ทำความรู้จัก “โรคพืช” แมลงศัตรูพืช ที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืช
เมื่อพูดถึง พืช การปลูกพืชต่าง ๆ สิ่งที่มักจะตามมาด้วยนั้นก็คือ “โรคพืช” และแมลงศัตรูพืช เช่น อาการใบเหลือง ใบหงิก ใบเป็นจุด ต้นเหี่ยว ต้นแคระ ที่เป็นสาเหตุทำให้พืชตาย และเก็บผลผลิตไม่ได้ บทความนี้ SGE จะพาไปรู้จักกับ โรคและแมลงศัตรูพืช ที่ควรรู้ว่ามีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกัน ตามไปดูกัน
สาเหตุของการเกิดโรคพืช
โรคพืช คือ ลักษณะของพืชที่ผิดปกติ อาจจะเกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งตั้น จนแห้งตายไป ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุ คือ
- เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคไมโคพลาสมา เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่อการเกิด และแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ โยโรคพืชเหลานี้จะอาศัย น้ำ ดิน อากาศ ความชื้น เมล็ดพันธุ์ หรือแมลง
- เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) เช่น สภาพแวดล้มที่ผิดปกติ หรือสารเคมีบางชนิด ที่ทำให้เกิดโรค แต่โรคที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ จะไม่มีการแพร่ระบาด จะเกิดเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น บางเวลาเท่านั้น เช่น อุณหภูมิสูง-ต่ำผิดปกติ ความชื้นในดินน้อย-มากผิดปกติ ความเข้ม-น้อยของแสง สารเคมีที่ใช้ สภาพดินเค็ม เป็นต้น
“10 โรคพืช” ที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
โรคใบจุด
จะมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลอ่อนบนใบ รูปร่างไม่แน่นอน และจะกลายเป็นสีน้ำตาลดำถึงดำ เมื่อเป็นโรครุนแรง ใบจะร่วง อาจพบอาการบนลำต้นเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลดำ และเชื้อยังเข้าทำลายผล ทำให้ผลเป็นจุดสะเก็ดสีน้ำตาลดำอีกด้วย
วิธีป้องกันโรคใบจุด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่รับรองปลอดโรค หรือพันธุ์พืชต้านทานโรคมาปลูก
- ทำลายเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที
- กำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรค ไปทำลายนอกแปลงปลูก โดยการฝัง เผา หรือปลูกพืชหมุนเวียน
- ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส
โรคราแป้ง
จะมีลักษณะเป็นผงแป้งจับอยู่ ถ้าอาการไม่มากนัก ผงแป้ง จะเกาะอยู่บนใบเป็นกลุ่ม ๆ แต่ถ้าเป็นมาก จะเห็นผิวใบถูกเคลือบอยู่ด้วยผงแป้งเหล่านี้ อาการที่รุนแรง จะทำให้ใบเหลือง และร่วง
วิธีป้องกันโรคราแป้ง
- หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้ทำลายเศษซากพืช ที่เคยเป็นโรค โดยไถกลบ และปลูกพืชหมุนเวียนแทน
โรคเพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อนเป็นศัตรูของพืชผัก เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ และยอด โดยเฉพาะ ถั่ว แตง และกะหล่ำ แพร่ระบาดได้รวดเร็ว ทำให้ต้นพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคพืชหลายชนิด มักระบาดในช่วยฤดูแล้งที่ฝนขาดช่วงนาน ๆ
วิธีป้องกันโรคเพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยอ่อนสามารถเข้าทำลายพืชได้ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย
- สำรวจแปลงพืชอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยอ่อน หรือยอดพืชที่มีอาการหงิก ให้รีบทำการกำจัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
