ประโยชน์ของ “แปะก๊วย” และข้อควรระวัง

แปะก๊วย

2,711 Views

คัดลอกลิงก์

สารบัญ

“แปะก๊วย” คือพืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกของประเทศจีน โดยถือกำเนิดขึ้นมา เมื่อ 270 ล้านปีก่อน และเนื่องด้วยสารพัดประโยชน์ที่อุดมอยู่ในแปะก๊วยนี้ทำให้กลายเป็นหนึ่งในสมุนไพร ล้ำค่าที่ผู้คนให้ความสำคัญกันอย่างมาก ประโยชน์ของแปะก๊วยจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แล้วมีข้อควรระวังในการบริโภคหรือไม่ ขอเชิญนักอ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับแปะก๊วยพร้อม ๆ กันค่ะ

ประโยชน์ของ “แปะก๊วย”

1.ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากเมล็ดแปะก๊วย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด
2.มีวิตามินและแร่ธาตุสูง ซึ่งภายในเมล็ดแปะก๊วยอุดมด้วยวิตามินบีหลากหลายชนิด          เช่น ริโบฟลาวิน ไนอะซิน ไทอามีน กรดแพนโทเทนิก โฟเลต และวิตามินบี 6 โดยเป็นวิตามินบีที่ดีต่อร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอย่างแมงกานีส โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี และเซเรเนียม สะสมอยู่ใน เมล็ดแปะก๊วย อีกด้วย
3.แคลอรี่ต่ำ เพราะ แปะก๊วย 100 กรัม มีปริมาณแคลอรี่เพียง 182 กิโลแคลอรี่เท่านั้น ดังนั้นนักอ่านท่านใดที่กำลังไดเอทอยู่ สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดนะคะ แต่ไรท์เตอร์ขอแอบกระซิบว่า ทุก ๆ อย่างหากเราได้รับมากเกินความจำเป็นก็ไม่เป็นผลดีแน่นอน เพราะฉะนั้นรับประทานในปริมาณที่เหมาะจะส่งผลดีต่อร่างกายมากที่สุด

4.ช่วยบรรเทาอาการโรคพาร์กินสัน เนื่องจากอาการสั่นและการสูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากโรคพาร์กินสัน มีสาเหตุมาจากภาวะการขาดฮอร์โมนโดปามีน แต่สารสกัดจากแปะก๊วยจะเข้าไปช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดในสมอง ทำให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น รวมถึงนำส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพออีกด้วย
5.รักษาอาการก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงอย่างเรา ๆ ทราบกันดีว่าก่อนมีประจำเดือนมักจะมีอาการ ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มาสร้างความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวให้กับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดร่างกาย ตามส่วนต่าง ๆ หรืออาการคัดเจ็บหน้าอกที่ซึ่งเกิดจากภาวะความแปรปรวนของฮอร์โมนภายในร่างกาย โดยสารสกัดจากแปะก๊วย จะเข้าไปช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้อย่างดีทีเดียวค่ะ

ข้อควรระวังในการบริโภค “แปะก๊วย”

แปะก๊วยหรือสารสกัดจากใบแปะก๊วยโดยทั่วไปแล้วค่อนข้างปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณ ที่เหมาะสม แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดยอาการเบื้องต้นที่พบคือ ปวดศีรษะ วิงเวียน ใจสั่น คลื่นไส้ แน่นท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องผูก หรือท้องเสีย และอาจเกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้แปะก๊วย

อีกทั้ง 7 บุคคลดังต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการบริโภคแปะก๊วยเป็นพิเศษ คือ

1.ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรบริโภคแปะก๊วย เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกมากขณะคลอด
2.ทารกและเด็ก การบริโภคแปะก๊วยหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจไม่ส่งผลอันตรายหากได้รับในปริมาณที่พอเหมาะทว่าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
4.ผู้ที่มีอาการชัก ไม่ควรบริโภคแปะก๊วยหากเคยมีอาการชัก เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้
5.ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคแปะก๊วยด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกสลายและโลหิตจางอย่างรุนแรงได้
6.ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก การบริโภคแปะก๊วยอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์หากกำลังวางแผนการตั้งครรภ์
7.ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรงดบริโภคแปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง หรือส่งผลให้เลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด อีกทั้งยังไม่ควรใช้แปะก๊วยในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGE การันตีด้วยยอดขายอันดับ 1

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

ข้อมูลโภชนาการของ “แปะก๊วย”

