FAQs เครื่องซีลสูญญากาศ รวมคำถามที่หลายคนสงสัย
อัปเดตเมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024

คัดลอกลิงก์
รวมคำถามที่พบบ่อย “เครื่องซีลสูญญากาศ”
เครื่องซีล คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการปิดผนึกถุงบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้า ทั้งยังช่วยป้องกันฝุ่นละออง แมลง และสิ่งสกปรก ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องซีลระบบสุญญากาศขึ้นมา ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสำหรับการดึงเอาอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ออก แล้วซีลปิดผนึกปากถุงไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปได้
ส่วนมาก เครื่องซีลสุญญกาศ มักถูกใช้ประโยชน์ในด้านของการเก็บรักษาวัตถุดิบประกอบอาหาร เพราะสามารถกำจัดออกซิเจนออกจากบรรจุภัณฑ์ อันเป็นสาเหตุของการเน่าเสียได้ อีกทั้งยังสามารถคงคุณประโยชน์และคุณภาพ ลดกลิ่นเหม็นหืน ทั้งยังช่วยยืดอายุอาหารได้ถึง 3 เท่า แถมช่วยให้การหมักปรุงเข้าเนื้อเข้มข้นขึ้นและประหยัดพื้นที่จัดเก็บมากขึ้นด้วย!
การเลือกซื้อเครื่องซีลสุญญากาศสักเครื่องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งงบประมาณ ความต้องการเฉพาะ และคุณสมบัติของเครื่องซีลสุญญากาศที่เหมาะสม SGE จึงพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ ด้วยเครื่องซีลสุญญากาศคุณภาพ ทนทาน ใช้งานง่าย และมีให้เลือกหลากหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นครัวเรือน ไปจนถึงรุ่นในงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
![]() |
![]() |
![]() |
รุ่นครัวเรือน | รุ่นกึ่งอุตสาหกรรม | รุ่นอุตสาหกรรม |
VC01, VCX , VCZ ,VC77 | VCECO , EVO , VC88 | VCS, VCE , VC991, VCC02 , VCC03 , VCC05 , VC100 |
เหมาะสำหรับ การใช้งานภายในบ้าน มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก | เหมาะสำหรับ การใช้งานในธุรกิจขนาดย่อม ช่วยประหยัดต้นทุน และเพิ่มกำลังผลิตจากรุ่นครัวเรือน | เหมาะสำหรับ ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็ว ปริมาณชิ้นงาน และรอบการทำงานต่อเนื่องที่ยาวนาน |
สำหรับซีลสุญญากาศของแห้งเท่านั้น ไม่สามารถซีลของเหลวที่เป็นน้ำได้ | สามารถใช้ซีลสุญญากาศของเหลวที่เป็นน้ำได้ | รองรับการซีลสุญญากาศสินค้าทุกประเภท เช่น ของเหลวอย่างน้ำซุป หรือผงละเอียดอย่างแป้ง พริกไทยป่น เป็นต้น |
สามารถใช้งานร่วมกับถุงลายนูน / ถุงจีบข้าง / บล็อคข้าวได้ | สามารถใช้งานร่วมกับถุงสุญญากาศลายเรียบได้ทุกชนิด เช่น ถุงเรียบ / ถุงไนลอน / ถุงคราฟท์ / ถุงฟอยล์ ทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า | สามารถรองรับการซีลสุญญากาศกับถุงทุกชนิด |
มีกำลังผลิตประมาณ 30-50 ถุง/วัน | มีกำลังผลิตสูงกว่า 100 ถุง/วัน | มีกำลังการผลิตที่สูงถึง 200-1000 ถุง/วัน |
เรียกได้ว่าในปัจจุบันนี้ สินค้าหลาย ๆ ประเภทหันมานิยมใช้ การซีลสูญญากาศ ในการบรรจุผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ได้รับการตอบโจทย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
- ดีต่อการรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ เพราะช่วยคงความสด คุณภาพและคุณประโยชน์ของวัตถุดิบได้เป็นอย่างดี
- ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาวัตถุดิบได้นานขึ้นสูงถึง 5 เท่า!
