สูตร ผัดถั่วฝักยาว เมนูอาหารไทย ทำง่ายๆ อร่อยได้ที่บ้าน
เมื่อพูดถึง ถั่วฝักยาว หลาย ๆ คน คงนึกถึงหลาย ๆ เมนูทั้ง เมนูแกง เมนูต้ม หรือแม้แต่ เมนูผัด อย่าง “ผัดถั่วฝักยาว” บทความนี้ SGE จะพาไปทำเมนูนี้กัน จะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า
รู้จักกับ ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว (Yard Long Bean) เป็นไม้เถาเลื้อย ที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับถั่ว มีลักษณะลำต้นเดี่ยว ลำต้นเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว คล้ายกับถั่วพู มีฝักกลมยาว มีสีเขียว จะรับประทานเมื่อยังอ่อน ฝักอ่อน มีรสหวาน มัน เนื้อกรอบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และอินเดีย ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก
ถั่วฝักยาวนั้น เป็นพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์ และสรรพคุณทางยามากมาย ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เพราะถั่วฝักยาว จะมีกลิ่นเฉพาะตัว และสามารถนำมาประกอบ ปรุงอาหารเมนูต่าง ๆ ได้มากมายหลากหลายเมนู เป็นผักที่จะใช้ฝัก เป็นผักสด ทานกับอาหาร หรือกับแกล้มนั่นเอง
สูตรวิธีทำ ผัดถั่วฝักยาว
เมนู ผัดถั่วฝักยาว เมนูเด็ด ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเมนูอื่น ๆ ได้หลายเมนู เมนูสุดประหยัดทำกินได้ทุกวัน อร่อย และมีประโยชน์ด้วย
ส่วนผสมผัดถั่งฝักยาว
- ถั่วฝักยาว 40 กรัม
- หมูสับ 30 กรัม
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกซอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
- ซอสหอยนางรม 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำผัดถั่วฝักยาว
- นำถั่วฝักยาว ไปล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อน ขนาดพอดี เตรียมไว้
- ตั้งกระทะ ผัดกระเทียม และพริกซอย ผัดให้พอหอม
- จากนั้น ใส่เนื้อหมูสับลงไป ผัดให้สุก และตามด้วย ใส่ถั่วฝักยาว
- ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว และซอยหอยนางรม ผัดให้ทุกอย่างเข้ากัน และผัดจนถั่วฝักยาวสุก
- ปิดไฟ ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยฟินสุด ๆ
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 47 แคลอรี่ และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ เช่น
- คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม
- โปรตีน 2.8 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- แมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม
นอกจากนี้ ถั่วฝักยาว ยังอุดมไปด้วย วิตามิน และแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ โฟเลต และไฟเบอร์
ข้อควรระวังในการทานถั่วฝักยาว
การทานถั่วฝักยาวแบบสด ๆ ดิบ ๆ หรือทานมากไป อาจทำให้ท้องอืดได้ เพราะในถั่วฝักยาวดิบ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมีเทนอยู่มาก ซึ่งแก๊สพวกนี้ ทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหาร จนมีอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน และเวียนหัวได้ และการเคี้ยวถั่วฝักยาวไม่ละเอียด แล้วกลืน ต้องระวังถั่วฝักยาว อาจจะไปอุดตันในกระเพาะอาหาร และลำไส้ เพราะเป็นผักดิบที่ค่อนข้างเหนียว และแข็งนั่นเอง ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก : thai-thaifood.com, hellokhunmor.com
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ เมนูผัดถั่วฝักยาว ที่เรานำมาฝากกัน ทำง่ายมาก ๆ เลยใช่ไหม เรียกได้ว่า เมนนูนี้ เป็นอีกหนึ่งเมนู ที่ทานเท่าไรไม่มีเบื่ออย่างแน่นอน แถมได้ประโยชน์จากถั่วฝักยาวไปเต็ม ๆ ด้วย รู้แบบนี้แล้ว จะรอช้าทำไม นำสูตรที่เรานำมาฝากนี้ ไปทำทานกันที่บ้านดูนะจ๊ะ รับรอง อร่อยชัว! 😋👍
- คัดเน้น ๆ 7 เมนูถั่วฝักยาว แซ่บๆ ใครได้กินต้องร้องว่าอูมามิ
- รวมเมนูจาก ถั่วลันเตา ทำง่ายๆ ไม่ซ้ำซากจำเจ
- รวม 3 สูตรเด็ด ถั่วแระญี่ปุ่น ทําอะไรได้บ้าง
SGE ผู้จัดจำหน่าย เครื่องซีลสูญญากาศ และ ถุงซีลสูญญากาศ ราคาถูก และอุปกรณ์เบเกอรี่ มากมายหลายชนิด ให้คุณได้เลือกสรร รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก SGETHAI คลิกเลย 👈🏻
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน