ไขข้อสงสัย เชื้อราในอาหาร เกิดจากอะไร? ป้องกันได้อย่างไร?

รู้ไหมว่า 🤔  อาหารแห้งบางอย่างเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ๆ หรือเก็บในพื้นที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิด เชื้อรา ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อน และชื้น บางครั้งอาจจะเผลอกินเข้าไปโดยไม่ทันสังเกตเห็นเชื้อราติดอยู่กับอาหาร และทำให้เกิดการวิตกกังวลว่าจะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองหรือไม่? มันอาจจะไม่ได้อันตรายกับร่างกายของเรามากนัก แต่ก็ไม่ควรรับประทานเข้าไปอยู่ดี

ตาม SGE ไปรู้จักกับ “เชื้อราในอาหาร” กันดีกว่า ว่าเป็นแบบไหนบ้าง?


เชื้อรา คืออะไร?

เชื้อรา มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด มักจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่อบอุ่น และชื้น เชื้อราสามารถปนเปื้อนไปสู่อาหารได้ทั้งในระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา ยังมีการพบว่าอาหารขึ้นรา ให้เขี่ย หรือปาดเอาส่วนที่ขึ้นราออก เก็บส่วนที่เหลือไว้บริโภคด้วยความเสียดาย อย่าทำอย่างนั้น เพราะเชื้อราบางอย่าง สามารถผลิตสารพิษได้ เชื้อราใดไม่สร้างสารพิษ การปาดเอาส่วนที่เป็นเชื้อราออก และกินอาหารส่วนที่เหลือ อาจเป็นอันตรายจากสารพิษของเชื้อรา หากเป็นเชื้อราบางชนิด มีพิษสูงมาก การได้รับในปริมาณน้อย ๆ มีผลทำให้สารพิษสะสมในร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็งได้ และสารพิษจากเชื้อราบางชนิดสามารถอยู่ในอาหารได้นานโดยไม่สลายตัว บางชนิดก็ทนความร้อนได้สูง

210510-Content-เชื้อราในอาหารเกิดจากอะไร-ป้องกันได้อย่างไร-02-edit-compressed

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้
กระถางผ้า กระถางผ้าปลูกต้นไม้

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


สาเหตุการเกิด เชื้อราในอาหาร

เชื้อราในอาหาร เกิดจากการควบคุมอุณหภูมิของอาหารไม่ดีพอ ทำให้เกิดความชื้นจากการอบ หรือตากแห้ง อาหารที่มักเกิดเชื้อราได้ง่าย ได้แก่ หอม, กระเทียม, เห็ดหูหนู, เห็ดหูหนูขาว, ดอกไม้จีน, เก๋ากี้, กุ้งแห้ง, ปลาหมึกแห้ง, หมูแดดเดียว, ปลาตากแห้ง เป็นต้น เชื้อรา มีผลต่อการทำงานของตับ และทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง อันเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ การเลือกซื้อต้องสังเกตสี ดมกลิ่น และจับสัมผัส แต่ไม่ควรชิม ถ้าอากาศช่วงนั้นมีความชื้นสูง ควรรีบนำมาทำอาหาร ส่วนอาหารที่ตากแห้งสนิท ควรแช่แข็งแต่ไม่ควรเก็บเกิน 1 เดือน หรือถ้าเก็บในช่องเย็นปกติ ควรนำออกมาตากแดดเป็นครั้งคราว อีกทั้งเกลือ และน้ำตาลในอาหาร ก็เป็นตัวดึงดูดเชื้อราได้อย่างดีอีกด้วย

210510-Content-เชื้อราในอาหารเกิดจากอะไร-ป้องกันได้อย่างไร-03-compressed

 

แม้ว่าเราจะอยู่ในยุคของอาหารที่ต่างผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อมาสารพัด แต่เราก็ยังมีโอกาสที่จะพบเชื้อราในอาหารได้ แนะนำว่าให้สังเกตดี ๆ ก่อนรับประทาน และถ้าเห็นจุดดำ ๆ เล็ก ๆ คล้ายเชื้อราบนอาหาร ให้ทิ้งไปทั้งชิ้นเลย ไม่ต้องเสียดาย แต่ถ้าหากเผลอกินเข้าไปทั้งหมด ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเชื้อราจะทำอันตรายต่อร่างกายของเราได้ ก็ต่อเมื่อกินอาหารที่มีเชื้อราอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเท่านั้น