- ภายในบรรจุภัณฑ์จะไร้ออกซิเจน เมื่อบรรจุภัณฑ์ถูกทำการสูญญากาศแล้ว อันเป็นหนึ่งในปัจจัยการเน่าเสียของอาหาร และเป็นสาเหตุการเจริญเติบโตของมอดแมลง
- ป้องกันสาเหตุมอดและแมลงทำลายเมล็ดข้าว เมล็ดธัญพืช หรือทำให้สินค้าเสียหาย
- ช่วยลดปัญหาการเกิดกลิ่นเหม็นหืน ที่พบบ่อยเมื่อสินค้าถูกเก็บไว้นาน
- ป้องกันสินค้าเกิดความชื้น สาเหตุที่ก่อให้เกิดการขึ้นรา
- หมดปัญหาการขนส่งระยะไกล เพราะการซีลสูญญากาศจะช่วยคงคุณภาพ ยืดอายุวัตถุดิบ และป้องกันการรั่วซึมได้อย่างยอดเยี่ยม
- ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ เพราะสินค้าจะแลดูสดใหม่ และถูกบรรจุสูญญากาศมาอย่างเป็นระเบียบ
การเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศสักเครื่อง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งงบประมาณ ความต้องการเฉพาะ และคุณสมบัติของเครื่องซีลสุญญากาศที่เหมาะสม ซึ่งตรงกับแนวคิดของ SGE ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ใช้งานง่าย ทนทาน และมีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้ พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
เครื่องซีลสูญญากาศของ SGE สินค้าคุณภาพระดับมาตราฐานอุตสาหกรรม การันตีอันดับ 1 บน Google และยืนยันจากเสียงผู้ใช้จริงมากกว่า 100,000 รายทั่วประเทศ ที่นอกจากจะทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน พร้อมรับประกันคุณภาพสินค้า และบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม มั่นใจได้เลยว่าเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าแก่การเลือกซื้อและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน
ขอแนะนำ เครื่องซีลสูญญากาศ จาก SGETHAI มีให้เลือกหลากหลายรุ่น เพื่อตอบทุกโจทย์การใช้งานในธุรกิจ SME ทั้งขนาดย่อม และขนาดกลาง ตั้งแต่รุ่นครัวเรือน ไปจนถึงรุ่นอุตสาหกรรมระดับใหญ่ พร้อมรับประกันหลังการขายครบวงจร ดูแลตลอดอายุการใช้งาน ทดลองฟรีด้วยตัวเองได้แล้ววันนี้!
พื้นที่เก็บรักษา | อาหาร | อุณหภูมิ | การเก็บรักษาแบบปกติ | การเก็บรักษาโดยใช้เครื่องสุญญากาศ |
ตู้เย็น | เนื้อสัตว์ | 5±3°C | 2~3 วัน | 8~9 วัน |
ปลา/อาหารทะเล | 1~3 วัน | 4~5 วัน | ||
เนื้อสัตว์ปรุงสุก | 4~6 วัน | 10~14 วัน | ||
ผัก | 3~5 วัน | 7~10 วัน | ||
ผลไม้ | 5~7 วัน | 14~20 วัน | ||
ไข่ | 10~15 วัน | 30~50 วัน | ||
ช่องแช่แข็ง | เนื้อสัตว์ | -16~-20°C | 3~5 เดือน | > 1 ปี |
ปลา | ||||
อาหารทะเล | ||||
อุณหภูมิห้อง | ขนมปัง | 25±2°C | 1~2 วัน | 6~8 วัน |
บิสกิต | 3~5 เดือน | > 1 ปี | ||
ข้าวสาร/แป้ง | ||||
เมล็ดถั่ว/ธัญพืช |
สำหรับการเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศนั้น นอกจากเรื่องคุณสมบัติของตัวเครื่อง และราคาแล้ว การเลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์อย่างเครื่องซีลสุญญากาศได้ บทความนี้จึงขอชวนทุกท่านที่กำลังลังเลจะซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ มาเช็กลิสต์วิธีการเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ดังนี้
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญกาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยประเมินทั้งจากราคา และคุณสมบัติของตัวเครื่อง
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศอเนกประสงค์ ที่สามารถซีลได้ทั้งแบบแห้งและแบบเปียก