- กำจัดวัชพืชบริเวณรอบ ๆ แปลง และในแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งหลบอาศัยของเพลี้ยอ่อน
- หากพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น อะซิเฟต, คาร์บาริล(เซฟวิน 85), ไซเพอร์เมทริน, ไบเฟนทริน, สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- การใช้แมลงห้ำ เช่น ด้วงเต่าลาย เพื่อควบคุมปริมาณการระบาดของเพลี้ยอ่อน
โรคแอนแทรคโนส
จะมีลักษณะเป็นจุดช้ำสีน้ำตาล และจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ มักจะเกิดบนผลของพืช หรือบนใบได้ ถ้าเกิดที่ใบ จะหงิกงอ และฉีกขาด ถ้าเกิดที่กิ่ง ทำให้กิ่งไหม้ได้ โรคแอนแทรคโนสเกิดขึ้นได้กับพืชทุกชนิด เช่น พริก มะม่วง องุ่น เป็นต้น และแพร่กระจายได้ง่ายด้วยลม ฝน ความชื้น และแมลง นั่นเอง
วิธีป้องกันโรคแอนแทรคโนส
- หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้ทำลายเศษซากพืช ที่เคยเป็นโรค โดยไถกลบ และปลูกพืชหมุนเวียนแทน
โรคเน่าดำ
ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับ กล้วยไม้ แทบทุกชนิด จะมีจุดใส ๆ เหลือง ๆ และจะกลายเป็นสีน้ำตาล หรือดำ มีกลิ่นเปรี้ยว ๆ สามารถขยายวงกว้างได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน อากาศจะชื้น เชื้อรา จะยิ่งแพร่กระจายได้ง่าย และเร็วขึ้น
วิธีป้องกันโรคเน่าดำ
- ก่อนทำการปลูก ควรเลือกต้นพันธุ์ หรือส่วนขยายพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรค
- ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นจนเกินไป
- ทำความสะอาดโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคระบาด ให้รีบนำออกจากโรงเรือน แล้วเผาทิ้งทำลายทิ้งทันที
- ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ฟอสฟอรัส เอซิด, เมทาแลกซิล หรือฟอสอีทิลอะลูมิเนียม
- เชื้อราชนิดนี้ จะแพร่กระจายในช่วงหน้าฝน ควรทำหลังคาพลาสติก และงดให้น้ำในช่วงเย็น
โรคเน่าเละของพืชผัก
จะมีลักษณะมีรอยช้ำฉ่ำน้ำ ขยายลุกลามจนเป็นแผลสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ ขยายเป็นบริเวณกว้าง มีเมือกเยิ้ม ส่งกลิ่นเหม็น แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนจัด และฝนตกชุก พืชจะถูกทำลายจนกระทั่งเน่าไปทั่ว ๆ จนพืชเหี่ยว และตายในที่สุด จะมีการระบาดมาก ๆ ในช่วงฤดูฝน และจะแพร่กระจายจากแมลง เมือกจากรอยเน่าที่กระเด็นไปถูกพืชผักที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
วิธีป้องกันโรคพืชเน่าเละของพืชผัก
- กำจัดเศษซากพืช วัชพืชในแปลงให้หมด ก่อนการปลูกผัก และไถพลิกกลับดินตากแดด 2-3 ครั้ง ทิ้งระยะให้ห่างกันพอสมควร เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคในดิน
- ควบคุมแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ในแปลงปลูก โดยเฉพาะหนอน และแมลงปากกัด
- เมื่อเริ่มพบต้นเป็นโรค ควรรีบขุดถอนทิ้งนอกแปลงปลูกทันที
- ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส
โรคใบสีส้ม
เป็นโรคพืชที่มักระบาดในนาข้าว โดยมีเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เป็นพาหะนำโรค เกิดขึ้นได้ทุกช่วง ตั้งแต่ตอนยังเป็นต้นอ่อนไปจนถึงตอนเริ่มแตกกอ มีลักษณะเป็นรอยขีดเป็นทางยาว ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ลุกลามจากปลายใบ และขยายตัวเป็นวงกว้างไปจนถึงโคนใบ มีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ต้นข้าวจะเตี้ย แคระแกรน ออกรวงช้า และไม่สวย หากไม่รีบกำจัด สามารถแพร่ระบาดไปยังต้นข้าวต้นอื่น ๆ ในแปลงนาได้