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏


อาหารที่มีเชื้อราบางชนิดที่คุณสามารถรับประทานได้
คือ 
ซีส หลายคนสงสัยว่าทำไมชีส Gorgonzola, Roquefort และ Blue ถึงเป็นอาหารที่กินได้ เพราะเป็นชีสที่มีความพิเศษ คือ มี Crumble เล็ก ๆ ตรงที่เป็นส่วนของราสีเขียวภายในตัวชีส และเป็นชีสที่นิยมกินมาก ๆ ในกลุ่มของคนรักชีสตัวจริง แต่สำหรับคนที่มีอาการแพ้เชื้อรา ก็ยังเป็นบุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงรับประทานอยู่ดี

อาหารที่ปลอดภัย และสามารถรับประทานได้หลังจากขูดเชื้อราออก  อาหารที่ปลอดภัยสามารถทานได้ หลังขูดเชื้อราออก เช่น

  • ซาลามี่ และแฮมประเภทเเห้ง
  • เนยแข็ง ประเภท Hard Cheese ที่ขึ้นรา สามารถตัดรอบ ๆ ออกอย่างน้อย 1 นิ้ว
  • ชีสที่ขึ้นรา สามารถตัด หรือขูดบริเวณที่ขึ้นราออกได้
  • ผักผลไม้ ตัดทิ้งอย่างน้อย 1 นิ้ว
210510-Content-เชื้อราในอาหารเกิดจากอะไร-ป้องกันได้อย่างไร-04-compressed


วิธีการป้องกันไม่ให้อาหารขึ้นรา

การป้องกันไม่ให้อาหารขึ้นรานั้น ทำได้โดยการเก็บรักษาอาหารอย่างเหมาะสม และการทำลายแหล่งเพาะพันธ์เชื้อราภายในครัวเรือน ดังนี้

  1. เมื่อต้องเสริฟอาหารในปริมาณมาก สำหรับการทานร่วมกัน แนะนำให้มีฝา หรือแผ่นพลาสติกใสครอบปากภาชนะไว้หลังจากการตักในแต่ละครั้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อราที่มากับอากาศ หรือแมลงนั่นเอง
  2. อาหารกระป๋องที่เปิดฝาแล้ว ให้เทอาหารใส่กล่องพลาสติกสำหรับใส่อาหารโดยเฉพาะ เพราะกล่องใส่อาหารเหล่านี้ มีการปกปิดที่มิดชิดมาก ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ นอกจากนี้ ควรนำอาหารประเภทนี้แช่ตู้เย็นทันที เพื่อยืดอายุของอาหารไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป
  3. อาหารที่ปรุงสุกแล้วมีโอกาสขึ้นราได้ง่ายกว่าอาหารสด เพราะมักมีส่วนประกอบของเกลือ และน้ำตาล ดังนั้น ควรบริโภคอาหารเหล่านี้ภายใน 3 วัน หลังจากการปรุงสุก เพื่อลดโอกาสในการขึ้นรา และแพร่กระจาย
  4. ทำความสะอาดตู้เย็นทุก ๆ 1 – 2 เดือน ด้วยน้ำเปล่า และเบกกิ้งโซดาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ตกหล่นอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีภายในตู้เย็น จากนั้นล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
  5. หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ในห้องครัวที่มีความชื้นสะสม เช่น ฟองน้ำล้างจาน, ผ้าเช็ดจาน, ผ้าเช็ดมือ และไม้ถูพื้น หากอุปกรณ์เหล่านี้สกปรกจนเกินกว่าที่จะทำความสะอาดได้ ควรทิ้งไปได้เลย เพราะความชื้นจากของใช้เหล่านี้ เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรานั่นเอง


จะเห็นได้ว่าเชื้อราในอาหาร การเก็บอาหารไว้รับประทานในวันต่อ ๆ ไป ต้องรู้จักวิธีการเก็บที่ถูกวิธี มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาเชื้อราในอาหารได้ วิธีการที่ดีที่สุดและได้ประโยชน์กับร่างกายของเรามากที่สุด คือ การเลือกรับประทานอาหารสด และสะอาดในทุก ๆ มื้อ ตามหลักการของอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารคลีน (Clean Food) โดยอาหารที่สด และสะอาด ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่มีราคาแพง ขอแค่เป็นอาหารตามธรรมชาติที่มีประโยชนต่อร่างกายก็เพียงพอ หวังว่าบทความนี้ คงจะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย 💛

สามารถติดตาม บทความอื่นๆ ได้ที่นี่