- เลือกซื้อโดยคำนึงถึงกำลังการผลิตต่อวัน หากใช้เครื่องซีลสูญญากาศสำหรับการทำงานระดับอุตสาหกรรม ควรเลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่ทำงานรวดเร็ว และสามารถใช้งานเครื่องได้ต่อเนื่อง
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ที่มีแถบซีลปิดผนึกปากถุงแน่นหนา ไร้ปัญหาการรั่วซึมของอากาศและของเหลว
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ ที่สามารถทุ่นแรง ทุ่นเวลาได้ดี
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่มีการรับรองและรับประกันตัวเครื่อง เผื่อเกิดเหตุปัญหาขัดข้อง จะได้สามารถเปลี่ยนอะไหล่หรือเปลี่ยนเครื่องได้ทุกเมื่อ
- เลือกซื้อเครื่องซีลสูญญากาศที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดี จากร้านค้าหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ
วิธีทำความสะอาดตัวเครื่อง
- ถอดปลั๊กเครื่องก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง
- อย่าแช่น้ำหรือของเหลวอื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเพื่อทำความสะอาดตัวเครื่อง
- ใช้สบู่ล้างจานสูตรอ่อนโยนและผ้าชุบน้ำหมาด เช็ดเศษอาหารและสารตกค้างรอบ ๆ ตัวเครื่อง
- ใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดเครื่องให้แห้งก่อนใช้งานอีกครั้ง
วิธีทำความสะอาดระบบแท็งก์สูญญกากาศ
เมื่อท่ออากาศอุดตัน และมีความสามารถในการสูบสูญญากาศลดลง การใช้น้ำเพื่อทำความสะอาดท่ออากาศ สามารถทำได้ดังนี้
- เตรียมน้ำอุ่นประมาณ 50cc
- จากนั้นให้ต่อท่อสุญญากาศกับตัวเครื่อง โดยให้ปลายอีกด้านอยู่ในน้ำอุ่นที่เตรียมไว้
- กดปุ่มเพื่อดูดสุญญากาศและชะล้าง น้ำจะถูกสูบลงไปในแท็งก์รองของเหลว
- คำเตือน: ระดับน้ำสูงสุดของแท็งก์รองของเหลว ไม่ควรเกินเส้นที่กำหนดไว้
วิธีการทำความสะอาดลิ้นดูดสุญญากาศ
- พลิกเครื่อง แล้วเลื่อนเปิดฝาที่ใต้เครื่องออก
- จากนั้นให้ถอดฝาซิลิโคนบนข้อต่อลิ้นดูดออก ใส่น้ำยาล้างเข้าไปในลิ้นดูด จากนั้นให้ดัน และดึงลิ้นดูดสุญญากาศไปมา เพื่อดันเศษสกปรกต่าง ๆ ไปที่ลิ้นดูด
- จากนั้นให้เทสิ่งสกปรกออก และทำความสะอาดลิ้นดูดสุญญกากาศให้เรียบร้อย
- หลังจากทำความสะอาดแล้ว ให้สวมฝาซิลิโคนบนลิ้นดูดสุญญากาศให้แน่น (ใช้นิ้วกดตามฝาซิลิโคน โดยกดให้รอบ) จนแน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลระหว่างฝาซิลิโคน และลิ้นดูด
- จากนั้นปิดฝาครอบทำความสะอาดลิ้นดูด จึงจะสามารถเริ่มใช้งานได้
ในด้านของการดูแลรักษา นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เครื่องซีลสูญญากาศมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอย่างแท้จริง โดยข้อแนะนำสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องซีลสูญญากาศ มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศเป็นระยะเวลายาวนาน ติดต่อกันหลายครั้ง
- ควรเว้นเวลาให้เครื่องซีลสูญญากาศได้พักเครื่องคลายความร้อนบ้าง
- เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว ควรเปิดฝาเครื่องซีลสูญญากาศทิ้งไว้ให้คลายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของตัวเครื่อง ก่อนเริ่มทำความสะอาดและจัดเก็บเครื่องซีลสูญญากาศให้เรียบร้อย
- เมื่อไม่ได้ใช้งาน ควรเก็บเครื่องซีลสูญญากาศให้อยู่ในสภาพที่ดี
เครื่องซีลถูกแบ่งประเภทออกตามระบบสุญญากาศหลัก ๆ ทั้งหมด 3 ระบบ ได้แก่ ระบบสุญญากาศจากภายนอก ระบบลิ้นดูดสุญญากาศ และระบบหลุมอากาศ โดยแต่ละระบบแตกต่างกันอย่างไร? SGE มีคำตอบมาให้แล้ว!