ข้อมูลโภชนาการ ปริมาณต่อ 100 กรัม

สารอาหาร ปริมาณ หน่วย
น้ำ 55.2 กรัม
พลังงาน 182 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 4.32 กรัม
ไขมันทั้งหมด (ไขมัน) 1.68 กรัม
เถ้า 1.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรตโดยความแตกต่าง 37.6 กรัม
แคลเซียมแคลิฟอร์เนีย 2 มิลลิกรัม
เหล็ก, เฟ 1 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 124 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 510 มิลลิกรัม
โซเดียม 7 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.34 มิลลิกรัม
ทองแดง 0.274 มิลลิกรัม
แมงกานีส, มินนิโซตา 0.113 มิลลิกรัม
วิตามินซี, กรดแอสคอร์บิกทั้งหมด 15 มิลลิกรัม
วิตามินบี 0.22 มิลลิกรัม

แหล่งข้อมูลประกอบ: USDA

Back to top

เมนูแนะนำทำง่ายจาก “แปะก๊วย”

แปะก๊วย คือพืชชนิดหนึ่งที่ได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ดังนั้นวันนี้ SGE มีเมนูแนะนำทำง่ายจากแปะก๊วยมาฝากนักอ่านทุก ๆ ท่าน เตรียมปากกาพร้อมลิสต์เมนูไปพร้อมกันได้เลยค่ะ !!’

1 ผัดโหงวก๊วย

ผัดโหงวก๊วย อาหาร ผัด ผัดผัก อาหารจีน

1 ผัดโหงวก๊วย

วัตถุดิบ

• เนื้ออกไก่ 150 กรัม
• แป้งทอดกรอบ 1 ½ ช้อนโต๊ะ
• เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 100 กรัม
• เกาลัด 50 กรัม
• แปะก๊วย 50 กรัม
• แห้วต้ม 50 กรัม
• พุทราเชื่อม 50 กรัม
• เห็ดหอมสด 50 กรัม
• หอมใหญ่ 1 หัว
• พริกหวานเขียว/เหลือง/แดง อย่างละ ½ ผล
• ต้นหอม 3 ต้นอ่านเพิ่มเติม

2 แปะก๊วยนมสด

แปะก๊วยนมสด แปะก๊วย นมสด ของหวาน อาหารเพื่อสุขภาพ

2 แปะก๊วยนมสด

วัตถุดิบ

• ใบเตยหอม 3 – 5 ใบ
• แปะก๊วย 200 กรัม
• นมข้นจืด 1 กระป๋อง
• นมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะ
• กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
• มะพร้าวอ่อน ½ ถ้วย
• งาขาวคั่ว

วิธีทำ

1. ต้มน้ำใส่ใบเตยและเมล็ดแปะก๊วยด้วยไฟกลาง ใช้เวลา 15 – 20 นาที
2. เมื่อต้มเสร็จแล้วกรองเอาแต่แปะก๊วยเทใส่ชามแล้ววางพักไว้
3. ตั้งหม้อต้มนมข้นจืดและนมข้นหวานคนให้เข้ากัน แล้วเติมกลิ่นวานิลลาลงไปเล็กน้อย
4. ใส่มะพร้าวอ่อนขูดลงไป เคี่ยวให้เข้ากันเสร็จแล้วตักใส่ชามที่มีเมล็ดแปะก๊วย
5. โรยด้วยงาขาวคั่วหอม ๆ พร้อมจัดเสิร์ฟ

3 แปะก๊วยน้ำเชื่อม

แปะก๊วยน้ำเชื่อม แปะก๊วย น้ำเชื่อม ของหวาน ขนมหวาน คลายร้อน

3 แปะก๊วยน้ำเชื่อม

วัตถุดิบ

• แปะก๊วยแกะเปลือกที่ต้มแล้ว 1 กิโลกรัม
• น้ำตาลตามชอบ
• น้ำเปล่า

วิธีทำ

1. ต้มแปะก๊วยในน้ำเปล่าให้เดือด 2 น้ำ
2.ตักเนื้อแปะก๊วยมาพักไว้
3.ตั้งน้ำใหม่ในหม้อแล้วเติมน้ำตาลเพื่อทำน้ำเชื่อม ปรับความหวานได้ตามชอบ
4.ใส่แปะก๊วยลงไปต้มในน้ำเชื่อม ต้มไฟอ่อนให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อแปะก๊วย
5.ลองตักชิมดูว่าเนื้อแปะก๊วยนิ่มและน้ำเชื่อมหวานพอหรือไม่
6.เสร็จแล้วจัดเสิร์ฟโดยเพื่อน ๆ สามารถรับประทานร้อน ๆ หรือใส่น้ำแข็งเพื่อเพิ่มความชื่นใจ คลายความร้อนก็ย่อมได้

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

ถุงซีลสูญญากาศ

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🥺🙏🏻

ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏

Back to top

แปะก๊วย (Gingko)

แปะก๊วย ต้นไม้ ต้นแปะก๊วย
เมล็ดแปะก๊วย แปะก๊วย ต้นแปะก๊วย

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gingko biloba L.

