องุ่นไซมัสคัส ประโยชน์ พร้อมวิธี ปลูกในไทย ให้หวานอร่อย ไม่มีเมล็ด

องุ่นไซมัสคัส

2,469 Views

คัดลอกลิงก์

สารบัญ

องุ่นไซมัสคัส ประโยชน์ มีอะไรบ้าง SGE มีคำตอบ พร้อมพามาดู องุ่นไซมัสคัส ปลูกในไทย ยังไงให้หวานอร่อย ไม่มีเมล็ด ใครอยากปลูกขาย ตามมาดูกันเลย

ประโยชน์และสรรพคุณขององุ่นไซมัสคัส

องุ่นไซมัสคัสมีประโยชน์มากมาย ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น

องุ่นไซมัสคัส

ประโยชน์ด้านสุขภาพ

  • มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กะปรี้กะเปร่า
  • มีวิตามิน C สูง ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูเปล่งปลั่ง สุขภาพดี
  • มีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มให้แข็งแรง
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • มีโพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัส ช่วยให้กล้ามเนื้อ และ จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นปกติ
  • มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด และ ป้องกันโรคโลหิตจาง

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ

  • รับประทานเป็น ผลไม้ เพื่อสุขภาพ
  • นำมาทำอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สลัด มูส แยม เค้ก ไอศกรีม น้ำองุ่นไซมัสคัส เป็นต้น
Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

สแลนกันแดด NetShade
สแลนกันแดด NetShade

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อมูลโภชนาการขององุ่นไซมัสคัส

ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม

สารอาหาร องุ่นไซมัสคัส
แคลอรี (kcal) 80
น้ำ 79.9
คาร์โบไฮเดรต 18.6 กรัม
โปรตีน 0.9 กรัม
ไขมัน 0.23 กรัม
น้ำตาล 16.1 กรัม
แคลเซียม 10 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 218 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 7.1 กรัม
โซเดียม 3 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.03 มิลลิกรัม
ทองแดง 0.061 มิลลิกรัม
แมงกานีส 0.084 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม
วิตามิน C 3 มิลลิกรัม
วิตามิน B7 <3.7 µg

แหล่งข้อมูลประกอบ: USDA

Back to top

องุ่นไซมัสคัส (Shine muscat)

องุ่นไชน์มัสแคท
องุ่นไซมัสคัส

ชื่อวิทยาศาสตร์

 Grape No. 13,891

ชื่อสามัญ

Shine Muscat

กลุ่มพันธุ์ปลูก

Vitis

ถิ่นกำเนิด

ญี่ปุ่น

องุ่นไซมัสคัส หรือ องุ่นไชน์มัสแคท เป็นองุ่นสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้น โดยสถานีวิจัยองุ่นและพลับอะซึกิ จ.ฮิโรชิมา เมื่อปีพ.ศ 2531 ก่อนที่จะขึ้นทะเบียนพันธุ์ในปีพ.ศ. 2541 เป็นการนำเอาองุ่น 2 สายพันธุ์ คือ Akitsu 21 x Muscat of Alexandria กับ องุ่นพันธุ์ Hakunan x Kaiji มาผสมกัน ทำให้ได้องุ่นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ ที่ทนต่อทุกสภาพอากาศ ทั้งร้อนและหนาว แถมยังมีรสหวานกรอบอร่อย จนกลายเป็นองุ่นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

สำหรับลักษณะผลขององุ่นไซมัสคัสนั้น จะมีขนาดใหญ่กว่าองุ่นทั่วไป มีรูปร่างกลมถึงวงรี เปลือกนอกมีสีเขียวสดใส ผิวมีความเรียบเนียน เรียบตึง โปร่งแสง เป็นมันเงา ถ้าผลมีเมล็ด จะมีขนาดประมาณ 10 กรัม ถ้าไม่มีเมล็ด จะมีขนาด 12 กรัมขึ้นไป รสชาติขององุ่นไซมัสคัส เปลือกนอก มีความแน่น หวานกรอบอร่อย เมื่อกัดเข้าไป จะมีความนุ่มชุ่มฉ่ำ และ มีรสหวาน เนื่องจากองุ่นไซมัสคัสมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง โดยรวมให้ความรู้สึกเหมือนกินเยลลี่ ปัจจุบัน องุ่นไซมัสคัสแพคขายกัน 1 – 3 ช่อ ขึ้นไป ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 300 – 420 บาท ถ้าเป็นเกรดพรีเมี่ยม ขายกันอยู่ที่ 1,000 – 2,390 บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ขององุ่นไซมัสคัส

ราก และ ลำต้น

เป็นพืชไม้ล้มลุก มีรากแก้วหยั่งลึกลงสู่ดิน และ รากแขนงแผ่กระจาย 3 – 4 เมตร ส่วนลำต้นเป็นเถาขนาดใหญ่  ทำหน้าที่ค้ำจุน และ พยุงกิ่งก้านสาขา ปกติ มักสูงจากพื้นดิน 1.5 เมตร

ใบ

ใบเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวและมีลวดลายคลื่นตลอดทั้งใบ ขอบใบมีรอยหยัก ด้านล่างของใบมีขนหยาบ ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น

ดอก 

ดอกออกดอกเป็นช่อ แต่ละดอกมีขนาดเล็กมาก ชั้นกลีบเลี้ยงและชั้นกลีบดอก มี 5 อัน มักมีเกสรตัวผู้ และ เกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน หรือ บางดอกก็อาจอยู่แยกกันก็ได้

ผล และ เมล็ด

มีขนาดใหญ่กว่าองุ่นทั่วไป มีรูปร่างกลมถึงวงรี เปลือกนอกมีสีเขียวสดใส ผิวมีความเรียบเนียน เรียบตึง โปร่งแสง เป็นมันเงา ถ้าผลมีเมล็ด จะมีขนาดประมาณ 10 กรัม ถ้าไม่มีเมล็ด จะมีขนาด 12 กรัมขึ้นไป

Back to top

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

วิธีการปลูกองุ่นไซมัสคัส

องุ่นไซมัสคัสนั้น หากปลูกที่ประเทศไทย ปลูกประมาณ 70 วัน หลังดอกบานเต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยช่วงที่เหมาะกับการปลูกองุ่นไซมัสคัส คือ เดือนมกราคม – เดือนมีนาคม ของทุกปี เพราะเป็นช่วงที่อากาศร้อนในตอนกลางวัน และ อากาศเย็นในตอนกลางคืน ทำให้ต้นองุ่นเจริญเติบโตได้เร็ว

องุ่นไชน์มัสแคท
องุ่นไซมัสคัส
  • ขั้นตอนที่ 1 เพาะต้นกล้า

    • เพาะต้นกล้าให้แข็งแรง โดยจะใช้วิธี ปักชำ ตอนกิ่ง หรือ ใช้ต้นกล้าติดตา เสียบยอดบนต้นตอ ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด
  • ขั้นตอนที่ 2 เตรียมแปลงเพาะปลูก

    • ปลูกองุ่นไซมัสคัสในโรงเรือน เพื่อให้แสงลอดผ่านได้ดี ทำให้ต้นองุ่นไซมัสคัสได้รับแสงแดดได้อย่างเต็มที่ และ ป้องกันไม่ให้ใบโดนน้ำค้าง จนเกิดเชื้อรา
    • วางแผนผังแปลงเพาะปลูก ตามแบบที่ต้องการ (แบบตัว T ระยะปลูก 1.5×8 เมตร, แบบตัว H ระยะปลูก 3×8 เมตร, แบบตัว Y ระยะปลูก 1.5×8 เมตร)
    • เตรียมแปลงเพาะปลูก โดยขุดหลุมแต่ละหลุม ให้กว้าง – ยาว ห่างกัน ในระยะที่เหมาะสม สำหรับฝังเสาปูนแต่ละต้น เสร็จแล้ว ขึ้นโครงหลังคา ทำเป็นโรงเรือนสำหรับคลุมแปลงเพาะปลูก
    • ฝังเสาปูนลงไปในหลุมแต่ละหลุมเป็นแนวยาว จากนั้น ใช้เชือก หรือ ไม้ไผ่ พาดผ่าน ทำเสาแต่ละต้น ให้เป็นรูปตัว T ตัว H หรือ จะหาโครงเหล็กต่อเติมเสาแต่ละต้น ให้เป็นรูปตัว Y ก็ได้ แล้วแต่ชอบ
  • ขั้นตอนที่ 3 ย้ายต้นกล้าลงแปลงเพาะปลูก

    • ย้ายต้นกล้ามาอยู่ตรงหลุมเสา (ถ้าพื้นที่ตรงช่องว่างระหว่างกลางเสาเหลืออยู่ ให้หาไม้ไผ่ค้ำยันแล้วเอาต้นองุ่นมาลงดินเพิ่มก็ได้) จากนั้น รดน้ำเช้า – เย็นทุกวัน แล้วใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ทุก ๆ 7 วัน จนกว่าต้นกล้าจะแตกกิ่ง
  • ขั้นตอนที่ 4 การจัดทรงต้น และ การตัดแต่งกิ่ง