1. ระบบสุญญากาศจากภายนอก (External Vacuum Sealer)
มักเป็นระบบที่พบได้ในเครื่องซีลสุญญากาศขนาดเล็ก ลักษณะเป็นตัวปั๊มสุญญากาศขนาดเล็ก ไม่มีแท็งก์รองรับของเหลว เมื่อดูดอากาศออกจากถุงแล้วจะทำการซีลปิดปากถุงทันที จึงเหมาะกับใช้ในสินค้าแห้ง สินค้าที่มีขนาดเล็ก โดยเครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะรองรับเฉพาะถุงลายนูน และถุงจีบข้าง เท่านั้น เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือน หรือในธุรกิจขนาดย่อม
2. ระบบลิ้นดูดสุญญากาศ (Nozzle Vacuum Sealer)
เครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะมีลักษณะเด่น คือ แท่งเหล็กที่ยื่นออกมา หรือที่เรียกกันว่า “ลิ้นดูดสุญญากาศ” โดยมันจะมีหน้าที่ในการดูดอากาศและน้ำจากบรรจุภัณฑ์ออก โดยสามารถสังเกตเครื่องซีลสุญญากาศแต่ละเครื่องว่ามีฟังก์ชันรองรับการดูดของเหลวออกหรือไม่ ด้วยการสังเกตจากกล่องใสหรือแท็งก์รองรับของเหลวด้านหลังเครื่อง หากเครื่องมีแท็งก์รองรับของเหลวอยู่ แสดงว่าสามารถใช้ร่วมกับอาหารสด หรือสินค้าที่มีของเหลวได้ อย่างไม่ต้องกังวลปัญหาน้ำเข้าเครื่อง ซึ่งเครื่องซีลประเภทนี้รองรับถุงแบบเรียบได้ทุกชนิด แต่ไม่เหมาะในการใช้กับสินค้าประเภทน้ำจิ้ม หรือน้ำซุป
3. ระบบห้องสุญญากาศ (Chamber Vacuum Sealer)
เครื่องซีลสุญญากาศประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นคือ เป็นตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในเป็นหลุม มีฝาใสครอบ รองรับการใช้งานถุงชนิด และรองรับการใช้งานสินค้าได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารสด อาหารแห้ง ผงแป้ง น้ำซุป แกง หรือแม้แต่สินค้าที่มีความบอบบางสูง โดยเครื่องซีลประเภทนี้มีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบตั้งโต๊ะ เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม เพราะมีราคาสูง และสามารถรองรับการใช้งานต่อเนื่องได้ยาวนานกว่าเครื่องซีลประเภทอื่น ๆ
- ถุงร้อนใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศได้ไหม?