วิธีป้องกันโรคใบสีส้ม
- เลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคมาปลูก
- กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยของเชื้อไวรัส
- กำจัด
แมลง ที่ เป็น พาหะ ของ เชื้อ โรค ด้วย สาร เคมี เช่น เซฟวิน 85 (Sevin 85) และ ฟูราดาน
โรคราน้ำค้าง
จะมีลักษณะเป็นรอยจ้ำ ๆ สีขาว ขอบสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่ว ๆหรืออาจจะเป็นสีเหลืองด่าง ๆ สีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นจุดขาวเล็ก ๆ โรคนี้จะทำให้พืชอ่อนแอ สร้างผลผลิตที่ดีไม่ได้ สาเหตุเกิดจากการปลูกพืชในบริเวณที่มีความชื้นสูง มักจะเกิดขึ้นได้กับพืชหลาย ๆ ชนิด
วิธีป้องกันโรคราน้ำค้าง
- เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- คอยกำจัดวัชพืช และเว้นระยะการปลูกให้พอเหมาะ เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
- หลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูงในเวลากลางคืน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
- กำจัดต้นที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูก
- กำจัดแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อรา หมั่นสำรวจแปลงปลูก เพื่อยับยั้งการระบาดของโรค และกำจัดโดยชีววิธี เช่น การใช้เชื้อรา และแบคทีเรีย ที่เป็นประโยชน์
โรคเน่าคอดิน
มีลักษณะเป็นรอยเน่าช้ำ และแห้ง บริเวณโคนติดดิน จะเกิดกับต้นกล้า โดยเฉพาะในแปลงที่ถูกปลูกต้นกล้าไว้อัดแน่นกันจนเกินไป ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้ต้นกล้าตายได้ จะระบาดในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน
วิธีป้องกันโรคเน่าคอดิน
- พื้นที่ปลูก ไม่ควรชื้น หรือแฉะ และต้องระบายน้ำได้ดี
- เลือกเมล็ดพันธุ์ หรือยอดพันธุ์ ที่ปลอดโรค ก่อนนำไปปลูก
- ตัดแต่งและเก็บส่วนของพืชที่เป็นโรค ตลอดจนเศษพืชที่ร่วงหล่น ไปเผาไฟทำลาย
- ใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล บริเวณที่มีโรค
โรคเหี่ยว
จะมีลักษณะเหี่ยวอย่างช้า ๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง และเริ่มเหี่ยวทั้งต้น จนแห้งตาย จะระบาดเป็นหย่อม ๆ ในอากาศมีอุณหภูมิสูง และดินมีความชื้นสูง
วิธีป้องกันโรคเหี่ยว
- หากพบโรคเหี่ยวในแปลง ให้ถอนออก แล้วทำลายทันที
- ก่อนปลูก ควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาว และปุ๋ยคอก ก่อนเสมอ
- หากพบพื้นที่ที่ระบาด ควรปลูกพืชหมุนเวียน หรือจะไถดินตากแดด 2-3 ครั้ง
จบไปแล้วกับ โรคพืช ที่เรานำมาฝากกัน พร้อมวิธีป้องกัน สำหรับนำไปสังเกตุในไร่นา แปลงผัก หรือสวนของคุณ เพื่อหาทางป้องกัน กำจัดโรคเหล่านี้ ผลผลิตจะได้งอกงามอย่างสมบูรณ์นั่นเอง
บทความดี ๆ นาอ่าน:
- ประเภท ผักกินใบ มีอะไรบ้าง? พร้อมเทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตตลอดปี
- ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตไว ปลูกไว้กินเองที่บ้านได้
- รู้จัก “พืชคลุมดิน” ชนิดต่างๆ กับประโยชน์มากมาย ที่ไม่ใช่แค่สวยงาม
- พืชตระกูลถั่ว มีอะไรบ้าง ทำไมควรปลูกเป็นพืชคลุมดิน
นอกจากนี้ SGE ของเรายังมี อุปกรณ์การเกษตร ให้เลือกสรรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สแลนกันแดด กระถางผ้าปลูกต้นไม้ ผ้าคลุมดิน และอีกมากมายให้เลือกชมกัน พร้อมบริการดี ๆ หลังการขาย ที่แสนประทับใจอย่างแน่นอน สามารถเลือกชมสินค้าได้ www.sgethai.com
30 มกราคม 2024
โดย
ลำดวน