    • เด็ดกิ่งให้แตกออก และ คอยเด็ดยอดใบอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นองุ่นแตกกิ่งไปเรื่อย ๆ จนพุ่มไม้ขยายใหญ่
  • ขั้นตอนที่ 5 การจัดการช่อดอกละช่อผล

    • พอช่อดอกบานเต็มที่ หลังจากนั้น 1 – 3 วัน ให้นำช่อดอกจุ่มลงในสารละลายที่มีสเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 200 ppm (AGREPT 1 มิลลิลิตร) ร่วมกับจิบเบอเรลลิค แอซิด ความเข้มข้น 25 ppm (นันโต จิปเปอร์ 0.8 กรัม) และ CPPU ความเข้มข้น 5 ppm (Fulmet 5 มิลลิตร) ผสมกันในน้ำ 1 ลิตร เพื่อทำให้องุ่นไซมัสคัสไม่มีเมล็ด
    • หลังดอกบานเต็มที่ 10-15 วัน ให้จุ่มช่อผลลงในสารละลายจิบเบอเรลลิค แอซิด ความเข้มข้น 25 ppm เพื่อขยายขนาดของผล
    • หลังดอกบานเต็มที่ 45 วัน ให้ตัดแต่งช่อผล หากผลองุ่นเบียดกัน เสร็จแล้ว จุ่มช่อผลลงในสารละลายจิบเบอเรลลิค แอซิด ความเข้มข้น 25 ppm และ CPPU ความเข้มข้น 5 ppm เพื่อทำให้ผิวผลองุ่นมีสีเขียวหรือเหลืองช้าลง
  • ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเกี่ยว

    • พอปลูกองุ่นไซมัสคัสครบ 70 – 80 วัน หลังดอกบานเต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
  • ขั้นตอนที่ 7 การให้น้ำ

    • ให้น้ำเช้า – เย็น วันละ 30 นาที ถ้าเป็นช่วงออกผลแล้ว ควรให้น้ำสม่ำเสมอเป็นพิเศษ
  • ขั้นตอนที่ 8 การให้ปุ๋ย

    • ให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี พร้อมกับนำ ฟางข้าว มาคลุมดิน เพื่อช่วยกักเก็บความชื้น และ ทำให้ดินร่วนซุย โดยความถี่ในการให้ปุ๋ย หากเป็นช่วงแรก ๆ ให้ 1 ครั้ง ทุก ๆ 7 วัน เพื่อเร่งให้ต้นโตไว
Back to top

เพราะองุ่นไซมัสคัสมีผลกลมโต กรอบหวาน ชุ่มฉ่ำ และ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หากใครชอบกินองุ่นแล้วละก็ ลองไปหาซื้อรับประทานกันได้เลย รับรองว่า ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพแน่นอน ส่วนใครที่สนใจอยากปลูกองุ่นชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็น คนทั่วไป หรือ เกษตรกรแล้วละก็ ลองปลูกกันได้ ตาม วิธีปลูกองุ่นไซมัสคัส ที่ SGE นำมาฝาก เพราะด้วยความเป็นที่ต้องการของตลาด จะทำให้คุณขายดิบขายดี จนสามารถสร้างรายได้ให้กับคุณได้อย่างแน่นอน

สำหรับใครที่อยากได้กรรไกร ไว้ตัดแต่งกิ่งองุ่นไซมัสคัส ให้แตกกิ่งสวย จัดช่อดอกได้ง่าย ขอแนะนำ กรรไกรตัดกิ่งไฟฟ้า ของ SGE มีใบมีด ทำจากเหล็กอัลลอยด์แท้ ตัดแต่งกิ่งได้อย่างคมกริบ แถมแบตเตอรี่ยังใช้งานได้ถึง 2 ชั่วโมง ช่วยให้คุณตัดแต่งกิ่งต้นองุ่นไซมัสคัสได้อย่างง่ายดาย สนใจคลิกดูเพิ่มเติมที่ https://www.sgethai.com/product/electric-pruning-shears/

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม
เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม

ฝากเยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานเราด้วยนะคะ 🥺🙏🏻

13 กุมภาพันธ์ 2024

โดย

Pres

ความคิดเห็น (Comments)

guest
1 Comment
โหวตสูงสุด
ใหม่สุด เก่าสุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด
สมยง ยิ่งยอด
สมยง ยิ่งยอด
9 เดือน ที่ผ่านมา

เมื่อเคยหามาลองทาน หวาน กรอบอร่อยมากๆเลยครับ