คำตอบคือ ใช้ได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะว่าถุงร้อน-ถุงแกงทั่วไปที่ใช้กัน ถุงจะค่อนข้างบาง พลาสติกไม่เหนียว ทำให้ง่ายต่อการฉีกขาด ทะลุ หรือรั่วได้ ซึ่งเมื่อนำไปใช้กับการซีลสูญญากาศ แม้จะดูดอากาศออกได้เหมือนถุงชนิดอื่น แต่ก็อาจเกิดการรั่ว ฉีกขาดได้ในการขนส่ง จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาบรรจุแบบสุญญากาศ แต่ก็สามารถนำมาใช้ในการซีลเพื่อปิดปากถุงได้
- ถุงแก้วใช้กับเครื่องซีลสุญญากาศได้ไหม?
ถุงแก้วใช้กับเครื่องซีลสำหรับปิดผนึกปากถุงได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำการซีลสุญญากาศ เพราะถุงแก้วมีลักษณะแข็ง คงรูป ไม่ยืดหยุ่น อาจทำให้เกิดการแตก รั่ว หรือทะลุได้
- แล้วเครื่องซีลสุญญากาศควรใช้ถุงแบบไหน? ใช้กับถุงอะไรได้บ้าง?
1. ถุงเรียบแบบหนา (หนากว่าถุงร้อนทั่วไป)
ถุงนี้ไม่ใช่ถุงที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องซีลโดยเฉพาะ แต่ก็สามารถนำมาใช้ทดแทนถุงซีลสุญญากาศได้ เพราะถุงชนิดนี้จะมีความหนาและความเหนียวมากกว่าถุงร้อนทั่วไป แต่ก็ยังมีความหนาและความเหนียวน้อยกว่าถุงสุญญากาศ โดยถุงชนิดนี้ได้แก่ ถุงเย็น PE (แบบหนา), ถุงฟอยด์, ถุงฟอยด์ซิปล็อก, ถุงคราฟท์ซิปล็อก
2. ถุงสุญญากาศ แบบเรียบ
ถุงชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรจุปิดปากถุงแบบสุญญากาศโดยเฉพาะ เนื่องจากถุงจะมีความเหนียวและหนาสูงถึง 80 ไมครอนขึ้นไป โดยจะผลิตออกเป็นไซส์มาตรฐานต่าง ๆ เช่น 6*6 นิ้ว, 7*11 นิ้ว, 8*12 นิ้ว และ 9*14 นิ้ว เป็นต้น
3. ถุงสุญญากาศ ลายนูน
ถุงชนิดนี้ก็ถูกออกแบบมาเพื่อการบรรจุปิดปากถุงสุญญากาศโดยเฉพาะเช่นกัน ซึ่งลักษณะเด่นคือด้านนึงของถุงจะมีลายนูน ไว้เพื่อทำให้อากาศไหลออกมาได้ง่ายในขณะที่ทำการสุญญากาศ โดยถุงชนิดนี้จะมีความเหนียวและหนาสูงถึง 80 ไมครอนขึ้นไป ในท้องตลาดมีขายทั้งแบบไซส์มาตรฐานสำเร็จรูป และแบบม้วนสำหรับตัดเองตามความต้องการ
ซึ่งความต่างของถุงสุญญากาศทั้งแบบเรียบและแบบลายนูน คือ การทนทานต่ออุณหภูมิการเก็บรักษา โดยถุงซีลสุญญากาศแบบเรียบสามารถแช่แข็งได้ถึง -17 องศา และทนความร้อนได้ถึง 80 องศา ส่วนถุงซีลสุญญากาศลายนูนสามารถแช่แข็งได้ถึง -20 องศา และทนความร้อนได้ถึง 100 องศา นั่นเอง
รุ่น | VCX | VCZ | VC-ECO Gen2 | VCC05-S |
กระแสไฟ | 220V | 110V/240V | 220V | 220V/380V |
ความถี่ | 50-60Hz | 60Hz | 50-60Hz | 50Hz |
วัตต์ | 110W | 220W | 120W | 500W |
แรงดันอากาศ | -0.6bar | -0.7bar | -0.8bar | -1bar |
ขนาดเครื่อง (L*W*H) | 37.5*11.5*7 ซม. | 40*20*8.7 ซม. | 36.5*14.8*7.2 ซม. | 103*53*95 ซม. |
น้ำหนักเครื่อง | 0.92 กก. | 3 กก. | 1.6 กก. | 140 กก. |
ความหนาแถบซีล | 3 มม. | 3 มม. | 3 มม. | 10 มม. (2 เส้น) |
ขนาดถุงที่รองรับ | หน้ากว้าง 29 ซม. | หน้ากว้าง 30 ซม. | หน้ากว้าง 27 ซม. | หน้ากว้าง 40 ซม. |