ชื่อสามัญ

Salisburya adiantifolia, Maidenhair tree, Forty-coin tree, Pai Kuo Yeh

ชื่อวงศ์

Ginkgoaceae

ชื่ออื่น ๆ 

ยาเจียว (จีน), อิโจว (ญี่ปุ่น)

แปะก๊วย เป็นไม้ยื่นต้นขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตและมีความสูงขนาด 35 – 40 เมตร เมื่อต้นโตเต็มที่จะมีเส้นรอบวงประมาณ 3 – 4 เมตร และอาจโตได้ถึง 7 เมตร ตัวใบจะออกจากปลายกิ่งสั้น ๆ รูปร่างคล้ายพัดจีน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ และให้ผลผลิตเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยลักษณะของผล แปะก๊วย จะเป็นทรงกลม ๆ รี ๆ ผิวชั้นนอกถูกหุ้มด้วยเนื้อไม้และมีกลิ่นฉุน เนื้อในเมล็ดมีสีเหลืองอ่อน หลังจากผสมเกสรต้องใช้เวลาถึง 130 – 140 วัน จึงจะสุกและรับประทานได้ ซึ่งแปะก๊วย เป็นไม้ที่ไม่ค่อยมีศัตรูพืชมารบกวน อีกทั้งยังต้านทานลมพายุ และทนต่อมลพิษหลายชนิด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ “แปะก๊วย”

ต้นแปะก๊วย ลักษณะของต้นแปะก๊วย ต้นไม้ ความอุดมสมบูรณ์

ลำต้น

แป๊ะก๊วย เป็นพืชที่มีระบบท่อลำเลียง(vascular plant) ที่ไร้ดอก เป็นรากมีลำต้นใหญ่คล้ายพืชดอกที่เป็นพืชยืนต้นทั่วไป จำแนกไว้อยู่ในดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkgo phyta)

ใบ

เป็นลักษณะเด่นของต้นแป๊ะก๊วยที่ไม่เหมือนพืชชนิดอื่นคือ รูปร่างคล้ายพัดแผ่ออก 90 องศา มีก้านใบยาว เกาะติดกับกิ่ง ใบสีเขียว เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ พอย่างเข้าฤดูหนาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงามพร้อมกันทั้งต้น แล้วทยอยร่วงจนหมดต้นที่เรียกว่าใบไม้ร่วง เหลือแต่กิ่งก้านที่ท้าทายลมหนาวและหิมะที่ตกลงมา ใบนำมาสกัดเป็นยาเม็ดแก้โรคอัลไซเมอร์เนื่องจากไม่ได้เป็นพืชดอก (Angiosperm) จึงไม่จัดเข้าเป็น ทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่

เมล็ด

เมล็ด (seed) ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีสีน้ำตามปนเหลือง (brownish yellow) ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในเมล็ดประกอบด้วย root, short hypocotyl,

2 cotyledons และ epicotyl ซึ่งมี foliage leaves 5 ใบ

Back to top

***เป็นอย่างไรกันบ้างคะนักอ่านทุก ๆ ท่าน ได้รู้จักกับ “แปะก๊วย” มากขึ้นทั้งด้านข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ คุณประโยชน์ และข้อควรระวัง รวมถึงเมนูทำง่าย By แปะก๊วย อย่างไรก็ตามถึงแม้แปะก๊วยจะมีคุณประโยชน์ที่หลากหลายแต่ข้อควรระวังก็ไม่ใช่น้อย ดังนั้นนักอ่านทุก ๆ ท่านควรบริโภคแปะก๊วยในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ***

⭐⭐ หากชื่นชอบบทความของ SGE ⭐⭐

เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม
เครื่องซีลสูญญากาศ ถุงซีลสูญญากาศ ตู้อบลมร้อน เตาอบขนม

ฝากเยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานเราด้วยนะคะ 🥺🙏🏻

23 พฤษภาคม 2024

โดย

จอมนอน

ความคิดเห็น (Comments)