท ประกอบไปด้วย

  • สีอินทรีย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งเกลืออลูมิเนียม หรือเกลือแคลเซียม ของสีดังกล่าวที่ละลายน้ำได้ ใช้เป็นแม่สี มี 4 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งจะสามารถประกอบหรือผสมกันเป็นสีชนิดอื่นตามต้องการได้ถึง 16 สี คือ
  • สีอินทรีย์ ได้แก่ ผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช (Charcoal) เช่นสีดำจากผงถ่านที่ได้จากการเผาเปลือกมะพร้าว ใช้ใส่ในขนมเปียกปูนให้มีสีดำ สีดำจากถ่าน (Carbon Black) และติเตเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
  • สีที่ได้จากธรรมชาติ โดยการสกัดพืช ผัก ผลไม้ และสัตว์ที่ใช้บริโภคได้ โดยไม่เกิดอันตรายและสีดังกล่าวที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีดำจากใบยอ สีเหลืองของขมิ้น สีช็อคโกแลต ที่ได้จากการเผาน้ำตาลจนไหม้ หรือน้ำตาลเคี่ยวไหม้ (caramel) หรือสีแดงที่ได้จากครั่ง (Cochineal)

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ตู้อบลมร้อน ตู้อบเบเกอรี่
สีผสมอาหาร 2021-2

อันตรายจาก สีผสมอาหาร

 อันตรายที่เกิดจากการใช้สีผสมอาหารนั้นเกิดมาจากตัวสีเอง เนื่องจากในสีผสมอาหารแต่ละชนิด หรือแต่ละสีนั้นจะมีส่วนผสมของโลหะหนักอยู่ ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด ใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่มากเกินไป และผู้บริโภครับประทานอาหารที่ผสมสีดังกล่าวเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโลหะหนักเป็นจำนวนมาก และเกิดการสะสมในร่างกาย พิษภัยจากโลหะหนักที่มีผสมอยู่ในสีผสมอาหารนั้น มีดังนี้ สารหนูเมื่อเข้าไปในร่างกายจะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต การที่มีสารหนูสะสมในร่างกายมากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ส่วนตะกั่ว

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สีผสมอาหาร 2021-3
ตะกั่ว ระยะแรก จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลี่ยเบื่ออาหารปวดศีรษะ โลหิตจาง ถ้า
สะสมมากขึ้นจะมีอัมพาต ที่แขน ขา เพ้อ ชักกระตุก หมดสติ
ปรอท กรณีเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ ท้องเดิน ปวดมวนท้องรุนแรง ถ้า
สะสมเรื้อรัง เหงือกจะบวมแดงคล้ำ ฝันตาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลี่ย
สารหนู จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผิดปกติ ตับอักเสบ หัวใจวาย
โครเมี่ยม ถ้าสะสมในร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการเวียนศีรษะ กระหายน้ำรุ่น
แรงอาเจียน หมดสติ และ เสียชีวิต เนื่องจากไตไม่ทำงาน ปัสสาวะเป็นพิษ


อีกทั้งมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจทำให้ถึงกับชีวิตใน 1-2 วัน ส่วนอาการพิษเรื้อรังนั้นจะพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก มือตก เท้าตก เป็นอัมพาต เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้ ฉะนั้นก่อนจะรับประทาน อาหารจำพวกที่ต้องเติมแต่งสีสันให้สวยงาม ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือก และปริมาณที่บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

สีผสมอาหาร 2021-4


คุณลักษณะของสีผสมอาหารที่ได้มาตรฐาน

1. ไม่มีสารที่ทำให้เกิดพิษ และตัวสีเองไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายของผู้บริโภค
2. มีโครเมียม หรือแคดเนียม หรือปรอท หรือเซเลเนียมไม่เกิน 1 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก
3. มีสารหนู ไม่เกิน 5 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก
4. มีตะกั่วไม่เกิน 20 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก
5. มีโลหะหนักชนิดต่างๆ นอกจากตะกั่ว รวมกันไม่เกิน 30 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก


เป็นยังไงบ้างคะทุกคน ตามปกติแล้วเราไม่ควรใช้สีผสมอาหาร แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ หรือสีอนินทรีย์ หากจำต้องใช้สีสังเคราะห์ต้องใช้เฉพาะสีที่ทางการกำหนดว่าปลอดภัย พึงระลึกว่าการใช้สีที่ห้ามบริโภคหรือบริโภคไม่ได้มาผลิตหรือผสมอาหารจำหน่าย อาจได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้นะคะ SGE หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