เครื่องซีลสุญญากาศของ SGE มีให้เลือกซื้อหลายรุ่นหลายฟังก์ชัน ตามความชอบและความเหมาะสมของลูกค้าทุกท่าน โดยรุ่นครัวเรือนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 690-2,290 บาท รุ่นกึ่งอุตสาหกรรมราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 3,200 – 4,990 บาท รุ่นอุตสาหกรรมราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 9,900 – 125,000 บาท
ขั้นตอนการใช้งานเครื่องซีลสุญญากาศ VC-ECO
- ปลดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่องออก เพื่อยกฝาครอบขึ้น
- กดปุ่ม Nozzle In/Out เพื่อยืดลิ้นดูดสุญญากาศออกมา จากนั้นให้สวมถุงซีลครอบลงไปบนลิ้นดูด วางปากถุงให้แนยกับแถบเทฟล่อน
- ปิดฝาครอบลงแล้วกดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่อง จากนั้นกดปุ่ม Start เพื่อเริ่มการดูดสูญญากาศ และเมื่ออากาศออกจากถุงจนหมด ให้กดปุ่ม Nozzle In/Out อีกครั้ง เพื่อหดลิ้นดูดกลับไป
- เครื่องจะเริ่มทำการซีลปากถุงให้โดยอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ รอจนมีเสียงสัญญาณเตือนดังขึ้น แสดงว่าการซีลสุญญากาศเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ปลดล็อกปุ่มทั้งสองข้างของตัวเครื่อง ยกฝาครอบขึ้นมา แล้วนำถุงสุญญากาศที่เสร็จเรียบร้อยแล้วออกมา เรียบร้อย!
สามารถอ่านวิธีการใช้งานเครื่องซีลสุญญากาศทุกประเภทได้ที่ วิธีใช้งานเครื่องซีลสูญญากาศ
ปัญหาที่พบ | การวิเคราะห์สาเหตุ | การแก้ไข |
ระบบสุญญากาศของเครื่อง
ไม่ทำงาน |
ตรวจสอบว่าหัวฉีดอุดตันหรือไม่ ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างหัวฉีด | ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างหัวฉีด |
ตรวจสอบว่าระบบอากาศรั่วหรือถูกปิดกั้นหรือไม่ | เสียบข้อต่อท่อและตรวจสอบแถบฟองน้ำว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ | |
ฝาของแท็งก์รองของเหลวไม่ได้ถูกปิดให้แน่น | ปิดฝาแท็งก์รองของเหลวให้แน่น เช็กให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหล | |
ถุงซีลอยู่ห่างจากลิ้นดูดมากเกินไป | กดปุ่มหยุด แล้วขยับถุงซีลให้เข้าใกล้กับลิ้นดูดมากที่สุด | |
หลังจากถอดมาทำความสะอาด แล้ว ปิดฝาซิลิโคนบนข้อต่อหัวฉีดไม่แน่น | ใช้นิ้วกดโดยรอบของฝาซิลิโคนบนข้อต่อหัวฉีดให้แน่น | |
แท็งก์รองของเหลวไม่ได้ประกอบเข้ากับตัวเครื่อง | ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เสียบท่อของแท็งก์รองของเหลวเข้ากับตัวเครื่องแล้ว | |
ตัวล็อคฝาครอบ ไม่ได้ล็อคสนิทดี | เครื่องจะทำงานหลังจากตัวล็อคฝาครอบทั้งสองข้างปิดสนิทดีแล้วเท่านั้น |
ฝากกดลิงก์เยี่ยมชมสินค้า เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของเราด้วยนะคะ🙏
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย